ลำดับ | ชื่อกฎหมาย | สาระสำคัญของกฎหมาย | การปฏิบัติตามกฎหมาย | หลักฐานการปฏิบัติ | ||
สอดคล้อง | ไม่สอดคล้อง | เพื่อทราบ | ||||
น้ำเสีย | ||||||
1. | ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง จากอาคารบางประเภทและบางขนาด 2548 | ข้อ 6 อาคารประเภท ค. หมายความถึง อาคารดังตอไปนี้
(5) อาคารที่ทำการของทางราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การระหวางประเทศ หรือของเอกชนที่มีพื้นที่ใชสอยรวมกันทุกชั้นของอาคารหรือ กลุ่มของอาคารตั้งแต 5,000 ตารางเมตร แตไมถึง 10,000 ตารางเมตร (1) pH อยู่ระหว่าง 5-9 บีโอดี ต้องมีค่าไม่เกิน 40 มิลลิกรัมตอลิตร (2) สารแขวนลอย ต้องมีค่าไม่เกิน 50 มิลลิกรัมตอลิตร (3) ซัลไฟด์ ต้องมีค่าไม่เกิน 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร (4) ค่าทีเคเอ็น ต้องมีค่าไม่เกิน 40 มิลลิกรัมตอลิตร (5) สารที่ละลายได้ทั้งหมด (Total Dissolved Solids) ต้องมีค่าเพิ่มขึ้นจากปริมาณสารละลายในน้ำใช้ตามปกติไม่เกิน ๕๐๐ มิลลิกรัมต่อลิตร (6) ตะกอนหนัก (Settleable Solids) ต้องมีค่าไม่เกิน 0.5 มิลลิลิตรต่อลิตร (7) น้ำมันและไขมัน (Fat Oil and Grease) ต้องมีค่าไม่เกิน ๒๐ มิลลิกรัมต่อลิตร |
ผลการตรวจค่าน้ำเสียของสถาบันจากห้องทดสอบคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ | |||
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย | ||||||
2. | พรบ. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 | หมวด 2 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
หมวด 3 การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตรุงเทพมหานคร มาตรา 25 ในกรณีที่เกิดสาธารณภัยและภยันตรายจากสาธารณภัยนั้นใกล้จะถึง ผอ.มีอำนาจสั่งให้เจ้าพนักงานดัดแปลง ทำลาย หรือเคลื่อนย้ายสิ่งก่อสร้าง วัสดุ หรือทรัพย์สินของบุคคลใดที่เป็นอุปสรรคแก่การบำบัดปัดป้องกันภยันตรายได้ มาตรา 26 เจ้าพนักงานสามารถเข้าไปในอาคารหรือสถานที่ที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยเพื่อทำการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้เมื่อได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ครอบครอง อาคารหรือสถานที่ หากไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองกระทำได้หากอยู่ภายใต้การควบคุม ของ ผอ. มาตรา 28 เจ้าพนักงานสามารถสั่งอพยบผู้อยู่อาศัยในพื้นที่อันตรายหรือกีดขวางการปฏิบัติงานได้ มาตรา 29 เมื่อเกิดหรือใกล้เกิดสาธารณภัยบริเวณใด ผอ. จะประกาศห้ามเข้าไปอยู่อาศัยหรือดำเนินกิจการใดๆ โดยกำหนดระยะเวลาการห้ามไว้ด้วย หมวด 6 บทกำหนดโทษ มาตรา 50 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากไม่ปฏิบัติตามมาตรา 25 และ 26 มาตรา 52 ต้องระวางโทษไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากไม่ปฏิบัติตามมาตรา 28 และ |
||||
3. | กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2555 | ข้อ 2 ให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการตามกฎกระทรวงนี้ และต้องดูแลระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย | ||||
ข้อ 3 ในสถานประกอบกิจการทุกแห่ง ให้นายจ้างจัดทำป้ายข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดับเพลิงและการอพยพหนีไฟ และปิดประกาศให้เห็นได้อย่างชัดเจน | ||||||
ข้อ 4 ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไป นอกจากต้องปฏิบัติตามข้อ 3 แล้วให้นายจ้างจัดให้มีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ประกอบด้วยการตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การดับเพลิง การอพยพหนีไฟ และการบรรเทาทุกข์ให้นายจ้างจัดเก็บแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ณ สถานประกอบกิจการพร้อมที่จะให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ | ||||||
หมวด 2 ความปลอดภัยเกี่ยวกับอาคารและทางหนีไฟ
ข้อ 8 ให้นายจ้างจัดให้มีเส้นทางหนีไฟทุกชั้นของอาคารอย่างน้อยชั้นละสองเส้นทางซึ่งสามารถอพยพลูกจ้างที่ทำงานในเวลาเดียวกันทั้งหมดสู่จุดที่ปลอดภัยได้โดยปลอดภัยภายในเวลาไม่เกินห้านาที เส้นทางหนีไฟจากจุดที่ลูกจ้างทำงานไปสู่จุดที่ปลอดภัยต้อง ปราศจากสิ่งกีดขวางประตูที่ใช้ในเส้นทางหนีไฟต้องทำด้วยวัสดุทนไฟ ไม่มีธรณีประตูหรือขอบกั้น และเป็นชนิดที่บานประตูเปิดออกไปตามทิศทางของการหนีไฟกับต้องติดอุปกรณ์ที่บังคับให้บานประตูปิดได้เอง ห้ามใช้ประตูเลื่อน ประตูม้วน หรือประตูหมุน และห้ามปิดตาย ใส่กลอน กุญแจ ผูก ล่ามโซ่ หรือทำให้เปิดออกไม่ได้ในขณะที่มีลูกจ้างทำงาน |
||||||
ข้อ 9 สถานประกอบกิจการที่มีอาคารตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป หรือมีพื้นที่ประกอบกิจการตั้งแต่สามร้อยตารางเมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบกิจการทุกชั้นโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อย่างน้อยต้องประกอบด้วย (ก) อุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ทั้งที่ใช้ระบบแจ้งเหตุอัตโนมัติและระบบแจ้งเหตุที่ใช้มือเพื่อให้อุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทำงาน (ข) อุปกรณ์ส่งสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องสามารถส่งเสียงหรือสัญญาณให้ทุกคนภายในอาคารได้ยินหรือทราบอย่างทั่วถึงเพื่อการหนีไฟ (2) อุปกรณ์แจ้งเหตุที่ใช้มือต้องอยู่ในที่เห็นได้อย่างชัดเจน เข้าถึงได้ง่าย หรืออยู่ในเส้นทางหนีไฟโดยติดตั้งห่างจากจุดที่ลูกจ้างทำงานไม่เกินสามสิบเมตร (3) เสียงหรือสัญญาณที่ใช้ในการแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องมีเสียงหรือสัญญาณที่แตกต่างไปจากเสียงหรือสัญญาณที่ใช้ในสถานประกอบกิจการ (4) กิจการโรงพยาบาลหรือสถานที่ห้ามใช้เสียงหรือใช้เสียงไม่ได้ผล ต้องจัดให้มีอุปกรณ์หรือมาตรการอื่นใด เช่น สัญญาณไฟ หรือรหัส ที่สามารถแจ้งเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (5) การติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ให้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมาตรฐานอื่นที่อธิบดีกำหนด |
||||||
ข้อ 10 ให้นายจ้างจัดให้มีแสงสว่างอย่างเพียงพอสำหรับเส้นทางหนีไฟในการอพยพลูกจ้างออกจากอาคารเพื่อการหนีไฟ รวมทั้งจัดให้มีแหล่งจ่ายไฟฟ้าสารองที่สามารถจ่ายไฟฟ้าเพื่อการหนีไฟและสำหรับใช้กับอุปกรณ์ดับเพลิงขั้นต้นหรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้องได้ในทันทีที่ไฟฟ้าดับ | ||||||
ข้อ 11 ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายบอกทางหนีไฟที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ขนาดของตัวหนังสือต้องสูงไม่น้อยกว่าสิบห้าเซนติเมตร และเห็นได้อย่างชัดเจน (2) ป้ายบอกทางหนีไฟต้องมีแสงสว่างในตัวเองหรือใช้ไฟส่องให้เห็นได้อย่างชัดเจนตลอดเวลา ทั้งนี้ ต้องไม่ใช้สีหรือรูปร่างที่กลมกลืนไปกับการตกแต่งหรือป้ายอื่น ๆ ที่ติดไว้ใกล้เคียง หรือโดยประการใดที่ทำให้เห็นป้ายไม่ชัดเจน |
||||||
หมวด 3 การดับเพลิง | ||||||
ข้อ 13 ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ โดยต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ | ||||||
(1) จัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ตามประเภทของเพลิง ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานที่สานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมกำหนด หรือตามมาตรฐานที่อธิบดีกำหนด |
||||||
(2) เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ทุกเครื่อง ต้องจัดให้มีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์แสดงว่าเป็นชนิดใด ใช้ดับเพลิงประเภทใด และเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์นั้นต้องมีขนาดที่มองเห็นได้อย่างชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตรห้าสิบเซนติเมตร | ||||||
(3) ห้ามใช้เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายไ ด้ที่อาจเกิดไอระเหยของสารพิษ เช่น คาร์บอนเตตราคลอไรด์ | ||||||
(4) จัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ตามจำนวน ความสามารถของเครื่องดับเพลิงและการติดตั้งดังต่อไปนี้
(ก) เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ใช้ดับเพลิงประเภท เอ จำนวน ความสามารถของเครื่องดับเพลิง และการติดตั้ง ให้คานวณตามพื้นที่ของสถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 2 ท้ายกฎกระทรวง เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ใช้ดับเพลิงประเภท บี ความสามารถของเครื่องดับเพลิงที่ติดตั้งต้องมีระยะเข้าถึงตามที่กำหนดไว้ในตารางที่ 3 ท้าย กฎกระทรวง เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ใช้ดับเพลิงประเภท ซี การติดตั้งให้พิจารณาจากวัตถุซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงว่าจะทำให้เกิดเพลิงประเภท เอ หรือ บี และติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ใช้ดับเพลิงประเภทนั้น เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ที่ใช้ดับเพลิงประเภท ดี ในการติดตั้งให้มีระยะเข้าถึงไม่เกินยี่สิบสามเมตร |
||||||
(ข) ให้ติดตั้งหรือจัดวางเครื่องดับเพลิงในสภาพที่มั่นคง มองเห็นได้อย่างชัดเจน สามารถนามาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว
(ค) ให้จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับชนิดและวิธีใช้เป็นภาษาไทยที่เห็นได้อย่างชัดเจนติดไว้ที่ตัวถังหรือบริเวณที่ติดตั้ง |
||||||
(5) จัดให้มีการดูแลรักษาและตรวจสอบเครื่องดับเพลิงให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี โดยการตรวจสอบ | ||||||
หมวด 8 การดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัยและการรายงาน | ||||||
ข้อ 27 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบกิจการรับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น โดยให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรม | ||||||
ข้อ 28 ให้นายจ้างจัดให้มีการดำเนินการเกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย ดังต่อไปนี้ (2) ต้องจัดให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัยรับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการป้องกัน และระงับอัคคีภัย การใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการดับเพลิง การปฐมพยาบาล และการช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน |
||||||
ข้อ 29 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างฝึกซ้อมอพยพหนีไฟออกจากอาคารไปตามเส้นทางหนีไฟตามที่กำหนดไว้ในหมวด 2 | ||||||
ข้อ 30 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ ให้ลูกจ้างของนายจ้างทุกรายที่ทำงานอยู่ภายในอาคารเดียวกันและในวันและเวลาเดียวกันทำการฝึกซ้อมพร้อมกัน และก่อนการฝึกซ้อมไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ให้นายจ้างส่งแผนการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกซ้อมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อให้ความเห็นชอบ ในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟตามวรรคหนึ่งได้เอง จะต้องให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการฝึกซ้อมให้นายจ้างจัดทำรายงานผลการฝึกซ้อมดังกล่าวตามแบบที่อธิบดีกำหนด และยื่นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกซ้อม | ||||||
4. | กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549 |
หมวด 2 แสงสว่าง ข้อ 5 นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่าง ดังต่อไปนี้ (1) ไมต่ำกวามาตรฐานที่กําหนดไวในตารางที่ 1 ท้ายกฎกระทรวงนี้สําหรับบริเวณพื้นที่ทั่วไปภายในสถานประกอบกิจการ เช่น ทางเดิน ห้องน้ำ หองพัก (2) ไม่ต่ำากวามาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่ 2 ท้ายกฎกระทรวงนี้สําหรับบริเวณพื้นที่ใชประโยชน์ในกระบวนการผลิตที่ลูกจ้างทํางาน (3) ไมต่ำกวามาตรฐานที่กําหนดไวในตารางที่ 3 ท้ายกฎกระทรวงนี้ สําหรับบริเวณที่ลูกจางตองทํางานโดยใชสายตามองเฉพาะจุดหรือตองใชสายตาอยูกับที่ในการทํางาน (4) ไมต่ำกวามาตรฐานเทียบเคียงที่กําหนดไวในตารางที่ 4 ท้ายกฎกระทรวงนี้สําหรับบริเวณที่ลูกจางตองทํางานโดยใชสายตามองเฉพาะจุดหรือต้องใช้สายตาอยู่กับที่ในการทํางาน ในกรณีที่ความเข้มของแสงสว่าง ณ ที่ที่ให้ลูกจางทํางานมิได้กําหนดมาตรฐานไว้ในตารางที่ 3 (5) ไมต่ำกวามาตรฐานที่กําหนดไว้ในตารางที่ 5 ท้ายกฎกระทรวงนี้สําหรับบริเวณรอบ ๆ สถานที่ลูกจ้างตองทํางานโดยใช้สายตามองเฉพาะจุด |
||||
สิ่งปฏิกูล | ||||||
5. | พระราชบัญัญติสาธารณสุข พ.ศ.2535 | หมวด 5 เหตุรำคาญ มาตรา 25(4) การกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิด กลิ่น แสง รังสี เสียง ความร้อน สิ่งมีพิษ ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง เขม่า เถ้า ให้ถือเป็นเหตุรำคาญ | ||||
6. | พระราชบัญัญติการสาธารณสุข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 | หมวด 3 การจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
มาตรา 18 การเก็บ ขน หรือกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอยในเขตราชการส่วนท้องถิ่นใดให้เป้นอำนาจส่วนราชการส่วนท้องถิ่นนั้น – กำหนดโทษปรับเรื่องมูลฝอยติดเชื้อและมูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชน โดยปรับสูงสุด ไม่เกินหนึ่งแสนบาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ |
||||
7. | กฎกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ( หมวด 5 ระบบกำจัดขยะมูลฝอย) |
อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ – ต้องมีขนาดความจุไม่น้อยกว่า 3 เท่าของปริมาณมูลฝอยที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน – ผนังต้องทำด้วยวัสดุถาวรและทนไฟ – พื้นผิวภายในต้องเรียบและกันน้ำซึม – ต้องมีการป้องกันกลิ่นและน้ำฝน – ต้องมีการระบายน้ำเสียงจากมูลฝอยเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสีย – ต้องมีการระบายอากาศและป้องกันน้ำซึม |
||||
8. | กฎกระทรวง ว่าด้วย อัตรา ค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บ ขน และอัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ พ.ศ.2545 |
– การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บและขนส่งปฎิกูล หรือมูลฝอยจากสถานประกอบการ |
||||
9. | ประกาศกระทรวงสาธารณะสุข เรื่อง กำหนดลักษณะของบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ |
*ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน ประกาศในราชกิจจาฯ กำหนดลักษณะของบริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื่อดังนี้ ข้อ 1 บริเวณที่พักภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อต้องมีลักษณะและอุปกรณ์ ดังนี้ |
||||
(1) ตั้งอยู่ในสถานพยาบาลในจุดที่เหมาะสม แยกเป็นสัดส่วนเฉพาะ ไม่อับชื้น สะดวกสำหรับการขนมูลฝอยตืดเชื่อไปกำจัด และต้องไม่ตั้งอยู่ในบริเวณที่เก็บเครื่องมือ อุปกรณ์ในการรักษา | ||||||
(2) มีภาชนะสำหรับรองรับภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อที่มีลักษณะตามที่กำหนด | ||||||
ขยะมูลฝอยติดเชื้อ | ||||||
10. | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ตราหรือสัญลักษณ์สำหรับพิมพ์บนภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2546 |
กำหนดตราหรือสัญลักษณ์ที่ต้องพิมพ์ลงบนภาชนะบรรจุมูลฝอยติดเชื้อ ให้มีลักษณะเป็นรูปวงเดือน 3 วง สีดำ ซ้อนทับบนวงกลมสีดำ โดยสัญลักษณ์ต้องรัศมีไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว |
||||
อากาศ | ||||||
11. | ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง ความปลอดภัยในการทำ งานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) | ข้อ 5 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำ งานในที่ที่มีปริมาณฝุ่นแร่ในบรรยากาศของการทำงานตลอดระยะเวลาการทำงานปกติโดยเฉลี่ยเกินกว่าที่กำหนดไว้ในตารางหมายเลข 4 ท้ายประกาศนี้
– ฝุ่นขนาดที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมของปอดได้ (Respirable dust) ไม่เกิน 5 mg/M3 – ฝุ่นทุกขนาด (Total dust) ไม่เกิน 15 mg/M3 |
||||
พลังงาน | ||||||
12. | 12.1 พระราชบัญญัติ การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน 2535 | หมวด 1
มาตรา 17 การอนุรักษ์พลังงานในอาคารได้แก่การดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) การลดความร้อนจากแสงอาทิตย์ที่เข้ามาในอาคาร (2) การปรับอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการรักษาอุณหภูมิภายในอาคารให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (3) การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารที่จะช่วยอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนการแสดงคุณภาพของวัสดุก่อสร้างนั้น ๆ (4) การใช้แสงสว่างในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ (5) การใช้และการติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์ และวัสดุที่ก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร (6) การใช้ระบบควบคุมการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ (7) การอนุรักษ์พลังงานโดยวิธีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง |
||||
12.2 พระราชบัญญัติ การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2550 | หมวด 3 การอนุรักษ์พลังงานในเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ และส่งเสริมการใช้วัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
มาตรา 23 เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์พลังงานในเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ รวมทั้งให้มีการส่งเสริมการใช้วัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ มีอำนาจออกกฎกระทรวงในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) กำหนดมาตรฐานด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ |
|||||
(2) กำหนดเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ตามประเภท ขนาด ปริมาณการใช้พลังงาน อัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงาน และประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างใด เป็นเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูง | ||||||
(3) กำหนดวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานตามประเภท คุณภาพและมาตรฐานอย่างใด เป็นวัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน | ||||||
(4) กำหนดให้ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ ต้องแสดงค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน | ||||||
12.3 ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องการกำหนดค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะขั้นต่ำ ค่าประสิทธิภาพการให้ความเย็นและค่าพลังงานไฟฟ้าต่อตันความเย็นของระบบปรับอากาศที่ติดตั้งใช้งานในอาคาร พ.ศ.2552 | หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการ ประหยัดพลังงานจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่
(1) เครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก (2) ระบบปรับอากาศขนาดใหญ่ (ก)เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศ (ข) ส่วนประกอบอื่นของระบบปรับอากาศที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (3) เครื่องทำน้ำเย็นแบบดูดกลืน |
|||||
12.4 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อน ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2552 | คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการ ประหยัดพลังงาน จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่
(1) ตู้เย็น (2) เครื่องปรับอากาศ แบบแยกส่วน ระบายความร้อนด้วยอากาศ (3) หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (4) หลอดฟลูออเรสเซนต์ T5 (5) บัลลาสต์เหล็กนิรภัย (6) บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ T5 (7) พัดลมไฟฟ้า (8) หม้อหุงข้าวไฟฟ้า (9) โคมไฟฟ้า (11) เตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว (11) อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ (12) กระจก (13) ฉนวนใยแก้ว ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ตามรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่ |
|||||
12.5 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2553 | คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการ ประหยัดพลังงาน จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่ โคมไฟชนิดส่องลง (Down Light) | |||||
12.6 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 | คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการ ประหยัดพลังงาน จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่ เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง กระติกน้ำร้อนไฟฟ้าประสิทธิภาพสูงมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟสที่มีประสิทธิภาพสูง | |||||
12.7 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553 | ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานตามรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่
(1) ข้อมูลฉลากตู้เย็น เบอร์ 5 (2) ข้อมูลฉลากเครื่องปรับอากาศ เบอร์ 5 (3) ข้อมูลฉลากบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ T5 เบอร์ 5 (4) ข้อมูลฉลากพัดลม เบอร์ 5 (5) ข้อมูลฉลากหลอดฟลูออเรสเซนต์ T5 เบอร์ 5 |
|||||
12.8 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2553 | คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการ ประหยัดพลังงาน จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่
(1) หม้อไอน้ำ (2) เครื่องทำน้ำร้อนฮีตปั๊มแบบใช้อากาศเป็นแหล่งพลังงาน ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานตามรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่ (1) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5-ตู้เย็น (2) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอรื 5-เครื่องปรับอากาศ (3) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5-พัดลม (4) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5-หลอดผอมเบอร์ 5 (5) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5-บัลลาสต์ทรอนิกส์เบอร์ 5 |
|||||
12.9 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานกำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2553 | ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ตามรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่
(1) ข้อมูลอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – ตู้เย็น (2) ข้อมูลอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – เครื่องปรับอากาศ (3) ข้อมูลอุปกรณ์ประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – หลอดฟลูออเรสเซนต์ T5 เบอร์ 5 |
|||||
12.10 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 7 ) พ.ศ. 2553 | ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ตามรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่
(1) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – ตู้เย็น (2) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – เครื่องปรับอากาศ (3) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – พัดลมไฟฟ้า (4) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – หลอดฟลูออเรสเซนซ์ (5) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (6) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – บัลลาสต์นิรภัย (7) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ เบอร์ 5 (8) เตาหุงต้มในครัวเรือนใช้กับก๊าซปิโตรเลียมเหลว (9) อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ |
|||||
12.11 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานเรื่อง กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์วิธีการ เงื่อนไข วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 8 )พ.ศ. 2553 | ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ตามรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่
(1) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – ตู้เย็น (2) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – เครื่องปรับอากาศ (3) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – พัดลมไฟฟ้า (4) โคมไฟชนิดตะแกรง (5) เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง |
|||||
12.12 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2553 | ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ตามรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่
(1) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – ตู้เย็น (2) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – เครื่องปรับอากาศ (3) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – หลอดผอมเบอร์ 5 (4) เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง (5) อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ |
|||||
12.13 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 10)พ.ศ. 2553 | ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ตามรายละเอียดแนบท้าย ได้แก่
(1) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – ตู้เย็น (2) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – เครื่องปรับอากาศ (3) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – พัดลมไฟฟ้า (4) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – หลอดผอมเบอร์ 5 (5) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (6) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ เบอร์ 5 (7) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – หม้อหุงข้าวไฟฟ้า (8) ข้อมูลฉลากประหยัดไฟฟ้าเบอร์ 5 – โคมไฟฟ้า (9) รายชื่อ ยี่ห้อ รุ่น กระจก (10) รายชื่อ ยี่ห้อ รุ่น เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง |
|||||
12.14 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2555 | หลักเกณฑ์เงื่อนไขการพิจารณา วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร
1. หลอดแอลอีดี ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานตามรายละเอียดแนบท้าย 1. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับตู้เย็น 2. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับเครื่องปรับอากาศ 3. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL) 4. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับ “Standby Power 1 Watt รักษ์โลก” ประเภท เครื่องรับโทรทัศน์ 5. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับ “Standby Power 1 Watt รักษ์โลก” ประเภท จอคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ปรับความเร็วรอบมอเตอร์ ฉนวนใยแก้ว กระจก เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง |
|||||
12.15 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข วัสดุ อุปกรณ์ หรือ เครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน | หลักเกณฑ์เงื่อนไขการพิจารณา วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร
1. เครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ตามรายละเอียดแนบท้าย 1. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับตู้เย็น 2. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับเครื่องปรับอากาศ 3. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับพัดลมไฟฟ้า 4. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับหม้อหุงข้าวไฟฟ้า 5. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL) 6. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับหลอดผอมเบอร์ 5 (T5) 7. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ เบอร์ 5 8. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับ Standby Power 1 Watt 8.1 เครื่องรับโทรทัศน์ 9. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า 10. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า 11. เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง |
|||||
12.16 ประกาศอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่อง กำหนดคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน (ฉบับที่ 4)พ.ศ. 2555 | หลักเกณฑ์เงื่อนไขการพิจารณา วัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ภายใต้โครงการขอรับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้จากกรมสรรพากร
1. พัดลมไฟฟ้าชนิดระบายอากาศ ประเภท ยี่ห้อ รุ่น ของวัสดุ อุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ตามรายละเอียดแนบท้าย 1. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับตู้เย็น 2. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับเครื่องปรับอากาศ 3. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับพัดลมไฟฟ้า 3.1 พัดลมไฟฟ้าชนิดตั้งโต๊ะ ติดผนัง และตั้งพื้น 3.2 พัดลมไฟฟ้าชนิดส่ายรอบตัว 3.3 พัดลมไฟฟ้าชนิดระบายอากาศ 4. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับหม้อหุงข้าวไฟฟ้า 5. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL) 6. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ เบอร์ 5 7. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับ Standby Power 1 Watt 7.1 เครื่องรับโทรทัศน์ 8. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับกระติกน้ำร้อนไฟฟ้า 9. ข้อมูลของอุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สำหรับเครื่องทำน้ำอุ่นไฟฟ้า 10. เครื่องทำน้ำเย็นสำหรับระบบปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง |
|||||
13 | พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพ ของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 | เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการยอมรับทางการแพทย์ว่า ควันบุหรี่เป็นผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูบและไม่สูบบุหรี่บุหรี่ที่อยู่ใกล้เคียงหลายประการ เช่น อาจทำให้เกิดมะเร็งปอดและอวัยวะอื่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ อีกทั้งควันบุหรี่ยังทำให้โรคบางโรค เช่น โรคหอบหืดหรือโรคภูมิแพ้มีอาการกำเริบขึ้น นอกจากนั้นยังพิสูจน์ได้ว่า การที่ผู้ไม่สูบบุหรี่ต้องสูดควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบเข้าไปก็ยังเป็นผลเสียต่อสุขภาพของผู้นั้นเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นกับตัวผู้สูบบุหรี่เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สูดควันบุหรี่นั้นเป็นเด็ก สมควรที่จะคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ มิให้ต้องรับควันบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ โดยการห้ามสูบบุหรี่ในบางสถานที่ หรือจัดเขตให้ผู้สูบบุหรี่โดยเฉพาะหรือโดยวิธีอื่นๆ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ | สถาบันประกาศให้พื้นที่ของสถาบันเป็นเขตปลอดบุหรี่ | |||
14 | ประกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่9) พ.ศ.2540 เรื่อง สภาพและลักษณะของเขตสูบบุหรี่ | ยกเลิกประกาศฯ ฉ.5 (2535)
– โดยต้องเป็นบริเวณที่มีระบบปรับอากาศต้องมีการระบายอากาศถ่ายเทหมุนเวียนระหว่างาภายนอกอาคารและภายในเขตสูบบุหรี่ไม่น้อยกว่า 50 ลบ.ฟุต/นาที/คน การกำหนดภาพเขตสูบบุหรี่ต้องมีลักษณะดังนี้ 1) ไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชน ที่อยู่บริเวณข้างเคียง 2) ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า-ออกของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่ 3) ไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น |
||||
15. | ปะกาศกระทรวงสาธารณสุข(ฉบับที่10) พ.ศ.2545กำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะทีให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ | ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณะสุข ฉ.7(2540 ) เรื่องเดียว ถูกแก้ไขโดยประกาศกระทรวงสาธารณะสุข (ฉบับที่13)พ.ศ.2546 เรื่องเดียวกัน (C212)
กำหนดให้สถานที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เป็นสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ โดยขณะทำการ ให้หรือ ใช้บริการเป็นเขตปลอดบุหรี่ เว้นแต่ 1) บริเวณห้องพักส่วนตัว หรือห้องทำงานส่วนตัวของผู้ปฏิบัติงานในสถานที่นั้น 2) บริเวณที่จัดไว้ให้เป็น เขตสูบบุหรี่ เป็นเฉพาะใช้บังคับเมื่อพเช้นกำหนด 90 วัน นับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจาฯ(ประกาศเมื่อ่ 9 สิงหาคม 2545) |
||||
16. | ประกาศกระทรวงสาธารณะสุข(ฉบับที่19)พ.ศ.2553เรื่องกำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ | บังคับใช้เมื่อพ้น 90 วัน นับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจาฯ (28 พ.ค. 53)
***ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณะสุข เรื่องกำหนดชื่อเรื่องประเภทของสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่และกำหนดส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่สาธารณะดังกล่าวเป็นเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ตาม พรบ.คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่พ.ศ.2536ฉบับที่ 17 พ.ศ.2549 (นค.-law-c477)* และประกาศกระทรวงสาธารณะสุข เรื่องกำหนดชื่อหรือประเภทของสถานทีสาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และกำหนดส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่สาธารณะดังกล่าวเป็นเขตสูบบุหรี่หรือ ฉบับที่ 18 พ.ศ.2550 (นค.-law-c659)*** กำหนดให้ชื่อสถานที่ต่อไปนี้เป็น เขตปลอดบุหรี่ 1. สถานบริการสาธารณะสุขและส่งเสริมสุขภาพ – สถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล 2.สถานศึกษา – สถานฝึกอบรมวิชาชีพ |
สถาบันประกาศให้พื้นที่ของสถาบันเป็นเขตปลอดบุหรี่ | |||
3. สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
– สถานที่ออกกำลังกาย – สถานที่ออกกำลังกาย – สถานที่ออกำลังกาย ซ้อมกีฬา เล่นกีฬา – สนามกีฬาทุกประเภท ทั้งในร่มและกลางแจ้ง – สระว่ายน้ำ – ร้านค้า – สถานที่จัดลี้ยงทั้งหมด – สถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม อาหารและเครื่องดื่ม ที่มีระบบปรับอากาศ – สถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม อาหารและเครื่องดื่ม ที่ไม่มีระบบปรับอากาศ เฉพาะบริเวณที่ให้มีบริการอาหาร เครื่องดื่ม อาหารและเครื่องดื่ม – สถนที่จำหน่าย แสดง จัดนิทรรศการสินค้า/บริการ – สถานบริการทั่วไป – สถานที่ให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊สเชื้อเพลิงเฉพาะส่วนที่เป็นอาคาร สิ่งปลูกสร้าง – อาคาร สถานที่ที่ใช้จัดประชุม อบรม สัมมนา สันทนาการ – สถานที่ทำงาน – สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐเฉพาะส่วนที่เป็นอาคาร สิ่งปลูกสร้าง – สถานที่ทำงานเอกชน เฉพาะส่วนที่เป็นอาคารสิ่งปลูกสร้าง – ธนาคาร สถาบันการเงิน – โรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการที่มีการผลิตสินค้า เฉพาะส่วนที่เป็นอาคาร สิ่งปลูกสร้าง – สถานที่สาธารณะทั่วไป – ห้องสมุด – สุขา – ตู้โทรศัพท์สาธารณะ บริเวณที่ใช้บริการโทรศัพท์สาธารณะ – ลิฟท์โดยสาร – สวนสาธารณะ |
||||||
4.ยานพาหนะสถานีขนส่งสาธารณะ
– ยานพาหนะสาธารณะ ในขณะให้บริการไม่ว่าจะมีผู้โดยสารหรือไม่มีก็ตาม – ยานพาหนะโดยสาร ที่ใช้ลักษณะส่วนกลางของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ เอกชน |
||||||
กำหนดให้สถานที่ต่อไปนี้ที่เป็นเขตปลอดบุหรี่ สามารถจัดให้มี เขตบุหรี่ ได้ในสถานที่ฯ ดังนี้
1.สถานที่ใบริการน้ำมันเชื้อเพลิง แก๊สเชื้อเพลิง**นอกเหนือจากพื้นที่ส่วนที่เป็นอาคาร สิ่งปลูกสร้าง |
||||||
2. สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่นของรัฐ**นอกเหนือจากพื้นที่ส่วนเป็นอาคาร สิ่งปลูกสร้าง**
-กำหนดให้สถานที่สาธารณะที่ไม่ได้กำหนดขอบเขตชัดเจนให้ถือว่าขอบเขตของสถานที่นั้น กำหนดตามการสูบบุหรี่นั้นรบกวนผู้อื่นหรือไม่เป็นหลัก -รวมถึงบริเวณซึ่งใช้ประกอบภารกิจนั้นด้วย จะมีรั้วล้อมหรือไม่ก็ตาม |
||||||
17. | ประกาศกระทรวงสาธารณะสุขเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแสดงเครื่องหมายของขอบเขตสูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่ พ.ศ.2551 | *ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณะสุข(ฉบับที่ 15)พ.ศ.2548 ลงวันที่30 ธันวาคม2548 เรื่อง กำหนดเครื่องหมายของเขตผู้สูบบุหรี่และเขตปลอดบุหรี่
**ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 เครื่องหมายและการแสดงเครื่องหมายของเขตสูบบุหรี่ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนด กรณีหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ออกบทบัญญัติ เกี่ยวกับการกำหนดเครื่องหมาย และการแสดงเครื่องหมายของเขตปลอดบุหรี่ ซึ่งต้องแสดงเครื่องหมายไว้ภายในยานพาหนะเป็นการเฉพาะ ให้ผู้ดำเนินการได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ |
||||
18. | ประกาศกระทรวงสาธารณะสุขพ.ศ.2550เรื่อง สภาพและลักษณะของเขตปลอดบุหรี่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535 | *ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสิบวัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจาฯ(30 พ.ค.50)
1.ต้องแสดงเครื่องหมายเขตปลอดบุหรี่ตามที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ 2.ไม่มีการสูบบุหรี่ 3. ไม่มีอุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการสูบบุหรี่ |
||||
19. | ประกาศกรมอนามัย เรื่อง ข้อปฏิบัติการควบคุมเชื้อลีจิโอเนลลาในหอผึ่งเย็นขออาคารในประเทศไทย | **เป็นประกาศด้านวิชาการ ไม่ได้เป็นประกาศที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย (ไม่ได้มีการประกาศลงในราชกิจจาฯ)**
– เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อยู่ในและนอกอาคาร – โรคลีเจียนแนร์(Legionnaires’disease) โรคติดเชื้อจากแบทีเรียในจีนัสลีจิโอเนลาอย่างเฉียบพลันในทางเดินหายใจส่วนล่าง -กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง คือ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอหรือกำลังอยู่ระหว่างการรักษาโรคบางชนิด ผู้ที่ดื่มสาหรือสูบบุหรี่จัด และผู้ที่ได้รับการรักษาโรคบางชนิด -สาเหตุโรคมาจากการหายใจเอาละอองน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อลีจอโอเนลลา ซึ่งเจริญเติบโตได้ดีในหอผึ่งเย็นที่ไม่มีการดูแลบำรุงรักษาอย่างถูกต้องถูกต้องเข้าสู่ร่างกาย |
||||
ข้อ4 หน้าที่ความรับผิดชอบ
– ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้ดำเนินการ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ที่มีการติดตั้ง หอผึ่งเย็น มีหน้าที่ดังนี้ 1. จัดทำแผนหรือโครงการควบคุมป้องกันโรคฯ โดยมีองค์ประกอบดังรายละเอียดในฉบับกฎหมาย |
||||||
2. มีและใช้มาตรการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ควบคุม และบำรุงรักษาหอผึ่งเย็น และผู้ควบคุมต้องผ่านการอบรมหลักสูตร ผู้ควบคุมและบำรุงรักษาหอผึ่งเย็นด้านการป้องกันและควบคุมเชื้อฯที่กรมอนามัยและกรมควบคุมโรคฯกำหนด | ||||||
3.จัดให้มีผู้ควบคุมและบำรุงรักษาหอผึ่งเย็น โดยผู้ควบคุมต้องมีวุฒิระดับปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์ สุขาภิบาล อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย สาธารณะสุขศาสตร์หรือสาขาอื่นๆ ที่มีประสบการณ์และความรู้ด้านการสาธารณสุข | ||||||
ต้องจดทะเบียนระบบผึ่งเย็นทุกระบบของอาคารกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบท้ายประกาศนี้
ต้องจัดให้มีคู่มือแนะนำไว้ประจำระบบปรับอากาศทุกระบบ รายละเอียดดูได้จากฉบับกฎหมาย |
||||||
ต้องปฏิบัติ/แก้ไข/ปรับปรุง ให้ถูกต้องตามข้อปฏิบัตินี้ กำหนดการปฏิบัตินี้ สำหรับข้อปฏิบัตินี้ กำหนดการปฏิบัติอื่นๆ ดังนี้
หอผึ่งเย็น 1. การออกแบบและก่อสร้าง 2. สถานที่ติดตั้งหอผึ่งเย็น 3. น้ำที่เติมชดเชยจะต้องเป็นน้ำจากแหล่งน้ำเดียวกับที่ใช้ในหอพึ่งเย็น 4. การระบายน้ำทิ้ง 5. การทดสอบก่อนใช้งาน และการใช้งาน ระบบปรับสภาวะอากาศ |
||||||
การดูแลรักษาและตรวจสอบเฝ้าระวัง
1. การดำเนินการและบำรุงรักษาระบบ – จัดหาคู่มือการบำรุงรักษาประจำระบบ – ตรวจความสะอาด ความสกปรก กากตะกอน ทุกเครื่องด้วยสายตา 1สัปดาห์/ครั้ง – จัดทำและดำเนินการตามแผนบำรุงรักษา 2. การทำความสะอาด การทำลายเชื้อ 3. การบำบัดน้ำ ในระบบฯ 4. การใช้สารชีวภาพ 5. การบันทึกข้อมูล – สมุดบันทึกต้องเก็บ >= 2ปี 6. แผนการดำเนินการเมื่อโรคฯระบาด 7. การเก็บตัวอย่างน้ำ และการตรวจสอบทางจุลชีวฯ 8. การแก้ไขการปนเปื้อนเชื้อฯ |