ชื่อส่วนงาน : สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (National Institute for Child and Family Development)
ชื่อส่วนงานย่อย : งานบริการวิชาการ การศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ (Academic Services, Education and Information Technology Section)
ชื่อเรื่อง : โครงการพัฒนาทักษะกำลังคน (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำหลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา
หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21
ชื่อหัวหน้าโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ : นายเมธีณัฐ รัตนกุล
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะ ๔ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๓ – ๒๕๖๖)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services
นายเมธีณัฐ รัตนกุล |
จากสภาพสังคมไทยในปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้แรงงานทุกภาคส่วนเกิดภาวะการว่างงาน และเด็กที่เกิดมาในช่วงนี้จะมีโอกาสที่พ่อแม่มีเวลาเลี้ยงลูกด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น และเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ภาวะปกติแล้วจะทำให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น มีภาวการณ์จ้างงานมากขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองที่เลี้ยงลูกเองจึงจำเป็นที่ต้องออกนอกบ้านเพื่อไปทำงานปกติหรือผู้ที่ว่างงานต้องออกไปหางานทำ จึงไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูลูกเองได้อีกต่อไป และต้องนำไปฝากยังสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือจ้างผู้ดูแลเด็กมาทำหน้าที่แทน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตลาดแรงงานด้านการให้บริการรับเลี้ยงเด็กจะขยายตัวมากยิ่งขึ้น และมีความต้องการผู้ดูแลเด็กมากยิ่งขึ้น ถ้าผู้ดูแลเด็กไม่มีทักษะ กระบวนการ ตลอดจนวิธีการในการกระตุ้นพัฒนาการต่างๆ เด็กก็จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบผิดวิธีและขาดพัฒนาการในหลายๆด้าน จึงเห็นได้ว่า ผู้ดูแลเด็กเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากกับสภาพของ ครอบครัวไทยในสังคมปัจจุบันและในอนาคต
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่เป็นสถาบันทางวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ประกอบกับสถาบันฯ มีศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ในการศึกษาวิจัย รูปแบบและเทคนิควิธีการในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งเป็นแหล่งฝึกอบรมผู้ดูแลเด็ก และเป็นสถานที่ศึกษาดูงานมาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี จึงได้จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ในศตวรรษ ที่ 21 ขึ้น เพื่อผลิตผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้และมีทักษะในการเลี้ยงดูเด็กตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของสังคมภายหลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เพื่อพัฒนาหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21
- เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรในด้านการปลูกฝังความรู้ เทคนิค วิธีการ และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลเด็ก อย่างมีมาตรฐานและคุณภาพที่เน้นฝึกทักษะด้วยการลงมือปฏิบัติจริง
- เพื่อศึกษาติดตามภาวะการมีงานทำและความพึงพอใจของนายจ้าง
ตัวชี้วัดผลสำเร็จ
การดำเนินงาน | ตัวชี้วัดผลสำเร็จ |
ขั้นการสร้างหลักสูตร : หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 ( 35 ชั่วโมง) | 1.1 ความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับพอใช้ 3.50 จาก 5 คะแนน 1.2 ความสอดคล้องของหลักสูตรมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60 – 1.00 |
การศึกษาผลการใช้หลักสูตร : ศึกษาผลการใช้หลักสูตรในด้านการปลูกฝังความรู้ เทคนิค วิธีการ และทักษะที่ถูกต้องในการดูแลเด็ก อย่างมีมาตรฐานและคุณภาพ ที่เน้นฝึกทักษะด้วยการลงมือปฏิบัติจริง |
|
การติดตามภาวะการมีงานทำ : ศึกษาติดตามภาวะการมีงานทำและความพึงพอใจของนายจ้าง | 1.ประชากรกลุ่มเข้าสู่สายอาชีพผู้ดูแลเด็กร้อยละ 30
2.ความพึงพอใจของนายจ้างอยู่ในระดับ 3.50 จาก 5 คะแนน |
ผลลัพธ์
การดำเนินงาน | ผลลัพธ์ |
1.ขั้นตอนการสร้างหลักสูตร | 1.1 ความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับดี 4.42 คะแนน
1.2 ความสอดคล้องของหลักสูตรมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80 – 1.00 |
2.การศึกษาผลการใช้หลักสูตร | 1.ประชากรกลุ่มเป้าหมาย 30 คน มีทักษะที่สูงขึ้นอยู่ในระดับมาก 4.11 จาก 5 คะแนน
2.ประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด 4.51 จาก 5 คะแนน |
3.การติดตามภาวะการมีงานทำ | 1.ประชากรกลุ่มเข้าสู่สายอาชีพผู้ดูแลเด็กร้อยละ 36
2.ความพึงพอใจของนายจ้างเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.91 จาก 5 คะแนน |
การขยายผล
โครงการได้มีแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรและขยายผลการพัฒนาหลักสูตร จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่
1. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 หลักสูตร 220 ชั่วโมง สำหรับกลุ่มผู้จบปริญญาตรีที่มิใช่สาขาทางการศึกษา ตามข้อกำหนดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 หลักสูตร 440 ชั่วโมง สำหรับกลุ่มผู้จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ตามข้อกำหนดเทศบัญญัติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าศึกษาและอยู่ในระหว่างการเรียนการสอนทั้งสองหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
“Future Skill and New Career Thailand” (In brief)
As a result from the COVID-19 outbreak, unemployment has increased in all sectors of labor. On the other hand, when the country returns to a normal situation, there will be an increase in employment in all sectors of labor. The parents need to go back to work or those who are unemployed have to find work. Those parents will then need to send their children to a nursery or hire a caregiver to take care of them instead. There is a possibility that the labor market on the aspects of childcare services will expand even more and the demand for child caregivers will increase too. If child caregivers lack the skills, processes, and methods to encourage child development in various fields, children will lack development in many aspects. Therefore, it can be seen that child caregivers are very important to the condition of Thai families in today's society and in the future. The National Institute for Child and Family Development, Mahidol University as an academic institution for children, youth, and families, realizes the importance of raising children who are growing to be good citizens for our country. The institute has organized the 21st Century Childcare Training course in order to produce child caregivers who have knowledge and skills in raising children according to quality standards.