“เพราะชีวิต มีได้แค่ครั้งเดียว”
“Designing Your Life”
วิชาแรกและวิชาสุดท้ายที่ควรเรียน ในชีวิตนักศึกษามหาวิทยาลัย
July 10, 2020
อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ
อาจารย์
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
เรื่อง/ภาพถ่าย: ธาม เชื้อสถาปนศิริ
เรียบเรียง: ธีรารัตน์ สองเมือง
ศิลปกรรม: เพลินพิศ แสงเหลา
ชีวิตเป็นคำถาม คืออะไรนั้นเป็นสิ่งที่แต่ละคนจะต้องค้นหาคำตอบด้วยตนเอง
|
Q: ชีวิตคืออะไร
A: ชีวิตเป็นคำถาม คืออะไรนั้นเป็นสิ่งที่แต่ละคนจะต้องค้นหาคำตอบด้วยตนเอง แต่ที่แน่นอนหลายๆ คนคิดว่าชีวิตคืออะไรมันเป็นคำถามในเชิงปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ก็ค้นหาคำตอบว่าชีวิตคืออะไรเช่นกัน ดังนั้นคำอธิบายง่ายๆ ว่าชีวิตคืออะไรจึงหมายถึงชีวิตคือลมหายใจ ชีพจร ความฝัน ความหมาย คุณค่า และการดำรงอยู่ ดังนั้นชีวิตคือสิ่งที่คุณจะต้องค้นหาด้วยตนเองว่ามันคืออะไรและไม่มีใครที่จะมีคำตอบสำเร็จรูปให้กับชีวิตได้ว่าชีวิตคุณคืออะไร เพราะฉะนั้นคำถามว่าชีวิตคืออะไรจึงเป็นสิ่งที่ลึกลับมากที่สุดและแม้กระทั่งใบปริญญาก็ไม่สามารถที่จะตอบได้ว่าชีวิตคืออะไร
Q: ชีวิตจำเป็นต้องมีความหมายหรือไม่อย่างไร
A: ผมคิดว่ามี 2 คำ เมื่อพูดถึงชีวิตและความหมาย คำแรกคือประโยคที่ว่า “ใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย” หมายถึงทุกๆ วันที่เราใช้ชีวิตอยู่นั้นมีความหมายหรือมีคุณค่าอย่างไรบ้างอย่างน้อยคือในมุมของคุณค่าและความหมายสำหรับตนเองและในอีกมุมหนึ่งคือคุณค่าและความหมายต่อผู้อื่นและสังคมส่วนรวม สำหรับคำที่สองคือประโยคที่ว่า “การใช้ชีวิตจำเป็นต้องมีความหมายจริงหรือไม่” เราสามารถใช้ชีวิตไปเรื่อยๆ ได้หรือไม่ ความหมายเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงและแปรเปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นแค่ใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบันก็ลำบากมากอยู่และทำไมเรายังต้องมาแสวงหาความหมายของชีวิตอีก เราคิดแค่ว่าชีวิตคือลมหายใจ เกิดขึ้นมา ตื่นนอนตอนเช้า ไปเรียน ไปทำงาน ไปพบปะเพื่อนฝูง ไปเที่ยว ไปทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวัน แค่ทำสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเหล่านี้ เราก็ไม่ต้องแสวงหาความหมายของชีวิตอีกต่อไป แต่ทว่า 2 ประโยคนี้ คำๆ นี้ “ชีวิต” กับ “ความหมาย” เปรียบเสมือนเหรียญสองด้าน ความยากของการตอบคำถามนี้คือคุณไม่มีทางรู้เลยว่าคุณจะตอบได้อย่างไร มันเปรียบเสมือนว่าเมื่อคุณมองหาความหมายคุณจะมองย้อนกลับมาดูว่าชีวิตคุณว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ดังนั้นระหว่างคำว่า “ความหมาย” กับ “ชีวิต” มันมีสิ่งบางๆ ที่ขั้นอยู่ สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่คุณจะต้องเรียนรู้ด้วยตนเองว่าชีวิตคืออะไรและจำเป็นต้องมีความหมายหรือไม่
Q: ชีวิตของคนเราสามารถออกแบบได้หรือไม่
A: ทุกคนเป็นนักออกแบบ ดังจะเห็นได้จากเมื่อเราตื่นนอนตอนเช้า เราจะคิดว่าวันนี้เราจะสวมใส่เสื่อผ้าอะไร สีอะไร ทานเข้ากับอะไร เดินทางไปเรียนไปทำงานด้วยวิธีการไหน เราสามารถเลือกทุกอย่างได้และบางทีการเลือกของเราก็คือการออกแบบอย่างหนึ่ง แต่ทว่าการเลือกเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของการออกแบบ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเลือกถูกหรือเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีตัวเลือกอะไรบ้างในชีวิตที่เราสามารถเลือกได้ ชีวิตมันย่อมออกแบบได้แน่นอน เหมือนกับสิ่งของต่างๆ ที่เราออกแบบ เพียงแต่ว่าสิ่งที่เราไม่ทันสังเกตคือเรามักออกแบบสิ่งที่อยู่ภายนอก เช่น ออกแบบอุปกรณ์เครื่องใช้ สินค้าบริการ แต่จริงๆ แล้วเราเคยถามตัวเองหรือไม่ว่าเราเคยออกแบบชีวิตให้กับตัวเราเองหรือไม่ เพราะฉะนั้นสิ่งนี้จึงเป็นคำถามสำคัญที่ทุกคนในศตวรรษที่ 21 ตั้งคำถามมากขึ้นในสังคมที่มีเทคโนโลยีและมีความสะดวกสบายมากที่สุด มันกลับกลายเป็นเรื่องตลกที่ว่าเราเหลือพื้นที่ให้กับการออกแบบชีวิตตัวเองมากน้อยเพียงไร ดังนั้นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 บางคนเข้ามาเรียนด้วยการสนับสนุนของพ่อแม่ บางคนคิดว่าได้เรียนในสิ่งที่ตนเองชอบ แต่ผมจะบอกว่ารายวิชาในมหาวิทยาลัยอาจจะสอนวิชาชีพ วิชาการ ซึ่งทั้งสองอย่างเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเรียนรู้ แต่วิชาชีวิตกับการออกแบบชีวิตของคุณ คุณจะต้องออกแบบชีวิตคุณเอง เพราะมีแต่คุณเท่านั้นกำหนดชีวิตให้กับตัวคุณเองได้
Q: ในเมื่อชีวิตของคนเราสามารถออกแบบได้ แล้วเราสามารถออกแบบอะไรได้บ้างให้กับชีวิต
A: ผมคิดว่าสิ่งหนึ่งที่สำคัญเมื่อเราเกิดขึ้นมาและเติบโตเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น เราได้ผ่านชีวิตมาประมาณ 1 ใน 3 เพราะฉะนั้นคุณเริ่มเรียนรู้แล้วว่ามันมีบางอย่างที่คุณสามารถควบคุมได้และมีบางอย่างเช่นกันที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ คุณจะกำกับหรืออยากจะเดินไปบนทิศทางไหน บางทีคุณอาจจะนึกถึงความฝัน ความหวัง หรือความศรัทธา คำต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณใช้ยึดมั่นในการที่คุณจะเดินทางบนเส้นทางชีวิตของคุณ แต่แน่นอนชีวิตเปรียบเสมือนการล่องเรือใบในมหาสมุทร สิ่งที่คุณควบคุมได้คือคุณสามารถควบคุมหางเสือ ใบเรือ พวงมาลัยเรือ คุณสามารถควบคุมได้หมดเลย แต่คุณไม่สามารถควบคุมลมฟ้าอากาศ และ คลืนได้ คุณควบคุมปัจจัยภายนอกไม่ได้ ชีวิตก็เช่นกัน เมื่อคุณอยากที่จะเดินตามความฝัน ความหวัง ความศรัทธา คุณจำเป็นที่จะต้องมีเข็มทิศในการนำทางชีวิต แต่เข็มทิศไม่สามารถที่จะควบคุมทุกอย่างในชีวิตได้ มันเป็นเพียงแค่เครื่องมือที่ช่วยคุณเท่านั้นในการเดินทาง เพราะฉะนั้นมันจะดีกว่ามากเลยถ้าการเรียนในมหาวิทยาลัยสิ่งที่คุณจะต้องเรียนรู้คือวิชาการ ความรู้ต่างๆ เพื่อให้ได้ใบปริญญา แต่ขณะเดียวกันนั้นเองคุณก็ได้เรียนรู้การใช้ชีวิตอย่างสมดุลและพอที่จะมั่นใจได้ว่าคุณสามารถที่จะควบคุมบางอย่างในชีวิตคุณได้ และเป็นสิ่งที่คุณตั้งใจที่มันจะทำให้คุณไปถึงตามความฝันที่คุณตั้งไว้ได้
Q: ดูเหมือนชีวิตจะออกแบบได้ทุกอย่าง แล้วมีอะไรบ้างที่ชีวิตออกแบบไม่ได้
A: ผมว่าสิ่งที่เราออกแบบไม่ได้ก็คือความไม่แน่นอน เคยได้ยินคำนี้ไหม “ชีวิตคือความไม่แน่นอน ความตายสิแน่นอนกว่า” เพราะฉะนั้นในระหว่างที่ใช้ชีวิตถึงแม้ว่าเราจะควบคุมได้หลายอย่าง แต่จริงๆ แล้วเราอาจจะรู้สึกว่าเราควบคุมอะไรไม่ได้เลยแม้กระทั่งลมหายใจ ความฝัน ความเอาแต่ใจของเพื่อนๆ พ่อแม่ สิ่งแวดล้อม และลมฟ้าอากาศ ดูเหมือนว่าสิ่งต่างๆ เหล่านี้เราไม่สามารถควบคุมได้ เพราะฉะนั้นนิยามชีวิตที่แท้จริง ชีวิตคือความไม่แน่นอน แต่พอที่จะทำความไม่แน่นอนนั้นให้อยู่ในระดับที่เราสามารถควบคุมได้ ให้พอที่จะใช้ชีวิตอยู่ตามแนวทางที่อยากจะทำได้ พอจะควบคุมให้ชีวิตไม่เจอวิกฤต หรือเมื่อเจอวิกฤตเราสามารถที่จะตั้งหลักได้บ้าง และไม่ล้มนานเกินไป ผมคิดว่าสิ่งต่างๆ มันยืนอยู่บนสิ่งที่คุณต้องเรียนรู้ที่จะเข้าใจว่าคุณมีมือซ้ายและมือขวาทั้งสองมือนั้นคอยประคับประคองชีวิตของคุณ บางอย่างอาจจะเป็นสิ่งที่คุณเรียกว่าฟ้าลิขิต แต่บางอย่างชะตาหรืออาจจะสู่กายลิขิตของตนเอง ดังนั้นชีวิตมีสิ่งที่แน่นอนก็คือความไม่แน่นอน วิชาชีวิตที่แท้จริงก็คือการเรียนรู้ที่จะเข้าใจว่าชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน มีความแน่นอนบางอย่างที่เราพอจะจัดการมันได้ และสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่คุณจะต้องลงไปจัดการด้วยตัวคุณเอง
Q: ในฐานะที่อาจารย์เคยผ่านชีวิตช่วงวัยรุ่นมาแล้ว อาจารย์พอจะบอกได้ไหมค่ะว่าชีวิตวัยรุ่นสมัยอาจารย์เป็นอย่างไร แล้วมีอะไรที่เป็นความยากในการใช้ชีวิตบ้าง
A: ชีวิตวัยรุ่นเป็นเรื่องที่ยากแต่ชีวิตช่วงไหนบ้างที่สบาย เราอาจจะบอกได้ชีวิตที่มีความสุขที่สุดคือชีวิตช่วงวัยเด็ก เพราะว่าวัยเด็กเป็นวัยที่ยังไม่รู้จักโลกมากนักและวัยเด็กมักจะมีความสุขกับเรื่องง่ายๆ วลีที่วัยรุ่นชอบพูดว่า “เป็นวัยรุ่นมันยาก” “มันเหนื่อย” “มันท้อ” เป็นจริง แต่มันจะเป็นจริงที่สุดเมื่อผ่านเข้าสู่ช่วงวัยผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นชีวิตไม่ใช่เรื่องง่าย ชีวิตวัยรุ่นสมัยผมกับสมัยนี้อาจจะแตกต่างกันในเชิงบริบททางสังคม เช่น เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม ค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ในความเป็นวัยรุ่นฮอร์โมนมันพลุ่งพล่านความยากเหมือนเดิม แตกต่างกันที่สภาพแวดล้อม เพราะฉะนั้นความยากของวัยรุ่นเป็นความยากของความวุ่นวาย ความปั่นป่วนภายในจิตใจ ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านจากชีวิตมัธยมปลายเข้าสู่มหาวิทยาลัยเป็นช่วงเวลาเสมือนเดินบนทางแยกบนถนนสายใหม่ ดังนั้นมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะรักษาความสมดุลของชีวิตทั้งอนาคตที่กำลังจะมาถึง แบบทดสอบในชีวิตจริงที่ต้องเจอ ทั้งเพื่อน แฟน อาจารย์ รุ่นพี่ และสังคมใหม่ๆ เพราะฉะนั้นช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่ยากเสมอ เป็นช่วงเวลาที่เราต้องพึ่งพิง พึงพาตนเอง หรือเป็นช่วงเวลาที่คุณมีอิสระเสรี ดังนั้นความยากลำบากของวัยรุ่นไม่ว่าจะเป็นยุคไหน สมัยไหนความยากนั้นคือความยากในการจัดการภายในจิตใจของตนเอง
Q: อาจารย์มองว่าชีวิตวัยรุ่นในปัจจุบันเป็นอย่างไร
A: ชีวิตวัยรุ่นในสมัยนี้อาจจะแตกต่างกับสมัยผมตรงบริบทของสภาพแวดล้อม ปัจจุบันโลกเข้าสู่ภาวะผันผวนมากเกินไป คำว่าผันผวนในที่นี้เกิดขึ้นในเชิงของเทคโนโลยี รูปแบบสังคมและค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไป โลกเล็กลงและเราเชื่อมโยงกับโลกมากเกินไป รับรู้ข่าวสารเร็วเกินไป ผู้คนมากเกินไป เพื่อนในโลกออนไลน์เยอะเกินไป และเราจัดการกับสิ่งเหล่านี้ลำบากมาก ในขณะเดียวกันเราต้องเรียนรู้กับตัวเองไปด้วย เพราะฉะนั้นความวุ่นวายต่างๆ เหล่านี้ทำให้เราค้นพบตนเองได้ยาก ผมจะบอกว่าวัยรุ่นไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน วัยรุ่นจะแสวงหาการค้นพบตนเอง ผ่านการเรียน การคบเพื่อน การเข้าสู่สังคมใหม่ๆ การท่องเที่ยว การมีความรัก การผลักออกจากอ้อมอกพ่อแม่ การที่ต้องเจอสิ่งต่างๆ เหล่านี้เพียงเพื่อการค้นพบตัวเองว่าตนเองเป็นใคร เพราะฉะนั้นถ้าเป็นวัยรุ่นสมัยก่อนสังคมยังไม่มีความผันผวนมากมายเช่นนี้ วัยรุ่นสมัยนั้นอาจจะค้นพบตนเองได้ง่ายกว่า แต่สังคมสมัยนี้มีความผันผวนค่อนข้างมากภายใต้ความวุ่นวายสับสนต่างๆ เหล่านี้ มันยิ่งทำให้วัยรุ่นสมัยนี้คนพบตัวเองได้ยาก เพราะฉะนั้นผมกลับมองว่าวัยรุ่นสมัยนี้อาจจะเจออุปสรรคที่ค่อนข้างมาก มันอาจจะเป็นเรื่องตลกที่คุณอาจจะมองว่าอุปสรรคในชีวิตหรอ ชีวิตวัยรุ่นสมัยนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกเยอะแยะมากมาย สมัยก่อนสิลำบาก สมัยก่อนไม่มีเทคโนโลยีที่สื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ไม่มีระบบสาธารณูปโภคที่อำนวยชีวิตให้สะดวกสบาย ไม่มีไฟฟ้า ปะปา ยิ่งลำบากมาก ชีวิตสมัยนี้มีความสะดวกสบายแทบจะทำได้ทุกอย่างแต่ภายใต้หลุมพลางของความสะดวกสบายนั้นมันกลับยิ่งทำให้เราค้นพบตัวเองยากมากขึ้น
Q: อาจารย์มีคำแนะนำสำหรับน้องๆ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 บ้างไหมค่ะ ว่าทำอย่างไรพวกเขาถึงจะสามารถใช้ชีวิตให้รอดได้ภายใต้รั้วมหาวิทยาลัย
A: จริงๆ ชีวิตนักศึกษาคือช่วงเวลาที่สนุกมากนะ เพราะว่ามันคือรอยต่อระหว่างการผลักออกจากครอบครัวที่สร้างคุณมา ตอนนี้คุณกำลังเริ่มต้นเรียนรู้ที่จะสร้างตัวตนเพื่อที่คุณจะมีครอบครัวเป็นของตัวเอง คุณกำลังเดินผ่านรอยต่อระหว่างช่วงวัยที่เป็นเด็กเข้าสู่วัยที่เป็นผู้ใหญ่ เพราะฉะนั้นคำแนะนำสำหรับผมง่ายมากคือ “เรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตให้มีความสุข ความสนุก และมีสมดุล” ชีวิตเป็นทั้งเรื่องที่จริงจังและสนุกสนาน คุณจะต้องสมดุลชีวิตให้ได้ ทั้งกับเรื่องของวิชาการ การเรียน สุขภาพ การนอน การเล่นกีฬา และแน่นอนคุณไม่สามารถอยู่ตัวคนเดียวได้ คุณจำเป็นต้องมีเพื่อนมีความสัมพันธ์กับสังคม ไม่ว่าความสัมพันธ์นั้นจะเป็นเพื่อน รุ่นพี่ หรือแม้กระทั่งอาจารย์ เหล่านี้คือผู้คนที่รักคุณและคือผู้คนที่คุณรัก และสุดท้ายอย่าหลงลืมการเล่นการทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้คือวิธีการที่จะทำให้ตนเองอยู่รอดและปลอดภัย อย่ามุ่งเน้นการเรียนมากนักเพราะใบปริญญาไม่ได้วัดทุกอย่าง อย่าคิดว่าเกรดจะนำพาคุณไปสู่บริษัทดีๆ หรือสังคมดีๆ ได้ บางทีสายสัมพันธ์ ความทรงจำ ความสนุกสนานกับเพื่อน ซึ่งการมีเพื่อนที่ดีเป็นสิ่งที่จะมีค่ามากกว่าใบปริญญา เพราะฉะนั้นผมจะบอกว่าเกียรตินิยม เกรด A ผลการเรียนที่โดดเด่น อาจจะเป็นสิ่งแรกที่คุณมุ่งหวังในการเรียนปริญญา แต่ผมพูดในฐานะที่มีประสบการณ์จบปริญญามาแล้ว เกรดไม่ได้วัดอะไรในชีวิต ความสุข ความทรงจำ ความสัมพันธ์ สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณไปรอดและเดินทางบนเส้นทางชีวิตของคุณได้อย่างมั่นคง
Q: ที่มาที่ไปของรายวิชาออกแบบชีวิตคืออะไร และทำไมสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล จึงต้องเปิดสอนรายวิชานี้
A: ปกติชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยมุ่งเน้นความรู้ในเรื่องของวิชาการเป็นหลัก โดยอ้อมคุณจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยตั้งแต่การเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้เจอรุ่นพี่ เจออาจารย์ เจอแฟนคนแรก เจอความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ๆ เจอกิจกรรมใหม่ๆ หรือสิ่งที่ท้าทายในชีวิตแบบใหม่ๆ มีหนังสือเล่มหนึ่งแต่น่าเสียดายที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอน คำถามคือแล้ววิชาที่มหาวิทยาลัยไม่ได้สอนคือวิชาอะไร อาจารย์ที่สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ค้นพบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีวิชาที่ตอบสนองผู้เรียนค่อนข้างมากและหลากหลาย และพยายามที่จะมุ่งพัฒนาบัณฑิตสู่ความพร้อมในการเป็นปัญญาชน ในการเป็นผู้ใหญ่ ในการเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม แต่ทว่าใน 10 ปี ที่ผ่านมามีวิชาหนึ่งที่สอนในต่างประเทศแล้วทางสถาบันฯ คิดว่าน่าจะเป็นบทบาทที่สำคัญของสถาบันฯ ในการเปิดวิชานี้ ตอนแรกวิชานี้ใช้ชื่อว่าแปลงความรู้สู่การปฏิบัติในชีวิตจริง ฟังดูแล้วไม่ค่อยหน้าเรียนซักเท่าไหร่ แต่มันจะดีกว่านี้มากถ้าเรียกวิชารายวิชานี้ว่าวิชาออกแบบชีวิต วิชาชีวิตเป็นวิชาที่คุณใช้ทุกวันอยู่แล้ว เพราะคุณตื่นมาถ้าคุณยังมีลมหายใจคุณได้เรียนวิชาชีวิตแน่นอน คุณเจอเพื่อนใหม่ คุณไปออกกำลังกาย คุณไปโรงอาหาร คุณเข้าเรียน คุณออกไปเที่ยว ไปทำกิจกรรม สิ่งเหล่านั้นคือวิชาชีวิต แต่ทันทีที่เราใช้คำว่าออกแบบเติมลงไปในวิชาออกแบบชีวิตนั่นคือสิ่งใหม่ วิชานี้จึงมุ่งหมายให้บัณฑิตได้มีความรู้ในการที่จะไปออกแบบชีวิตของตนเอง รูปแบบของวิชานี้จึงออกมาที่แนวคิดเรื่อง 5M (1) Meaning คุณเคยใส่ใจความหมายของการมีชีวิตหรือคุณคิดว่าชีวิตคุณควรจะมีความหมายหรือไม่ (2) Management คือการบริหารจัดการ ปกติคุณมักจะคิดว่าการบริหารจัดการควรไปเรียนตอนทำงานหรือตอนเป็นผู้ใหญ่ค่อยมาพูดเรื่องของการบริหารจัดการ แต่คุณอย่าลืมว่าตอนคุณเป็นเด็กพ่อแม่มีความสามารถและความพยายามในการบริหารจัดการชีวิตคุณมากมายจนคุณรู้สึกว่าเลิกยุ่งกับหนูสักที พอเข้าสู่ชีวิตมหาวิทยาลัยคุณได้สัมผัสกับอิสระภาพ เสรีภาพที่จะทำอะไรได้ตามอัตภาพของตนเอง เพราะฉะนั้นรายวิชานี้ คือวิชาที่บอกว่าคุณต้องบริหารจัดการชีวิตของตัวคุณเอง เพราะจะเป็นสิ่งที่ทำให้คุณรู้ว่าชีวิตมีความหมายและคุณสามารบริหารจัดการชีวิตตนเองได้ดีด้วย (3) Matter สารัตถะในชีวิต ชีวิตมีทั้งเรื่องไร้สาระและมีสาระ แต่สารัตถะ หมายถึง คุณแสวงหาสิ่งใดที่มีคุณค่าในชีวิต เพราะฉะนั้นถ้าเราใช้ชีวิตอยู่ทุกวันโดยที่ไม่รู้เป้าหมาย โดยไม่รู้ว่านี่คือเส้นทางเดินไปสู่เป้าหมายหรือเปล่า ถ้าคุณไม่กำหนดเป้าหมายสักอย่างในชีวิตคุณจะรู้ได้อย่างไรว่าชีวิตคุณมีแก่นสาร มีสารัตถะหรือเปล่า ดังนั้นวิชานี้จึงพยายามที่จะทำให้ผู้เรียนพิจารณาว่าเมื่อให้ศึกษาชีวิตของตัวคุณเอง ชีวิตของคุณมีสารัตถะอะไรบ้าง (4) Manuscript เป็นเหมือนคัมภีร์ ถ้าชีวิตจำเป็นต้องมีเข็มทิศ ชีวิตคุณมีแนวทางหรือแบบแผนหรือไม่ คุณจะต้องสร้างแบบแผนในการดำรงชีวิตของตนเอง และ (5) Mindful คือความเอาใจใส่ต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นหลักใหญ่ของรายวิชานี้คือเพื่อจะแปลงความรู้สู่การใช้ชีวิตหรือการออกแบบชีวิตตนเองนั่นเอง
Q: ทำไมนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยควรเรียนรายวิชาออกแบบชีวิต
A: รายวิชาออกแบบชีวิตคือวิชาที่อาจารย์จะไม่ได้อยู่ในฐานะอาจารย์ผู้สอน แต่อาจารย์จะอยู่ในฐานะผู้เรียนรู้ร่วมกับนักศึกษา อาจารย์จะไม่มาบรรยายสอนทฤษฎีต่างๆ แล้วให้คุณเชื่อ อาจารย์จะไม่อยู่ในฐานะที่เป็นผู้รู้ รายวิชานี้ผู้ที่จะออกแบบก็คือตัวของนักศึกษาเอง ดังนั้นรายวิชานี้นักศึกษาจะได้เรียนออกแบบชีวิตตนเอง เราจะได้ใช้ชีวิตที่มีความสุข ความสัมพันธ์ ความสมดุลที่ดีได้ก็ด้วยการออกแบบที่