Select Page

งานแถลงข่าว

23 พฤษภาคม 2566
หมอเด็กหนุนกัญชาเฉพาะการแพทย์ คุมเข้มผสมอาหาร ชี้ใช้เองผลเสียพอกับบุหรี่ไฟฟ้า… ไม่เห็นด้วยทั้งเรื่องกัญชาและบุหรี่ไฟฟ้า ที่ผ่านมา เห็นด้วยกับเรื่องกัญชาทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการรักษาบรรเทาอาการปวด แต่รัฐบาลเก่า หรือ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในขณะนั้น แม้บอกว่าทางการแพทย์ แต่ในทางปฏิบัติ …
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวแสดงความคิดเห็นกรณีการลงนามเอ็มโอยูร่วมจัดตั้งรัฐบาลของ 8 พรรคการเมือง โดย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ว่าที่นายกรัฐมนตรี ระบุนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติด ว่า ความจริงแล้วในกลุ่มราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ไม่เห็นด้วยทั้งเรื่องกัญชาและบุหรี่ไฟฟ้า ที่ผ่านมา เห็นด้วยกับเรื่องกัญชาทางการแพทย์ เพื่อใช้ในการรักษาบรรเทาอาการปวด แต่รัฐบาลเก่า หรือ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในขณะนั้น แม้บอกว่าทางการแพทย์ แต่ในทางปฏิบัติ กลับมีเรื่องอื่นตามมาด้วย ทำให้การกำหนดค่าทีเอชซี (THC) ที่ออกมา เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์อื่น หรือแม้แต่ขนมที่มีการผสมกัญชาแบบโฮมเมด หรือ ร้านกัญชา เกิดขึ้น แต่การออกกฎหมายมาบังคับใช้ก็สับสนไม่ชัดเจน

“เช่น ห้ามหญิงตั้งครรภ์ใช้ผลิตภัณฑ์ หรือ รับประทาน อาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา เหตุใดไม่ห้ามแบบเด็ดขาดว่า ห้ามมีส่วนผสมของกัญชาในอาหารปรุงเองในแบบครัวเรือน หรือร้านอาหาร เพราะในความเป็นจริงอาหารแบบนี้ควบคุมได้ยาก ไม่เหมือนการควบคุมอาหารในเชิงอุตสาหกรรม มีแบรนด์ ที่ต้องกำหนดสัดส่วนชัดเจน และจำหน่ายภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ส่วนข้อกังวลที่ผู้ประกอบการลงทุนกับเรื่องกัญชาไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของร้านกัญชา หรือ ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าธุรกิจ มีความยืดหยุ่น และผู้ประกอบการสามารถปรับตัวได้ การปลูกกัญชาเพื่อทางการแพทย์ ใช้ประโยชน์ได้มากกว่า เพราะใช้กัญชาเป็นยาระงับปวดได้ผลดี อย่างการรักษามะเร็งหลังโพรงจมูก” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว

ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กฯ กล่าวว่า ส่วนเรื่องบุหรี่ไฟฟ้านั้น ขอย้ำว่า มีสารนิโคติน เป็นอันตราย ใครๆ ก็เข้าใจกันมานาน แต่ทุกวันนี้มีการลักลอบจำหน่ายทางอินเตอร์เน็ต เข้าถึงได้ง่าย สารพิษจากบุหรี่ไม่ได้มีส่วนไหนเป็นประโยชน์กับร่างกายเลย ไม่ว่าจะมาใช้ในเด็กหรือผู้ใหญ่

“การทำการตลาดของบุหรี่ ก็มีความเปลี่ยนแปลง โดยใช้ข้อมูล และข้อจำกัดเรื่องเสรีภาพทางการตลาดเข้ามา ตรงนี้ไม่ถูกต้อง จะมาให้ผู้บริโภคเลือกว่าจะเลือกใช้บุหรี่แบบไหน เพราะสิ่งที่ใช้ไม่มีประโยชน์ และอันตรายทั้งคู่ เรื่องบุหรี่ไฟฟ้า จึงไม่ใช่เรื่องเสรีภาพของผู้ซื้อ แต่ไม่คิดตรงกันข้ามว่า เป็นเรื่องนี้ก็ไม่ใช่เสรีภาพของผู้ขายเช่นกัน เพราะเป็นสินค้าที่มีอันตราย ดังนั้น การแก้กฎหมายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ในรัฐบาลก่อน ก็พอกับรัฐมนตรีว่าการ สธ.เช่นกัน” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
Source – matichon.co.th
https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_3993707

วันที่ 15 พ.ค. 2566
‘มหิดล’ ร่วมกับ ‘ปปส.’ โชว์ผลวิจัย สร้างภูมิป้องกันยาเสพติดปฐมวัย
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยามหิดล ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม จัดงานแถลงข่าว “วอนรัฐบาลใหม่เร่งสร้างภูมิต้านทานตั้งแต่ปฐมวัย เติบโตไปไม่ใช้ยาเสพติด” ที่ห้องประชุมเจริญคุณธรรม ชั้น 3 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

นางสาวอารีภักดิ์ เงินบำรุง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด สำนักงาน ป.ป.ส. กล่าวว่ามีผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดเฉลี่ยปีละ 2 แสนคน เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนอายุไม่เกิน25 ปี ในสัดส่วน 1 ใน 4 ของผู้เข้ารับการบำบัดรักษาทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ยาเสพติดครั้งแรกอายุ 15-19 ปี เป็นช่วงวัยที่ควรเฝ้าระวังและป้องกันอย่างใกล้ชิด จากผู้เข้ารับการบำบัดทั่วประเทศเฉลี่ยปีละประมาณ 2 แสนคน เป็นผู้อายุ 25 ปีขึ้นไปประมาณ 140,000 คน อายุ 15-24 ปีประมาณ 54,000 คน ส่วนมากเป็นผู้เสพยาบ้า 75-80% ยาไอซ์ 5-10% จากที่ประชุมยาเสพติดโลกเห็นว่า ผู้เสพคือผู้ป่วยควรได้รับการรักษา ซึ่งยาเสพติดไม่มีวันหมดไปจากโลก ดังนั้น แนวทางป้องกันมี 2 ด้านคือ สภาพแวดล้อม สังคม และสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเด็ก จากงานวิจัยพบว่า บุหรี่ไฟฟ้า กัญชา มีผลต่อสุขภาพและสมองของเด็ก การหาเสียงกับคำว่าเสรีภาพซึ่งเชื่อมโยงกับอบายมุขเป็นสิ่งที่อันตรายต่อเยาวชน

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า สถานการณ์ประเทศไทยปัจจุบันถูกปรับทัศนคติให้ยอมรับยาเสพติดมากขึ้น โดยเฉพาะจากนโยบายรัฐ การหาเสียงต่างๆ เช่นกัญชาเสรี บุหรี่ไฟฟ้า บ่อนถูกกฎหมาย รวมถึงโครงสร้างทางสังคมที่เปิดโอกาสเข้าถึงยาเสพติดง่ายขึ้น ราคาถูกลง จากการศึกษาวิจัย 1,309 ครอบครัวในชุมชนแออัด พบว่าครอบครัวยากจนที่ได้รับเงินอุดหนุนทารกแรกเกิดเดือนละ 600 บาท ถึงอายุ 6 ปีพ่อแม่ติดยาเสพติดร้อยละ 6 หรือ 83 ครอบครัว ซึ่งมากกว่าครอบครัวไม่ยากจน 2.4 เท่าและ ร้อยละ 60 ของครอบครัวยากจนที่เสพยาจะเลี้ยงดูลูกไม่เหมาะสม ทั้งการละเลย ใช้ความรุนแรงกับเด็ก ในปี 2566 รัฐต้องอุดหนุนเงินทารกแรกเกิดถึง 2.58 ล้านคน ใช้งบประมาณ 16,321.18 ล้านบาท ซึ่งคาดว่ามีพ่อแม่ยากจนใช้ยาเสพติดและเป็นผู้ดูแลเด็กปฐมวัยประมาณ 154,800 ครอบครัว และมีเด็กปฐมวัยประมาณ92,880 คนที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม ซึ่งเงินที่รัฐจ่ายไป ไม่มีการศึกษาเงื่อนไขเชื่อมโยงให้พ่อแม่เด็กเข้ารับการบำบัดยาเสพติดและฝึกการเลี้ยงลูกให้เหมาะสม

งานวิจัยดังกล่าว พร้อมถ่ายทอดให้ครูปฐมวัย ซึ่งครูหลายคนปฏิบัติมานานแล้วแต่อาจไม่ทราบว่านั่นคือกระบวนการ EF ดังนั้น รัฐควรส่งเสริมให้ชัดเจน ทั้งนี้เสรีภาพต้องเกิดขึ้นบนพื้นฐานความปลอดภัย อย่ามองข้ามอันตรายยาเสพติด ขอให้รัฐบาลใหม่หันมาลงทุนกับครูปฐมวัยมากขึ้น ซึ่งมีผลวิจัยจากสถาบันรองรับ โดยเฉพาะกระบวนการเสริมทักษะ EF ไม่ใช่ป้องกันยาเสพติดอย่างเดียว หากครอบคลุมในมิติคุณธรรมเพศสัมพันธ์วัยเรียน รวมถึงพนันออนไลน์เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันในการตัดสินใจให้เด็กตั้งแต่เริ่มต้น เพราะเด็กอยู่กับครูมากกว่าอยู่บ้าน โรงเรียนจึงเป็นสถานบ่มเพาะอย่างดีหากครูได้รับการฝึกอบรมและติดตามผลตามกระบวนการวิจัย อยากให้รัฐบาลใหม่สนับสนุนเรื่องนี้ให้ชัดเจนเพื่อเด็กในอนาคต

ศ.นพ.อภิชาติ จิตต์เจริญ รองผู้อำนวยการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า หญิงที่เสพยาบ้า เสี่ยงต่อครรภ์เป็นพิษ เด็กน้ำหนักน้อย ต้องอยู่ในตู้ควบคุมอุณหภูมินานทำให้มีค่าใช้จ่ายมาก ส่วนหญิงที่ใช้กัญชาเกินขนาด ทั้งในรูปอาหาร ขนม หรือใช้ร่วมกับบุหรี่ เสี่ยงต่อการท้องนอกมดลูก เด็กน้ำหนักน้อย หรือคลอดก่อนกำหนด ไม่สมบูรณ์พัฒนาการช้า และมีผลกระทบต่อสมองเนื่องจากมีรายงานผลการศึกษาในต่างประเทศ พบว่า การที่เด็กได้รับกัญชาตั้งแต่ในครรภ์และในช่วงปฐมวัยมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักแรกเกิดต่ำ เส้นรอบวงศีรษะลดลง การขาดดุลทางความคิด (ความสนใจการเรียนรู้และความจำ) การรบกวนในการตอบสนองทางอารมณ์ที่นำไปสู่ความก้าวร้าว ความหุนหันพลันแล่นสูง หรือความผิดปกติทางอารมณ์ และเสี่ยงที่จะใช้สารเสพติดเมื่ออายุมากขึ้น ในประเทศไทยกัญชาทำให้หญิงที่อยู่ในช่วงภาวะการเจริญพันธุ์ในเขตชนบท ซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี มีการใช้เพิ่มมากขึ้นด้วย

ด้าน ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกรอาจารย์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากปัญหาข้างต้นที่กล่าวมานั้น เป็นที่มาของงานวิจัยตลอด 10 ที่ผ่านมา การป้องกันยาเสพติดควรเริ่มตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จากการวิจัยพบว่า Executive Functions หรือEF เป็นกระบวนการทำงานของสมองผ่านประสบการณ์ที่ได้พบ เด็กที่มีประสบการณ์ไม่ดีมีแนวโน้มติดยาเสพติดสูง การป้องกันคือการพัฒนาครูปฐมวัย ผลการวิจัย พบว่าในมิติของครู สามารถจัดการเรียนการสอนและสอดแทรกทักษะ EF ได้ เช่น สอนความอดทนอดกลั้น ความรับผิดชอบ การจัดการชีวิตตนเอง ไม่คิดแทนเด็ก สิ่งสำคัญคือ การสร้างและรักษาตัวตนเด็ก ยกตัวอย่างการพัฒนาทักษะ EF เช่น เด็กที่ต้องตื่นไปโรงเรียน แม้จะง่วงนอนแต่ต้องฝืนไปเรียนซึ่งเป็นการยั้งคิด ไม่เอาแต่ใจตนเอง เกิดความรับผิดชอบ เพราะ EF คือสมองส่วนเหตุผล สติปัญญา อารมณ์และการตัดสินใจ ในทางกลับกัน หากเพื่อนชวนไปเสพยาประสบการณ์ไม่ดีของเด็กเตือนว่า ถูกครอบครัวใช้ความรุนแรงทั้งร่างกายและวาจา เด็กจะมีโอกาสตัดสินใจเสพยาตามเพื่อนมากขึ้นหากครูฝึกให้เด็กรู้จักแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองผ่านกิจกรรมต่างๆ จะช่วยในการตัดสินใจได้มากขึ้น เช่น หากนำกระดาษไปแขวนไว้ การวาดภาพก็จะยากขึ้น เด็กจะต้องหาวิธีวาดภาพ ซึ่งต่างจากกระดาษที่วางบนพื้นแบบปกติ ทำให้เด็กเกิดการทดลอง ความท้าทายและความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น
ที่มา: นสพ.สยามรัฐ ฉบับวันที่ 15 พ.ค. 2566

วันที่ 12 พฤษภาคม 2566
เด็กปฐมวัยกว่า 9 หมื่นคน ผู้ดูแลรับเงินอุดหนุนรัฐ แต่ใช้สารเสพติด
เด็กปฐมวัยกว่า 9 หมื่นคน ผู้ดูแลใช้สารเสพติด ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม ทั้งที่รัฐให้เงินอุดหนุนแรกเกิด 600 บาท เสี่ยงเติบโตเข้าสู่วงจรยาเสพติด วอนรัฐบาลใหม่ลงทุนเสริมภูมิต้านทานให้เด็ก ผ่านเครื่องมือEF ยกเลิกนโยบายสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า -กัญชา
Keypoints :
ประมาณการ ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 1.9 ล้านคน เข้าบำบัดระบบสาธารณสุขเฉลี่ยปีละราว 2 แสนคน เป็นเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 15ปี – 24 ปี ราว 54,000 คนความเสี่ยงของเด็กปฐมวัยต่อการเลี้ยงดูที่เสี่ยงต่อยาเสพติด กว่า 9 หมื่นอยู่ในการเลี้ยงดูผู้ดูแลได้รับเงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ที่ใช้สารเสพติด
ผลการศึกษานำเครื่องมือ “EF พัฒนาทักษะสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิต” มาใช้พัฒนาเด็กปฐมวัย เพื่อเสริมภูมิต้านทาน ป้องกันยาสพติดในอนาคต

เมื่อวันที่ 10 พ.ค.2566 ที่สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มีการแถลงข่าว “วอนรัฐบาลใหม่เร่งสร้างภูมิต้านทานตั้งแต่ปฐมวัย เติบโตไปไม่ใช้ยาเสพติด”โดยความร่วมมือระหว่าง สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยามหิดล ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรม

น.ส.อารีภักดิ์ เงินบำรุง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ป.ป.ส. กล่าวว่า การบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด จะแยกเป็น ผู้ใช้ 5% ผู้เสพที่เข้ารับการบำบักฟื้นฟูระดับปฐมภูมิที่รพ.สต.หรือรพ.ชุมชน 65 % ผู้ติด 25 % และผู้ติดรุนแรงเรื้อรัง 5 % ใน 2 ส่วนหลังมีราว 15-20 % มีโรคร่วมทางจิตเวชและมีพฤติกรรมเสี่ยงก่อความรุนแรง ทั้งนี้ สถิติผู้เข้ารับการบำบัดรักษาทั่วประเทศ ระหว่างปี 2562-2564 พบว่า

ปี 2562 จำนวน 263,834 คน
ปี2563 จำนวน 222,627 คน
และปี 2564 จำนวน 179,619 คน
สัดส่วนเป็นยาบ้า 75-80 % ไอซ์ 7-10 %

นอกจากนี้ มีการประมาณการ ประชากรไทยที่เป็นผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 1.9 ล้านคน คิดเป็น 2.87 % ของประชากรทั้งหมดที่ 66 ล้านคน

ผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดในระบบสาธารณสุขเฉลี่ยปีละราว 2 แสนคน 0.3 % ของประชากรทั้งหมด
ในจำนวนนี้ประมาณการ เป็นเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 15ปี – 24 ปี ราว 54,000 คน คิดเป็น 27 % ของผู้เข้ารับการบำบัดและคิดเป็น 0.28 % ของประชากรเด็กและเยาชนทั้งหมด 19 ล้านคน และคิดเป็น 0.08 %ของประชากรทั้งประเทศ
ปฐมวัยกว่า 9 หมื่นคน เลี้ยงดูไม่เหมาะสม

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความเสี่ยงของเด็กปฐมวัย สถาบันฯทำการศึกษาครอบครัวที่มีเด็กปฐมวัย (อายุแรกเกิดถึง 6 ปี) ในชุมชนแออัดในกรุงเทพมหานคร 1309 ครอบครัว พบว่า

พ่อแม่หรือผู้ปกครองที่ดูแลเด็กแทนพ่อแม่ติดสารเสพติด 6 % หรือ 83 ครอบครัว
ในครัวเรือนที่ยากจนที่ปัจจุบันจะได้รับเงินอุดหนุนทารกแรกเกิด 600 บาทต่อเดือนนาน 6 ปีนั้น พ่อแม่จะเสพยามากกว่าครอบครัวไม่ยากจนถึง 2.4 เท่า
และ 60% ของครอบครัวยากจนที่เสพยาจะเลี้ยงดูลูกไม่เหมาะสม ทั้งการละเลยและ/หรือการใช้ความรุนแรงกับเด็ก

แต่ระบบข้อมูลการเสพยาและการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมของพ่อแม่ไม่มีการเชื่อมโยงบูรณาการกับข้อมูลเงินอุดหนุนทารกแรกเกิดเพื่อให้เกิดเงื่อนไขที่พ่อแม่ต้องรับการบำบัดฟื้นฟูรวมทั้งการฝึกเลี้ยงดูลูกให้เหมาะสม ทั้ง ๆ ที่ในปี 2566 ทั้งประเทศมีครอบครัวยากจนที่รัฐบาลต้องให้เงินอุดหนุนทารกแรกเกิด ถึง 2.58 ล้านคน ใช้งบประมาณ 16,321.18 ล้านบาท

คาดประมาณพ่อแม่ยากจนที่ใช้สารเสพติดและยังเป็นผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยอยู่ที่ 154,800 ครอบครัว และในจำนวนนี้ มีเด็กปฐมวัย 92,880 คนที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมโดยพ่อแม่ที่ยากจนและเสพยา

รัฐบาลใหม่หนุนEF-เลิกสารเสพติด

รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า ขอให้รัฐบาลใหม่ ให้ความสำคัญกับการลงทุนในการสร้างผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้มีความสามารถในการใช้เครื่องมือEF ในการป้องกันยาเสพติด เพื่อให้ครูปฐมวัยทำงานเข้าถึงเด็กที่เข้ามาในระบบและนอกระบบ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในครอบครัวมีความเสี่ยง ให้สามารถเข้าถึงบริการผ่านศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยทั้งที่ดูแลตั้งแต่อายุ 2 ปีขึ้นไปและต่ำกว่า 3 ปีลงมา

รวมถึงมีระบบเข้าถึงเฝ้าระวังครอบครัวที่มีความเสี่ยง และสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งการสร้างทัศนคติให้ยอมรับยาเสพติดเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีความสุ่มเสี่ยง ขอให้รับฐาลใหม่ทบทวนและยกเลิกนโยบายที่สนับสนุนสารเสพติดทุกประเภททั้งบุหรี่ไฟฟ้า กัญชาหรืออื่น ๆ

ผลกระทบกัญชาต่อทารก
ขณะที่ ศ.นพ.อภิชาติ จิตต์เจริญ รองผู้อำนวยการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผลของยาเสพติดต่อทารกในครรภ์ ถ้าหญิงตั้งครรภ์เสพเข้าไป ในกรณีเมทแอมเฟตามีน ทำให้เกิดผล คือ

-ทารกน้ำหนักตัวน้อย
-ทารกคลอดก่อนกำหนด
-มารดาเกิดครรภ์เป็นพิษ
-มารดามีภาวะซีด
-ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
-ทารกอุณหภูมิแรกคลอดต่ำ
-ทารกนอนรพ.นานขึ้น
ส่วนกรณีกัญชา ปัจจุบันหญิงตั้งครรภ์มีการสั่งซื้อมาใช้เอง ไม่ผ่านการสั่งใช้โดยแพทย์ จะทำให้เกิดผลอันตราย คือ

การตั้งครรภ์นอกมดลูก
ภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย
ใช้ร่วมกับการสูบบุหรี่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดได้
การพัฒนาสมองของทารกในครรภ์ไม่สมบูรณ์
และทารกเสี่ยงคลอดอาจมีปัญหาต่อการเรียนรู้และพฤติกรรมในอนาคต

ขณะนี้ม.มหิดลกำลังศึกษา เรื่อง ผลกระทบจากการใช้กัญชาในหญิงตั้งครรภ์ต่อทารก เนื่องจากมีรายงานผลการศึกษาในต่างประเทศพบว่าการที่เด็กได้รับกัญชาตั้งแต่ในครรภ์และในช่วงปฐมวัยมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักแรกเกิดต่ำ เส้นรอบวงศีรษะลดลง การขาดดุลทางความคิด (ความสนใจ การเรียนรู้และความจำ) การรบกวนในการตอบสนองทางอารมณ์ที่นำไปสู่ความก้าวร้าว ความหุนหันพลันแล่นสูง หรือความผิดปกติทางอารมณ์ และ ความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของการใช้สารเสพติดในอายุที่มากขึ้น

ในประเทศไทยกัญชาทำให้หญิงที่มีอายุน้อยที่อยู่ในช่วงภาวะการเจริญพันธุ์ อยู่ในเขตชนบทมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี มีการใช้เพิ่มมากขึ้นด้วย งานวิจัยได้เริ่มขึ้นแล้ว ผลคงได้หลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่แล้ว ซึ่งการวิจัยจะทำให้ทราบพฤติกรรมการใช้กัญชาในหญิงตั้งครรภ์และผลกระทบต่อทารกเป็นอย่างไรนั้น จะรีบชี้แจงกับสาธารณะและรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป

EF สร้างภูมิต้านทานยาเสพติด
ผศ. ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร อาจารย์สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล กล่าวว่า ผลการวิจัยในระยะ 10 ปีที่ผ่าน ชี้ชัดว่า การเสพติดเกี่ยวข้องกับทักษะสมอง EF หรือ Executive Functions EF ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานของสมองระดับสูงในการกำกับความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม ให้บรรลุสู่เป้าหมาย

โดยสาเหตุสำคัญของการติดยาเสพติดและการกลับมาใช้ยาเสพติดใหม่อีกครั้ง รวมถึงผลการรักษาที่ไม่ได้ผล เกิดจากระดับความสามารถของทักษะสมอง EF ซึ่งระดับทักษะสมอง EF ในช่วงวัยเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทักษะสมอง EF ด้านการยับยั้งชั่งใจ และ ทักษะสมอง EF ด้านการควบคุมอารมณ์ ยังสามารถทำนายการติดยาเสพติดเมื่อโตขึ้นได้

จากการที่สถาบันฯร่วมมือกับหลายหน่วยงานพัฒนา และศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะครูปฐมวัยต่อ ทักษะสมอง EF หรือ Executive Functions :EF ของเด็กปฐมวัย ในพื้นที่เป้าหมายมี 4 อำเภอ ใน 4 จังหวัด คือ เขตสวนหลวง จังหวัดกรุงเทพมหานคร อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี และอ.เมือง จ.ปัตตานี มีกลุ่มตัวอย่างครูปฐมวัย 4 พื้นที่ทั้งหมด จำนวน 345 คน และเด็กปฐมวัยจำนวน 1,363 คน

ผลการวิจัย พบว่า
มิติของครู คือ ครูสามารถจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่สามารถช่วยและส่งเสริมทักษะสมอง EF ได้ และเห็นคุณค่าในวิชาชีพครูปฐมวัยเพิ่มมากขึ้น
มิติของเด็กปฐมวัย คือ เด็กปฐมวัยมีความอดทนอดกลั้น มีความรับผิดชอบ จัดการชีวิตของตนเองได้ และมีความมั่นคงทางอารมณ์มากขึ้น

มิติครอบครัว คือ เกิดการลดใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว
และ มิติทางสังคม คือ เกิดเป็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน และ การเกิดนวัตกรรมในชุมชน เช่น IEF (Islamic Executive Function) ที่มีพื้นฐานจากหลักการทางศาสนาอิสลามในการพัฒนา EF ร่วมกับการส่งเสริมด้านการอ่าน

กระบวนการส่งเสริมสมรรถภาพครูในการส่งเสริมทักษะสมอง EF เด็กปฐมวัยในชั้นเรียน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการอบรมเลี้ยงดู และการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย กล่าวคือ ให้ความสำคัญกับการสร้างและรักษาตัวตนของเด็กมากขึ้น ลดการใช้ถ้อยคำรุนแรง และการทำร้ายร่างกายและจิตใจ เพิ่มความอบอุ่น ความมั่นคงปลอดภัยให้กับเด็กปฐมวัยมากขึ้น

รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวทาง EF Guideline ที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกฝนการใช้ทักษะสมอง EF มากขึ้น ซึ่งถือเป็นการเพิ่มปัจจัยป้องกัน และลดปัจจัยเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดของเด็กปฐมวัยในอนาคต

Source – bangkokbiznews.com
—————————————————————

... EF ยกเลิกนโยบายสนับสนุนบุหรี่ไฟฟ้า -กัญชา
ประมาณการ ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 1.9 ล้านคน เข้าบำบัดระบบสาธารณสุขเฉลี่ยปีละราว 2 แสนคน เป็นเด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 15ปี – 24 ปี ราว 54,000
https://www.bangkokbiznews.com/health/public-health/1067885

—————————————————————

วันที่ 11 พฤษภาคม 2566
“วอนพรรคการเมืองเลิกหนุนยาเสพติดทุกชนิด”
ที่สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยามหิดล ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) กระทรวงยุติธรรมแถลงข่าว “วอนรัฐบาลใหม่เร่งสร้างภูมิต้านทานตั้งแต่ปฐมวัยเติบโตไปไม่ใช้ยาเสพติด” น.ส.อารีภักดิ์ เงินบำรุง ผอ.สำนักพัฒนาการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดสำนักงาน ป.ป.ส.กล่าวว่า แต่ละปีมีผู้เข้ารับการบำบัดยาเสพติดเฉลี่ยปีละ 1-2 แสนคน เป็นกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปี คิดเป็น 1 ใน 4 ของผู้เข้ารับการบำบัดรักษา และส่วนใหญ่ใช้ยาเสพติดครั้งแรกเมื่ออายุ 15-19 ปี ขณะที่ รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวกล่าวว่าการใช้สารเสพติดของเด็กเยาวชนยังคงน่าห่วงใย โดยเฉพาะที่คลุมเครือว่าถูกหรือผิดกฎหมาย เช่น กัญชา บุหรี่ไฟฟ้า เราควรช่วยกันวิงวอนให้พรรคการเมืองทั้งหลายเลิกนโยบายสนับสนุนยาเสพติดทุกประเภท รวมทั้งกัญชาบุหรี่ไฟฟ้า และบ่อนเสรีศ.นพ.อภิชาติ จิตต์เจริญ รองผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล กล่าวว่า สถาบันได้ทำวิจัยเรื่อง “การพัฒนาสุขภาพและศักยภาพการเรียนรู้ตั้งแต่ปฐมวัยเพื่อเด็กทั้งมวล และนำสู่การขับเคลื่อนนโยบาย” หนึ่งในโครงการชุดนี้ได้ศึกษาเรื่องผลกระทบจากการใช้กัญชาในหญิงตั้งครรภ์ต่อทารก ซึ่งไทยพบหญิงช่วงวัยเจริญพันธุ์ อยู่ในเขตชนบทมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี มีการใช้กัญชาเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การวิจัยจะทำให้ทราบพฤติกรรมการใช้กัญชาในหญิงตั้งครรภ์และผลกระทบต่อทารกเมื่อผลวิจัยออกมาจะนำเสนอรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป.

ที่มา: นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 11 พ.ค. 2566
เพิ่มเติม
https://siamrath.co.th/n/445834
https://www.thairath.co.th/news/local/2692940
—————————————————————

กลับสู่หน้าหลัก