Select Page

การป้องกันและรับมือความรุนแรงในโรงเรียน

โดย ผศ.พญ. แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ

รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการคลินิกและศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

เรื่อง/สัมภาษณ์: ธาม เชื้อสถาปนศิริ

ถอดเทป/เรียบเรียง: ธีรารัตน์ สองเมือง

วันที่ 29 กันยายน 2563

 

Q: ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่มีอะไรบ้าง

A: ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ก็จะเป็นความรุนแรงทางด้านร่างกาย เช่น การตี การหยิก หรือ การชุดกระชาก เป็นต้น ซึ่งเป็นการกระทำความรุนแรงที่คุณครูทำร้ายเด็กโดยบางครั้งคุณครูอาจจะทำไปโดยไม่ได้ตั้งใจหรือใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง นอกจากจะมีความรุนแรงทางด้านร่างกายแล้วความรุนแรงอีกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยก็คือความรุนแรงทางด้านจิตใจ ความรุนแรงประเภทนี้จะเจอได้บ่อยและเป็นสิ่งที่แอบแฝงอยู่เยอะมากเช่นกัน เช่น การที่คุณครูใช้คำพูดที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก เช่น เธอมันโง่ เรียนไม่ได้เรื่อง หรือคำพูดเชิงลบอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งคำพูดเชิงลบเหล่านี้จะฝังลึกอยู่ในจิตใจองเด็ก เมื่อเด็กอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เด็กถูกทำร้ายทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างต่อเนื่องยาวนานก็จะมีผลกระบทต่อตัวเด็กทั้งในเรื่องของสมอง ระบบร่างกาย หรือพฤติกรรมเชิงลบที่เด็กแสดงออก เป็นต้น

 

Q: จากประสบการณ์ที่คุณหมอได้ดูแลศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยของมหิดลเองหรือคุณหมอเป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิด้วย ส่วนใหญ่จะพบความรุนแรงประเภทไหนบ่อยที่สุด

A: ความรุนแรงที่เจอบ่อยสุดก็จะเป็นความรุนแรงทางด้านร่างกาย การถูกทำร้ายโดยคุณครู โดยที่คุณครูบางคนอาจจะมีประวัติที่ไม่ดีมากก่อนหรือมีปัญหาในเรื่องส่วนตัวสิ่งเหล่านี้ทำให้คุณครูเกิดความเครียดและเมื่อมาปฏิบัติหน้าที่ก็เลยไปทำร้ายเด็กหรือไปลงกับเด็ก

Q: เมื่อเกิดเหตุการณ์เด็กถูกทำร้ายไม่ว่าจะเป็นจากที่บ้านหรือที่โรงเรียนทางศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยมีวิธีการบริหารจัดการเรื่องนี้อย่างไร

A: จริงๆ หน้าที่ของทุกคนที่ทำงานร่วมกับเด็กต้องสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเด็ก ซึ่งตามธรรมชาติของเด็ก เด็กจะสดใจ ร่างเริง ยิ้มแย้ม แต่ถ้าวันไหนที่เด็กดูไม่สดใส ไม่ยิ้ม และเป็นต่อเนื่องยาวนานหรือมีร่องรอยบาดแผลบาดเจ็บตามร่างกาย และเราจะต้องพูดคุยหรือลองสอบถามซึ่งบางทีมันอาจจะมีประเด็นจากอะไรได้บ้าง

 

Q: มาตรฐานในการรับครูประจำชั้นหรือครูพี่เลี้ยงจำเป็นต้องมีอะไรบ้าง

A: ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติในการรับสมัครครูประจำชั้น ครูที่รับสมัครเข้ามาจะต้องเป็นครูปฐมวัยเป็นคุณครูที่จบมาทางด้านปฐมวัยโดยตรงที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องของการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การจัดการเรียนการสอน ไม่ว่าอย่างไรก็ตามทางโรงเรียนหรือทางศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยก็จะต้องมีครูพี่เลี้ยงอยู่ด้วยเพราะครูพี่เลี้ยงจะช่วยดูแลในเรื่องของการนอน การกิน การทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียน ซึ่งการเปิดรับสมัครครูพี่เลี้ยงบางครั้งก็จะเจอกับความยากอยู่บ้าง ซึ่งครูพี่เลี้ยงก็จะต้องเป็นคนที่มีคุณวุฒิในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปวช. ปวส. ขึ้นไป และที่สำคัญคือเขาต้องมีประสบการณ์มาก่อน เคยทำงานกับเด็กมาก่อน และที่สำคัญที่สุดต้องไม่เคยมีประวัติทางอาชญากรรม การทำร้ายเด็ก และนอกจากนี้ตอนสัมภาษณ์ผู้สัมภาษณ์ก็ต้องคอยสังเกตพฤติกรรมภาพรวม ดูการตอบคำถาม และพื้นหลังของครอบครัว เป็นต้น

 

Q: การที่คุณครูที่อยู่ห้องเดียวกันไม่ได้ห้ามหรือช่วยเหลือเด็กที่โดยทำร้ายแบบนี้คุณหมอจะวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง

A: อันดับแรกไม่ว่าคุณครูจะเครียดหรือเจอปัญหาต่างๆ หรือเด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่น่าพอใจคุณครูก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้ความรุนแรงกับเด็ก คุณครูต้องมีจรรยาบรรณของความเป็นครูในการที่จะดูแลเด็ก นอกจากคุณครูจะต้องมีจรรยาบรรณแล้ว ทางโรงเรียนก็ต้องมีระบบที่ดี เช่น ผู้บริหารมีระบบในการดูแลคุณครูในแต่ละห้อง สวัสดิการดีเพียงพอหรือไม่ ตลอดจนต้องมีการประชุมสื่อสารพูดคุยกันบ่อยๆ เพื่อรับรู้ว่าตอนนี้มันมีปัญหาตรงไหนหรือไม่อย่างไร เพื่อที่ทางโรงเรียนจะได้ช่วยเหลือคุณครูได้อย่างถูกต้องและตรงจุด ดังนั้นวิธีการป้องกันคุณครูทำร้ายเด็กโดยคุณครูจะต้องมีจรรยาบรรณในการดูแลเด็กและโรงเรียนต้องมีระบบที่ดีในการดูแลคุณครู

 

Q: เมื่อสังเกตว่าลูกมีบาดแผลหลังกลับจากโรงเรียนพ่อแม่ควรร้องเรียนไปยังโรงเรียนอย่างไร

A: การที่พ่อแม่จะเลือกโรงเรียนให้ลูก พ่อแม่จะต้องดูในเรื่องของระบบการบริหารจัดการของโรงเรียนนั้นๆ ให้ดี ตลอดจนต้องมีความมั่นใจในตัวคุณครู ถ้าพื้นฐานของพ่อแม่มีความมั่นใจทั้งต่อโรงเรียนและต่อคุณครูแล้วไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นเล็กๆ น้อยๆ อย่างแรกที่หมอแนะนำคือให้พูดคุยกันก่อนระหว่างพ่อแม่และพ่อแม่ของเพื่อนลูกที่เรียนอยู่ห้องเดียวกันว่าเจอเหตุการณ์แบบเดียวกันหรือไม่ และถ้าพ่อแม่คนอื่นก็เจอเหตุการณ์เหมือนกันและเกิดขึ้นบ่อยๆ อันนี้ก็จะต้องเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ที่จะต้องสอบถามเพิ่มเติมกับคุณครู เมื่อสอบถามกับคุณครูแล้วและได้รับคำตอบที่ไม่น่าเชื่อถือ พ่อแม่ก็อาจจะต้องร้องเรียนไปยังผู้บริหารและเข้าสู่กระบวนการการร้องเรียนที่เป็นขั้นเป็นตอนต่อไป แต่ทว่าในเบื้องต้นอยากให้เน้นการสื่อสารกับผู้ปกครองและคุณครูก่อน

 

Q: คุณหมอมีวิธีแนะนำผู้ปกครองในการพูดคุยกับลูกเรื่องความรุนแรงหรือบาดแผลที่ได้รับมาจากโรงเรียนอย่างไรบ้าง

A: การจะถามหรือพูดคุยกับเด็กอนุบาลเรื่องความรุนแรงเป็นเรื่องที่ยากมาก ในเบื้องต้นถ้าพ่อแม่มีเวลาให้กับลูกหรือเล่นกับลูกทุกวันแล้วเมื่อเราชวนลูกคุยแล้วลูกเล่าเรื่องโน้นเรื่องนี้ให้ฟัง ก็แสดงว่าลูกมีพื้นฐานในการไว้ใจพ่อแม่และอยากพูดคุยกับเรา เมื่อเราสังเกตเห็นลูกกลับมาจากโรงเรียนทุกวันและมีรอยบาดแผลและเราก็รู้ว่ารอยแผลพวกนั้นไม่ใช่จากเพื่อนแน่นอน เราก็ลองชวนลูกคุยโดยใช้คำถามปลายเปิด เป็นคำถามง่ายๆ เช่น ลูกไปโดนอะไรมาหรอไหนเล่าให้แม่ฟังหน่อย ถ้าลูกคุยเก่งอยู่แล้วลูกก็จะเล่าให้พ่อแม่ฟัง และถ้าเขาไว้วางใจเราถึงแม้คุณครูจะบอกว่าห้ามบอกพ่อกับแม่นะ ลูกก็จะบอกเราอย่างแน่นอน ที่สำคัญที่สุดคือพ่อแม่จะต้องมีสัมพันธภาพที่ดีกับลูกมาโดยตลอดลูกจะเล่าในทุกๆ เรื่องที่เขาเจอให้เราฟัง ส่วนหนึ่งเราฟังจากลูก อีกส่วนหนึ่งเราหาหลักฐานเพิ่มเติมโดยการพูดคุยสอบถามกับผู้ปกครองท่านอื่นๆ ที่ลูกเขาเรียนอยู่ห้องเดียวกับลูกเราว่าลูกเขาเป็นเหมือนกันไหม

 

Q: อยากให้คุณหมอแนะนำวิธีที่จะให้คุณพ่อคุณแม่ใช้รับมือกับความรุนแรงที่เกิดจากที่โรงเรียนได้อย่างไรบ้างค่ะ

A: คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความไว้วางใจต่อโรงเรียนและต่อคุณครู เพราะการอยู่ด้วยกันความไว้วางใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเราไว้วางใจแล้วและถ้ามีอะไรเกิดขึ้นเราควรเน้นการสื่อสารพูดคุยและดูแลลูกของเราให้ดี ซึ่งหน้าที่ของพ่อแม่คือการปกป้องลูกของเราโดยการหาโรงเรียนที่เหมาะสมกับลูก