Select Page

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก หลักสูตรไทย

ปรัชญา ความสำคัญของหลักสูตร

มุ่งเน้นบูรณาการความรู้ในศาสตร์ด้านการสร้างนวัตกรรม การออกแบบความคิด วิทยาศาสตร์ พัฒนาการมนุษย์ วิทยาศาสตร์การแพทย์และสุขภาพ นิเวศวิทยา เพื่อให้มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษานำความรู้เชิงบูรณาการดังกล่าวไปประยุกต์ในการออกแบบเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก ให้เติบโตเป็นพลเมืองโลกที่มีศักยภาพ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว  มหาบัณฑิตจะมีคุณลักษณะตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้

๑.๒.๑ มีคุณธรรม จริยธรรมตามมาตรฐานจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก

๑.๒.๒ มีความรู้และความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก ตลอดจนสามารถเรียนรู้และติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้ด้วยตนเอง

๑.๒.๓ มีทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ผลงานวิจัย และออกแบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก ตลอดจนสามารถดำเนินกระบวนการวิจัยได้อย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัย

๑.๒.๔ มีภาวะผู้นำ ทักษะการทำงานเป็นทีม มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

๑.๒.๕ มีความสามารถในใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง สื่อสารและนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

๑.๓.๑  มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพในการออกแบบเทคโนโลยีและสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก

๑.๓.๒ มีองค์ความรู้และความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ด้านการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก ตลอดจนเทคโนโลยีในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

๑.๓.๓ สามารถประยุกต์และบูรณาการองค์ความรู้ เพื่อออกแบบผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก

๑.๓.๔ มีภาวะผู้นำ สามารถทำงานเป็นทีมร่วมกับสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก       ๑.๓.๕ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็กอย่างมีประสิทธิภาพ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  •  นวัตกรด้านการพัฒนาเด็กและคุ้มครองเด็ก
  •  นักวิจัยด้านการพัฒนาเด็กและคุ้มครองเด็ก
  •  นักออกแบบ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก
  •  ผู้ให้บริการหรือผู้ทำงานด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก
  •  บุคคลทั่วไปที่ทำหน้าที่ดูแลเด็กในครัวเรือน หรือ ชุมชน หรือองค์กร

รายละเอียดหลักสูตร

  • เรียน 3 วันต่อสัปดาห์
  • วันธรรมดา 9.00 – 16.00 น.
  • วันเสาร์ อาทิตย์ 9.00 – 16.00 น.
  • ระยะเวลาเรียนตลอดหลักสูตรประมาณ 2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

  • ภาคปกติ ค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายเทอมละ ประมาณ 30,000 บาท
  • ภาคพิเศษ ค่าธรรมเนียมเหมาจ่ายเทอมละ ประมาณ 35,000 บาท

***ตารางเรียนอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมในแต่ละเทอม

  ดาว์นโหลดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก (หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ก แบบ ก ๒
๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จิตวิทยา สังคมศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารและพัฒนา สถาปัตยกรรม แพทยศาสตร์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับรอง
๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
๔) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในแผน ข
๑) สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จิตวิทยา สังคมศาสตร์ สังคมสงเคราะห์ มนุษยศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ นิเทศศาสตร์ เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารและพัฒนา สถาปัตยกรรม แพทยศาสตร์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจากสถาบันอุดมศึกษาที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับรอง
๒) ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า ๒.๕๐
๓) มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
๔) มีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวกับด้านพัฒนาและคุ้มครองเด็กอย่างน้อย ๑ ปี
๕) ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษา ตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

 

โครงสร้างหลักสูตร จัดการศึกษาตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๘ หลักสูตรปริญญาโท แผน ก แบบ ก ๒ และแผน ข ดังนี้

  แผน ก แบบ ก ๒ แผน ข
(๑)  หมวดวิชาบังคับ      ๑๘  หน่วยกิต ๑๘  หน่วยกิต
(๒)  หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า ๖   หน่วยกิต ๑๒  หน่วยกิต
(๓)  วิทยานิพนธ์ ๑๒  หน่วยกิต -
(๔)  สารนิพนธ์ -         ๖   หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า ๓๖  หน่วยกิต ๓๖  หน่วยกิต

 

วิชาบังคับ       

ภาคผนวก ก คำอธิบายรายวิชา

ดคทน ๕๑๑ สิทธิเด็กและการคุ้มครองในโลกของการเปลี่ยนแปลง                          ๓(๓-๐-๖)
  พลวัตของโลกและผลกระทบต่อเด็กและครอบครัวเป้าหมาย การพัฒนาที่ยั่งยืนและสิทธิเด็ก กฎหมาย การวิเคราะห์สุขภาวะการเจ็บป่วยและการตายของเด็ก ความไม่เสมอภาคและความยากจน เด็กและครอบครัวในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจและภัยพิบัติ การละเลยและการทารุณกรรมเด็ก สิทธิเด็กในโลกดิจิตอล การคุ้มครองเด็กในประเทศไทยเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว นวัตกรรมของการพัฒนาและการคุ้มครองเด็กจากครรภ์มารดาสู่วัยรุ่น นวัตกรรมพื้นที่เด็ก กฎหมายคุ้มครองและการพัฒนา เทคโนโลยีในอนาคตกับการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก
ดดทน ๕๑๒ ประสาทวิทยาศาสตร์พัฒนาการเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก            ๓(๓-๐-๖)
  ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงบวกสำหรับการพัฒนาแบบองค์รวมของ สมอง  จิตใจ  ร่างกาย  บุคลิกภาพ  พฤติกรรม ประสาทวิทยาศาสตร์ของความสุข สติ ความเห็นอกเห็นใจ คุณธรรมจริยธรรม ความเพียรและความยืดหยุ่น ประสาทวิทยาศาสตร์การศึกษาเพื่อเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ประสาทวิทยาศาสตร์ของความสมดุลย์ระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตครอบครัว ความสัมพันธ์ของสมองและดนตรี สถาปัตยกรรมสมองและความเครียดที่เป็นพิษ ผลกระทบตลอดชีวิตที่เกิดจากประสบการณ์วัยเด็กที่ไม่พึงประสงค์ กระบวนการเหนือพันธุกรรม การสร้างสมองที่ยืดหยุ่นและพัฒนาเด็กให้มีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนรูป การสร้างสภาพแวดล้อมและชุมชนที่สนับสนุน
ดคทน ๕๑๓ การพัฒนาเด็กและการแทรกแซงในมิติเชิงนิเวศ                               ๓(๓-๐-๖)
  ปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ภูมิทัศน์การดูแลและการศึกษาของเด็ก แนวทางเชิงนิเวศในการประเมินเด็กและครอบครัว การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปกติและเด็กที่มีความต้องการพิเศษ การจัดการดูแลและการศึกษาเพื่อเด็กทุกคน การจัดการดูแลและการศึกษาแก่เด็กที่มีบาดแผลทางใจ การพัฒนาผู้ดูแลเด็กในครอบครัวและชุมชนตามมาตราฐานจรรยาบรรณทางวิชาชีพ 
ดคทน ๕๑๔ นวัตกรรมและการคิดเชิงออกแบบเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก
  แนวคิดและแนวปฏิบัติในการคิดเชิงออกแบบ รากฐานการคิดเชิงออกแบบ ภาพรวมของการออกแบบ แหล่งกําเนิดของการคิดเชิงออกแบบ กระบวนการทางความคิดของการคิดเชิงออกแบบ   กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ การสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง การนิยามปัญหา การระดมความคิด การสร้างต้นแบบ การทดสอบ การนําการคิดเชิงออกแบบไปใช้ สภาพแวดล้อมของการคิดเชิงออกแบบ การคิดเชิงออกแบบสำหรับการบริการ กระบวนการ และผลิตภัณฑ์ การศึกษาพฤติกรรมการคิดของตนเอง การออกแบบเพื่อการมีปฏิสัมพันธ์ ความสามารถในการสร้างความพึงพอใจ ความคิดเชิงออกแบบสำหรับการสร้างนวัตกรรม  รูปแบบการคิดเชิงออกแบบที่เป็นไปได้อย่างยั่งยืน การคิดเชิงออกแบบที่นำไปสู่การปฏิบัติและการขับเคลื่อนสังคมโดยคำนึงถึงคุณธรรมและจริยธรรม         
ดคทน ๕๑๕ วิทยาระเบียบวิธีวิจัยเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก              ๒(๒-๐-๔)
 

วิทยาระเบียบวิธีวิจัย คำถามการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม กรอบแนวคิดในการวิจัย สมมติฐานการวิจัย ตัวอย่างและการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปรและระดับการวัด รูปแบบการวิจัย การรวบรวมและจัดกระทำข้อมูล การเลือกสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนโครงการวิจัยและรายงานวิจัย จริยธรรมในการวิจัยด้านการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก

ดคทน ๕๑๖ สัมมนาเกี่ยวกับนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก
  คัดสรรประเด็นสำคัญ บทความวิชาการ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม กิจกรรม โครงการ นโยบายสาธารณะและข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก การใช้เครื่องมือ กระบวนการวิพากษ์และถอดบทเรียนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก   การนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประเมินผล
ดคทน ๕๑๗ ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม                                                         ๓(๑-๔-๔)
  ห้องปฏิบัติการนวัตกรรมเพื่อการศึกษา วิจัย ทดลอง ปรับปรุง แสวงหาวิธีการใหม่โดยบูรณาการความรู้ทางการแพทย์ พัฒนาการมนุษย์ วิทยาศาสตร์ ระบบนิเวศ สังคมศาสตร์ การจัดการ และเทคโนโลยี ศึกษากรณีตัวอย่าง เพื่อการออกแบบและสร้างนวัตกรรมด้านการดูแลและการคุ้มครองเด็ก ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ นวัตกรรมบริการ นวัตกรรมการส่งมอบบริการ นวัตกรรมการบริการ นวัตกรรมทางทางความคิด นวัตกรรมเชิงระบบ นวัตกรรมเชิงนโยบาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้ใช้นวัตกรรม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและแหล่งทุนในห้องปฏิบัติการ การทดลองภาคปฏิบัติในห้องปฏิบัติการโดยใช้เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ และเทคโนโลยี การทดลองภาคปฏิบัติในพื้นที่ร่วมกับภาคีวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมที่เหมาะสม ปลอดภัย เป็นประโยชน์ต่อเด็กและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
วิชาเลือก  
ดคทน ๕๓๑ การรู้ทางดิจิทัลสารสนเทศเพื่อการคุ้มครองเด็ก                       ๒(๒-๐-๔)
  แนวคิดเรื่องสื่อกับเด็กในด้านการใช้สื่อ ผลกระทบด้านพฤติกรรมและค่านิยมที่ส่งผลต่อพัฒนาการ เด็กกับความรุนแรงในสื่อ เด็กกับสื่อออนไลน์ เกมและการแข่งขันวิดีโอเกมในเด็ก พฤติกรรมเสพติดสื่อและเทคโนโลยี วิธีการและกระบวนการเรียนรู้ของเด็กจากสื่อ สัญวิทยาในสื่อและวิธีการประกอบสร้างความหมาย วัฒนธรรมสื่อนิยม แนวคิดและทฤษฏีการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศ การส่งเสริมความเป็นพลเมืองรู้เท่าทันสื่อในศตวรรษที่ ๒๑ บทเรียนและประสบการณ์ของคนทำงานด้านการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อ การส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในสถานศึกษากับพ่อแม่ และผู้ปฏิบัติงานด้านการปกป้องคุ้มครองเด็ก นโยบายรัฐและต่างประเทศด้านการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อในเด็ก บทบาทสังคมในการส่งเสริมสนับสนุนการรู้เท่าทันสื่อ งานวิจัยในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อ
ดคทน ๕๓๒ การพัฒนาการที่ยั่งยืนและประเด็นทางสังคมเพื่อการเยียวยาเด็ก       ๒(๒-๐-๔)
  แนวคิด “เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษในการพัฒนาเด็ก” ปัญหาเด็กในศตวรรษที่ ๒๑ ปัจจัยสภาพแวดล้อมปัญหาของเด็ก ความยากจน การศึกษา วัฒนธรรม การเมือง สาธารณสุขและเทคโนโลยี การพัฒนาและวาทกรรมการพัฒนาเด็กในศตวรรษที่ ๒๑ การปกป้องคุ้มครองเด็กและการเยียวยาเด็กกลับคืนสู่สังคม รูปแบบของเด็กที่ถูกกระทำทอดทิ้งผลักออกจากสังคม กระบวนการเยียวยาเด็กสู่สังคม เด็กในวัฒนธรรมชายขอบ เด็กในกระบวนการยุติธรรม เด็กในความรุนแรงทางการเมืองและสังคม การออกแบบกระบวนการเยียวยาเด็กกลับคืนสู่สังคมปกติ
ดคทน ๕๓๓ กฎหมายเพื่อการคุ้มครองสิทธิเด็ก                                               ๒(๒-๐-๔)
  แนวคิดของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็ก หลักการปกป้องคุ้มครองสิทธิเด็กสากล พัฒนาการของกฎหมายปกป้องคุ้มครองเด็ก สิทธิเด็กในโลกสมัยใหม่ (สิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมือง การเล่น การสื่อสาร) ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ สิทธิเด็กในสื่อ สิทธิเด็กในกระบวนการยุติธรรม กฎหมายเด็กกับสื่อออนไลน์ เด็กกับอาชญากรรม กฎหมายเด็กกับคดีความรุนแรงในครอบครัว การพัฒนาประเด็นกฎหมายเด็กในศตวรรษที่ ๒๑ นโยบายและข้อตกลงทางกฎหมายในประเทศอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองเด็ก คุก สถานพินิจและบ้านพักเด็กในกระบวนการยุติธรรม ผลกระทบต่อเด็กในกระบวนการยุติธรรม ขั้นตอนและวิธีการของเด็กในกระบวนการยุติธรรม บทบาทสังคมกับการปกป้องพิทักษ์สิทธิเด็ก ประเด็นขัดแย้งทางกฎหมายระหว่างสิทธิเด็กกับหลักการคุ้มครองเด็ก
ดคทน ๕๓๔ ไบโอเซนเซอร์สำหรับการดูแลและการคุ้มครองเด็ก                           ๒(๑-๒-๔)
  บูรณาการองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ นิติศาสตร์ และเทคโนโลยี ทักษะ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ในการคิดค้น ศึกษา แสวงหาวิธีการใหม่ในการตรวจวิเคราะห์หรือตรวจติดตามสารชีวภาพที่แสดงถึงภาวะสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็กตามเวลาจริง เทคโนโลยีไบโอเซนเซอร์และการวัดปริมาณการเปลี่ยนแปลงจากสารชีวภาพโดยตรง เทคโนโลยีไบโอเซนเซอร์ที่ติดตามปฏิกิริยาของสารชีวภาพทางอ้อม การแปลสัญญาณจากปฏิกริยาชีวภาพในเด็ก
คดทน ๕๓๕ การจัดการความรู้                                                                 ๒(๒-๐-๔)
  ความหมาย ความสำคัญ แนวคิด ทฤษฎีการจัดการความรู้ กระบวนการ วิธีการจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมท้องถิ่น กับการจัดการความรู้ ครอบครัว โรงเรียน และชุมชนกับการจัดการความรู้ ภาครัฐและภาคเอกชนกับการจัดการความรู้ การฝึกปฏิบัติในงานการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนามนุษย์
ดคทน ๕๓๖ นวัตกรรมในการเรียนรู้                                                          ๒(๒-๐-๔)
  ทฤษฎีการเรียนรู้จากงานวิจัยเชิงพฤติกรรม และงานวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีแรงจูงใจและบุคลิกภาพ กลยุทธ์การเรียนรู้หลายๆประเภทที่แตกต่างกันเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ ๒๑  การเรียนรู้เชิงปฏิสัมพันธ์ กระบวนการเรียนรู้แบบกลุ่ม การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้แบบปัจเจกบุคคล การเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์เป็นฐาน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวิจัยและวิธีการเรียนรู้และพัฒนาความรู้ที่จำเป็น การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร การแก้ปัญหาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการสื่อสาร การสร้างแรงจูงใจผู้เรียนในสถานการณ์ที่แตกต่างกันและความแตกต่างระหว่างผู้เรียน การบูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศในกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑
ดคทน ๕๓๗ การพัฒนาทักษะความคิด                                                        ๒(๒-๐-๔)
  ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ ระดับของการคิด รูปแบบของการคิด การประยุกต์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหา การคิดนอกกรอบ การคิดอย่างเป็นระบบ แนวคิดและเครื่องมือที่เป็นพื้นฐานของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประเภทข้อโต้แย้ง การเข้าใจผิดและอคติที่มีอิทธิพลต่อการคิดเชิงวิพากษ์ เทคนิคการวิเคราะห์และประเมินข้อโต้แย้ง การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างสรรค์เกี่ยวกับปัญหาในที่ทำงาน การศึกษาพฤติกรรมการคิดของตนเอง การสร้างสมมติฐานและสร้างอคติที่มีผลต่อการคิด ความสามารถในการคิดอย่างมี วิจารณญาณและสร้างสรรค์เมื่อเผชิญกับข้อมูลที่คลุมเครือข้อมูลที่ขัดแย้งกัน ความสามารถในกระบวนการตัดสินใจของตนเองและผู้อื่นเพื่อนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า
ดคทน ๕๓๘ การสนับสนุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว                     ๒(๒-๐-๔)
  ความหมายของการขับเคลื่อนสังคม ทักษะพื้นฐานการขับเคลื่อนสังคม การพัฒนานโยบายเพื่อเด็กและครอบครัว ภาคีเครือข่ายเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว พลังการสื่อสารสาธารณะ การตลาดและธุรกิจเพื่อสังคม ความยากจนและความเหลื่อมล้ำกับการพัฒนาเด็กและครอบครัว การมีส่วนร่วมของเด็กและครอบครัวในการขับเคลื่อนสังคม การขับเคลื่อนสังคมเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงดูด้วยนมแม่ การขับเคลื่อนสังคมเพื่อปกป้องผลกระทบของบุหรี่ต่อสุขภาพเด็กและครอบครัว การขับเคลื่อนสังคมเพื่อปกป้องผลกระทบต่อสุขภาพเด็กจากการชกมวยไทย การขับเคลื่อนสังคมเพื่อปกป้องผลกระทบต่อสุขภาพเด็กจากกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ การขับเคลื่อนสังคมเพื่อควบคุมการขับขี่ก่อนวัย การประเมินผลลัพธ์ของโครงการขับเคลื่อนสังคม นวัตกรรมกับการขับเคลื่อนสังคมเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ดคทน ๕๓๙ การประเมินหน้าที่เชิงการรับรู้เพื่อการออกแบบการวิจัยและการแทรกแซงเด็ก    ๒(๑-๒-๓)
  การประเมินทักษะสมอง สติปัญญา การเรียนรู้ การประเมินด้านประสาทจิตวิทยา การประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารของสมอง การประเมินพัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และพฤติกรรม ทักษะการสัมภาษณ์ การสังเกต การทดสอบ การใช้เครื่องมือประเมินและการประยุกต์ผลการประเมินเพื่อวางแผนและออกแบบโปรแกรมหรือกิจกรรมส่งเสริมการส่งเสริมทักษะสมอง สติปัญญา การเรียนรู้  การออกแบบการวิจัยเพื่อส่งเสริมพัฒนาการสติปัญญาและการเรียนรู้ของเด็ก
ดคทน ๕๔๐ การเรียนรู้โดยนักปฏิบัติการการเล่น                                             ๒(๒-๐-๔)
  วิทยาศาสตร์ระบบประสาทกับการเล่นของเด็ก พัฒนาการด้านอารมณ์ สังคม และการเล่นตามวัยของเด็ก การเล่นเพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาทักษะชีวิตและการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและครอบครัว ของเล่นตามวัยของเด็กและความปลอดภัย การละเล่นแบบไทยกับการพัฒนาเด็ก นวัตกรรมพื้นที่เด็ก:พิพิธภัณฑ์เด็ก เครื่องเล่นสนาม สวนสนุกและแหล่งการเล่นอื่นๆ ในชุมชน ความเสี่ยงในการเล่นและการป้องกัน การวางแผนจัดการเล่น ฝึกปฏิบัติการเล่านิทานสำหรับทารกและเด็กปฐมวัย ฝึกปฏิบัติการเล่นเพื่อการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษา ฝึกปฏิบัติการใช้งานศิลปะเพื่อการเล่น ฝึกปฏิบัติการใช้ดนตรีเพื่อการเล่น ฝึกปฏิบัติการเล่นเพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางกาย เด็กพิเศษ-เด็กพิการกับการเล่น การวินิจฉัยและบำบัดพัฒนาการผิดปกติของเด็กจากการเล่น
ดคทน ๕๔๑ ความล่าช้าทางพัฒนาการและความพิการ                                      ๒(๒-๐-๔)
 

การเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาพัฒนาการล่าช้าในเด็กและผู้มีปัญหาพัฒนาการในวัยเด็ก การค้นพบ สัญญาณเตือนภัยในช่วงต้นพัฒนาการ  การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพสำหรับครอบครัวและผู้ปฏิบัติงานด้านการดูแลเด็ก ปัจจัยเสี่ยง วิธีการคัดกรองและประเมินผล การบ่งชี้ภาวะปัญหาพัฒนาการ ภาวะออทิสติก ภาวะปัญหาพัฒนาการทางร่างกาย ความผิดปกติของโครโมโซม พัฒนาการล่าช้าทุกด้าน ประสบการณ์ของพ่อแม่ ปัจจัยป้องกัน และ การปรับตัวของแต่ละบุคคล ปัจจัยทางด้านสังคมวัฒนธรรม  การศึกษาแง่มุมของภูมินิเวศที่ส่งผลกระทบต่อสภาวะปัญหาทางพัฒนาการในเด็กแต่ละคนในระดับครอบครัว ชุมชน สังคม ทัศนะของสังคมที่มีต่อผู้มีปัญหาพัฒนาการ วิธีคิดมุมมองทางการแพทย์ การสะท้อนแนวคิดจากครอบครัวและบุคลากรวิชาชีพ

ดคทน ๕๔๒ นักปฏิบัติการส่งเสริมครอบครัว                                                  ๒(๒-๐-๔)
  โลกาภิวัตน์กับสถานการณ์สภาวะครอบครัว วิทยาศาสตร์ระบบประสาทกับความสัมพันธ์ครอบครัว วิทยาศาสตร์ความสุขและสุขภาวะ ประเภทของครอบครัวและครอบครัวสุขภาพดี ความท้าทายในการสร้างความสัมพันธ์ในการทำงานกับครอบครัว การปกป้องครอบครัวโดยให้เด็กเป็นศูนย์กลาง  การประเมินความต้องการและให้ความช่วยเหลือ เด็กในครอบครัวที่มีปัญหาสุขภาพจิต การประเมินความเสี่ยงและการแทรกแซง เด็กในครอบครัวที่มีปัญหาสารเสพติด การประเมินความเสี่ยงและการแทรกแซง ความรุนแรงในครอบครัว  เด็กกับการแยกทางหย่าร้างของผู้ปกครอง ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวแหว่งกลาง  การประเมินความเสี่ยงและการแทรกแซง การสัมภาษณ์เด็กและการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินความต้องการและให้ความช่วยเหลือ กฎหมาย บทบัญญัติ และเครือข่ายสนับสนุนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานครอบครัว การสรุปบทบาทของผู้ส่งเสริมครอบครัวระดับชุมชน
ดคทน ๕๔๓ ผู้จัดการความปลอดภัยและคุ้มครองเด็ก                                         ๒(๒-๐-๔)
  วิทยาศาสตร์ความปลอดภัยในเด็ก สถานการณ์ความปลอดภัยในเด็กในประเทศไทยและทั่วโลก การพิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กและกรณีตัวอย่างการละเมิดสิทธิเด็ก ระบบการคุ้มครองเด็กระดับท้องถิ่น ระบบฐานข้อมูลสถานการณ์เด็กในระดับชุมชนและการวิเคราะห์ ความรู้เบื้องต้นด้านการคุ้มครองเด็กสำหรับบุคคลทั่วไป ความรู้เบื้องต้นด้านการคุ้มครองเด็กสำหรับนักปฏิบัติการ นวัตกรรมการประเมินเด็กและครอบครัว การสัมภาษณ์เด็กและครอบครัว การวางแผนการพัฒนาและคุ้มครองเด็กรายบุคคล  การเยี่ยมบ้านกลุ่มเด็กเสี่ยง ปฏิบัติการคุ้มครองและฟื้นฟูเด็กในสถานคุ้มครองเด็ก  การดูแลเด็กพิการและเด็กพิเศษในระดับชุมชน ระบบการดูแลเด็กที่กระทำผิดในระดับชุมชน การส่งเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการคุ้มครองเด็กระดับชุมชน
ดคทน ๕๔๔ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและสังคมเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว         ๒(๒-๐-๔)
  แนวคิดของนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ทฤษฎีนวัตกรรมกับพฤติกรรมมนุษย์ วิวัฒนาการเทคโนโลยีที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ผลกระทบทางสังคมต่อเด็กและครอบครัวที่เกิดจากเทคโนโลยี พฤติกรรมและโรคอันเกิดจากเทคโนโลยี บทบาทของพ่อแม่ในการยอมรับเทคโนโลยีมาใช้กับลูก การส่งเสริมทักษะพ่อแม่ในการรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยี ความเป็นกลางและอคติของเทคโนโลยี การสร้างสรรค์และผลิตเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับเด็กและครอบครัว การบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาการเด็กและครอบครัวสำหรับผู้ประกอบการเด็ก ตระหนักเท่าทันอาชญากรรมและภัยที่เกิดจากเทคโนโลยีที่ใช้กับเด็ก การพัฒนาแนวคิดเรื่องความมั่นคงและปลอดภัยสำหรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ดคทน ๕๔๕ การออกแบบชีวิตเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก                             ๒(๒-๐-๔)
  ปรัชญาและความหมายของชีวิต แนวคิดการออกแบบชีวิตเด็ก ปัญหาชีวิตของเด็กในโลกปัจจุบัน เศรษฐศาสตร์และต้นทุนชีวิตของเด็กเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก ครอบครัวและสังคมของเด็ก ชีวิตของเด็กในภาะความผันผวน สมองและภาวะความเจ็บปวดของเด็ก ชีวิตของเด็กในโลกเสมือนจริง กฎหมายและนโยบายสาธารณะเพื่อการออกแบบชีวิตของเด็ก การออกแบบบ้าน โรงเรียน และพื้นที่สาธารณะในการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการออกแบบชีวิตของเด็ก ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับการพัฒนาและคุ้มครองชีวิตเด็ก การพัฒนาโครงการการออกแบบชีวิตเพื่อการปกป้องคุ้มครองและพัฒนาเด็ก การนำเสนอโครงการการใช้นวัตกรรมการออกแบบพัฒนาชีวิตและคุ้มครองเด็ก
ดคทน ๕๔๖

นักปฏิบัติการด้านการเรียนรู้และการดูแลเด็กปฐมวัย                          ๒(๒-๐-๔)

 

การประเมินสุขภาวะเด็กปฐมวัย การประเมินพัฒนาการ ความรู้คิด ความคิดเชิงบริหาร และทักษะการเรียนรู้ศตวรรษที่ ๒๑ สำหรับเด็กปฐมวัย หลักการจัดการเรียนรู้และดูแลสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี  อายุ ๓-๖ ปี และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย (การประเมินสมรรถภาพร่างกาย การกระตุ้นการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก การฝึกการประสานงานกล้ามเนื้อและความสมดุลย์ร่างกาย กีฬาสำหรับเด็ก) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ (สุนทรียภาพ ดนตรี การเล่น คุณธรรม จริยธรรม การแสดงออกทางอารมณ์ การมีอัตลักษณ์เฉพาะตน การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพความปลอดภัย นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อการควบคุมตนเอง (การควบคุมตนเอง การสร้างวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความมุมานะอดทน) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม (การดูแลรักษาธรรมชาติ การปฏิบัติตามวัฒนธรรมท้องถิ่นและความเป็นไทย วิถีเศรษฐกิจพอเพียง การสร้างบทบาทที่ดีต่อครอบครัว ชุมชน สังคม การแก้ปัญหาความขัดแย้ง การยอมรับในความเหมือนและความแตกต่างระหว่างบุคคล) นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา (การใช้ภาษา การคิดรวบยอด การคิดเชิงเหตุผล การตัดสินใจและแก้ปัญหา จินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ตลอดชีวิต) หลักการจัดกิจกรรมประจำวัน หลักการจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้และการดูแลเด็กปฐมวัย หลักการจัดทำหลักสูตรสำหรับสถานศึกษา การกำกับ ติดตาม และการประเมินเชิงบวกเพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้และการดูแลเด็กปฐมวัย

ดคพม  ๖๙๗

สารนิพนธ์                                                                       ๖(๐-๒๔-๐)

 

การกำหนดหัวข้อวิจัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก การดำเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลและการอภิปรายผล จริยธรรมการวิจัย และการนำผลงานวิจัยมาเรียบเรียงเป็นสารนิพนธ์ การนำเสนอรายงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการที่เป็นมาตรฐานหรือเสนอในที่ประชุมวิชาการ จริยธรรมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ

ดคพม  ๖๙๘

วิทยานิพนธ์ นิพนธ์ (สำหรับ แผน ก แบบ ก๒)                       ๑๒(๐-๔๘-๐)

 

การกำหนดหัวข้อวิจัยทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก การดำเนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลผลและการอภิปรายผล จริยธรรมการวิจัย และการนำผลงานวิจัยมาเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์ การนำเสนอรายงานวิจัย และการเผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการที่เป็นมาตรฐานหรือเสนอในที่ประชุมวิชาการ จริยธรรมการเผยแพร่ผลงานวิชาการ

งานวิจัยที่เกี่ยวกับหลักสูตร

 

  • โครงการวิจัยประเมินประสิทธิผลการส่งเสริมทักษะการคิดเชิงบริหาร(EF) เด็กปฐมวัยโดยชุมชนของ 18 โรงเรียนในพื้นที่จังหวัดระยอง
  • การสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาระบบการเรียนรู้และดูแลเด็กปฐมวัยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
  • โครงการวิจัยเชิงสังเคราะห์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสำคัญมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ
  • โครงการ “การศึกษาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมพัฒนาการการรับรู้ตนเอง ปัญญาเฉพาะตนและทักษะสมองEF  ของชั้นเรียนปฐมวัย : กรณีศึกษาโรงเรียนรุ่งอรุณ”
  • โครงการการพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการกลุ่มเด็กที่มีความเปราะบางทางสังคมด้วยระบบ Inclusive Care
  • โครงการความสัมพันธ์ของการคิดเชิงบริหารและภาวะโรคอ้วนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในเด็กวัยเรียน
  • คลินิกพัฒนาการเด็กต้นแบบ และการศึกษาผลการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกด้วยโปรแกรมไทย
  • โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและพิเคาระห์เหตุการตายในเด็กและเยาวชนใน จ.นครปฐม โดยใช้กระบวนการ CDD และ Swiss cheese model (อ.อดิศักดิ์ ทุนศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน
  • โครงการพัฒนาแนวทางหรือแนวปฏิบัติของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในกรณีภัยออนไลน์ต่อเด็ก
  • โครงการ ช่วยเธอช่วยฉัน ปันความปลอดภัย (Safe You Safe Me: Road Safety Club หรือ SYSM Club)
  • Identifying the sources of individual difference in working memory capacity and improving performance in 4-6 years old children.
  • โครงการทีมบูรณาการสุขภาพ การพัฒนา และการคุ้มครองเด็ก เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะกลุ่มเด็กยากจนและมีความขาดแคลนแบบพหุปัจจัย
  • The impact of smartphone and social media on emotional wellb
  • โครงการวิจัยผลกระทบของสื่อดิจิทัลที่มีผลต่อพัฒนาการมนุษย์ในศตวรรษที่ 21
  • โครงการวิจัยเพื่อติดตามผลกระทบจากสารอาร์เซนิก แมงกานีส ไซยาไนด์ และฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4-6
  • โครงการศึกษาผลกระทบระยะจากสิ่งแวดล้อมต่อสุขภาพเด็กไทยตั้งแต่ระยะในครรภ์ถึงวัยเด็กเล็ก (อ.อดิศักดิ์ ทุน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)
  • การรวบรวมและสังเคราะห์งานวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับสิทธิการเล่นและการส่งเสริมการเล่นของเด็กเล็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21

นักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาและคุ้มครองเด็ก

ทุนการศึกษา

ทุนการศึกษา

  1. ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์
  2. ทุนเฉลิมพระเกียรติ 60 ปี ครองราชสมบัติ
  3. ทุนผู้ช่วยวิจัยบัณฑิตศึกษา

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวคาดหวังให้ผู้เรียนมีการเพิ่มศักยภาพผลงานวิจัยจาก อาจารย์และนักศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ในขณะเดียวกัน สถาบันส่งเสริมให้งานวิจัยเข้มแข็งยิ่งขึ้น หลักสูตรมหาบัณฑิตเป็นแหล่งฝึกฝนนักศึกษา สถาบันมีแนวความคิดให้ทำงานวิจัยในระดับชาติ เพื่อเตรียมนักศึกษาให้เป็นนักวิจัยหรือนักวิชาการที่สามารถ ทำงานวิจัยอิสระได้ในอนาคต และ เพื่อให้นักศึกษาที่มีศักยภาพ ทักษะที่ดี ทั้งทางด้านการศึกษาและการวิจัย สามารถสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพได้

เว็ปไซด์สมัครเข้าศึกษาต่อ

https://graduate.mahidol.ac.th/thai/prospective-students/

 

ติดต่อเจ้าหน้าที่

0872661054