Select Page

งานแถลงข่าว ผลการฟื้นฟูสมองด้านทักษะการเรียนรู้ของเด็กในพื้นที่เสี่ยงสารโลหะหนัก: 3 ปี หลังหยุดประกอบการเหมืองทอง

เด็กไทยขอบคุณรัฐบาล 3 ปีภายหลังการระงับเหมือง สารหนูในตัวเด็กลดลงถึง 12 เท่าตัว ความ บกพร่องทางการเรียนรู้น้อยลง ภายหลังโปรแกรมการฟื้นฟู พบว่า ระดับสติปัญญา ทักษะการเรียนรู้ และ ความรู้เท่าทันต่อการป้องกันสารพิษจากสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเองของเด็กเพิ่มสูงขึ้น

 

สืบเนื่องจากปี 2558 ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด รอบการประกอบกิจการเหมืองทอง ซึ่งต่อมาได้ทำการตรวจพบสารหนูในร่างกายของเด็กและผู้ใหญ่ในปริมาณสูง ในปี 2559 คณะรัฐบาลมีมติให้ระงับการประกอบกิจการเหมืองทอง และให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องให้การดูแลสุขภาพประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี ได้ร่วมกับสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการประเมินภาวะสารหนู ระดับไอคิว และภาวะการบกพร่องทางการเรียนรู้ในเด็กนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ของ 6 โรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่รอบๆ เหมือง พบว่าร้อยละ 36.1 มีสารหนูในร่างกายสูงกว่าปกติ ร้อยละ 38.4 มีไอคิวต่ำกว่า 90 ในเด็กที่ไอคิวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ร้อยละ 38.9 ทั้งนี้มีการศึกษาในต่างประเทศพบว่าเด็กเมื่อได้รับสารหนูเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลให้มีไอคิวต่ำลงและมีความบกพร่องทางการเรียนได้ ซึ่งในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดนี้ยังมีข้อถกเถียงกันว่าค่าสารหนูนี้สูงมาก่อนนานแล้วก่อนการประกอบกิจการเหมืองหรือไม่?

ในปี 2562 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ติดตามสถานการณ์ ระดับสารหนู ไอคิว และความบกพร่องทางการเรียนรู้คิดในเด็กอีกครั้งในบริเวณพื้นที่เดิม โดยการสนับสนุนของ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ภายใต้โครงการวิจัยเพื่อติดตามผลกระทบจากสารโลหะหนัก และฟื้นฟู ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผลพบว่า สัดส่วน ของการมีสารหนูสูงกว่าปกติในร่างกายของเด็กของ 6 โรงเรียนเดิม ลดลงจากร้อยละ 36.1 เหลือร้อยละ 4.5 ลดลง 12 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 เป็นการลดลงในทุกโรงเรียน ทุกชั้นปี และทุกเพศ ขณะที่เด็กที่ไอคิวมากกว่า หรือเท่ากับ 90 มีความบกพร่องทางการเรียนรู้น้อยลงจากร้อยละ 38.9 เป็นร้อยละ 22.22 และโครงการได้ฟื้นฟู เด็กที่พบความบกพร่องด้านสติปัญญาและการเรียนต่อเนื่องเป็นเวลา  1 ภาคการศึกษา พบว่าเด็กที่ได้รับการฟื้นฟู

 

มีทักษะการอ่านคำ สะกดคำ เข้าใจประโยค และคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในการประเมินระดับสติปัญญาพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยของระดับสติปัญญาที่ 85.43 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ เฉลี่ย แต่หลังการฟื้นฟูพบว่า เด็กมีคะแนนเฉลี่ยของระดับสติปัญญาสูงขึ้น ที่ 90.11 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับ สติปัญญาปกติ ความสามารถทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กอยู่ในระดับปกติเพิ่มขึ้นทั้งด้านความจำที่ทำได้ถูกต้อง ด้านสมาธิจดจ่อ และตอบสนองในงานที่ทำเร็วขึ้น นอกจากนั้น พบว่าเด็กมีความรู้เท่าทันในการป้องกันตนเองจากสารพิษในสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหลังฟื้นฟู จากระดับน้อย เป็น ปานกลางที่ร้อยละ 41.9 อีกด้วย จะเห็นว่าความบกพร่องต่างๆ หากเด็กได้รับการฟื้นฟูอย่างทันท่วงที และจริงจัง โดยครูและบุคคลแวดล้อม ย่อมส่งผลให้เด็ก มีทักษะด้านการเรียนรู้ คิด และสติปัญญา ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน