ตัวชี้วัดที่3 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพนิสิตนักศึกษาและผู้รับผิดชอบอื่นๆ ในการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาปลอดบุหรี่ รวมถึงเครือข่ายในพื้นที่ |
||
ผลลัพธ์ : | ||
1. การติดป้ายห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่ส่วนการศึกษาทั้งหมด และจัดชี้แจงนักศึกษาว่าพื้นที่ของสถาบันเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ใน วันปฐมนิเทศ |
||
2. จัดโครงการพัฒนาแกนนําและนักศึกษาเพื่อร่วมโครงการรณรงค์เพื่อป้องกันการสูบบุหรี่ และร่วมมือกันในการค้นหา ผู้สูบบุหรี่และเข้าร่วมโครงการต่าง ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อการไม่สูบบุหรี่ มีการดําเนินกิจกรรม ดังนี้ |
||
2.1 จัดอบรมให้ความรู้ ในสถานการณ์ของการบริโภคบุหรี่ อันตรายและผลกระทบของบุหรี่ต่อสุขภาพ กิจกรรมคือ การบรรยาย ชมวีดีทัศน์ และสะท้อนคิด "เรื่องพิษภัยบุหรี่กับสุขภาพ“
|
||
2.2 จัดอบรมให้ความรู้ ในแนวทางการให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่ โดยผ่านกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เปิดใจเข้าใจ ตนเอง เข้าใจผู้บริโภคบุหรี่ และทักษะการสื่อสารให้คำแนะนำแก่ผู้บริโภคบุหรี่ (จะดำเนินการจัดขึ้นเมื่อค้นพบนักศึกษาที่สูบบุหรี่หรือมีคนในครอบครัวสูบบุหรี่) |
||
2.3 เพิ่มเนื้อหาในรายวิชาออกแบบชีวิต (Module สุขภาพ) ในส่วนของภัยอันตรายจากบุหรี่ | ||
2.4 สอดแทรกเนื้อหาพิษภัยและโทษของบุหรี่ ในการจัดอบรมหลักสูตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21
|