Select Page

โครงการคลินิกพัฒนาการเด็กต้นแบบและการศึกษาผลการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกด้วยโปรแกรมไทย

 

ชื่อส่วนงาน : สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (National Institute for Child and Family Development)

ชื่อเรื่อง : โครงการคลินิกพัฒนาการเด็กต้นแบบและการศึกษาผลการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกด้วยโปรแกรมไทย Child Development Clinic Project and the Study of Thai Home-based Autism Intervention Model (THAI Model) in children with autism

วิจัยหรือทีมผู้วิจัย หัวหน้าโครงการวิจัย : ผศ.พญ แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ Assistant Professor Kaewta Nopmaneejumruslers, M.D.

ผศ. พญ.แก้วตา  นพมณีจำรัสเลิศ

ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์ผลงานวิจัย (กำลังเขียนตีพิมพ์)

ที่มาและความสำคัญ ออทิสติกมีสาเหตุจากพันธุกรรมที่ส่งผลให้เกิดความบกพร่องของสมองและระบบประสาท การแก้ไขความบกพร่อง ต้องอาศัยองค์ความรู้ทางสมองและะระบบประสาท Neuroplasticity หรือ ความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนของสมอง มีองค์ประกอบที่เป็นหลักสำคัญ คือ 1) การเริ่มกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่อายุยังน้อย (Early detectionand Early Intervention) 2) ความจำเพาะ (Specificity) คือ รูปแบบ วิธีการที่ตรง มุ่งเป้าไปที่ความบกพร่องหลักของโรค (Core deficits) 3) สมองตื่นตัวพร้อมเรียนรู้คือ เด็กรู้สึกสนุก สนใจ ชอบ และ 4) ความถี่และความสม่ำเสมอในการลงมือทำ (Frequency)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการคัดกรองและส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า และเด็กออทิสติกด้วยโปรแกรมไทย  (THAI Model) และ เพื่อศึกษาจุดแข็งของชุมชนประเทศไทยในการดูแลเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก ในบริบทครอบครัวไทย

ระเบียบวิธีวิจัย เป็นแบบผสานวิธีโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลหลัก รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ทดสอบก่อนและหลัง

การส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก ด้วยโปรแกรม THAI Model ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ 1) กิจกรรม Coaching พ่อแม่และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2) การส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้านด้วยโปรแกรมไทย (THAI Home based Autism intervention program) 3) กิจกรรรมห้องเรียนพ่อแม่

โรงพยาบาลที่เข้าร่วมการวิจัยมาจาก 5 ภูมิภาค ของประเทศไทย ผลการวิจัยเด็กทั้ง 46 ครอบครัว ระยะเวลา 6 เดือน พบว่า ค่าเฉลี่ยทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก (I-CARE) ของผู้ดูแลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแล (PSI) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ      ด้านพัฒนาการเด็ก ค่าเฉลี่ยพัฒนาการอารมณ์สังคมของเด็ก (FEAS) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ พัฒนาการรายด้าน พบว่า มีเด็กที่ผ่านการคัดกรอง DSPM ตามช่วงวัย มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการคัดกรองและการส่งเสริมพัฒนาการ เด็กล่าช้าที่สงสัยภาวะ ออทิสติก ด้วยโปรแกรมไทย (THAI Model) และ เพื่อศึกษาจุดแข็งของชุมชนประเทศไทย ในการดูแลเด็ก พัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษ เด็กออทิสติก ในบริบทครอบครัวไทย

การส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ เด็กออทิสติกด้วยโปรแกรม THAI Model ประกอบด้วย 3 กระบวนการ หลัก คือ 1) กิจกรรม Coaching พ่อแม่และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2) การส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้านด้วย โปรแกรมไทย (THAI Home based Autism intervention program) 3) กิจกรรรมห้องเรียนพ่อแม่

โรงพยาบาลที่เข้าร่วมการวิจัยมาจาก 5 ภูมิภาคของประเทศไทย ได้แก่ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ จ. เพชรบูรณ์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย  โรงพยาบาลแม่ระมาด จังหวัดตาก โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และโรงพยาบาลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ผลการวิจัยเด็กทั้ง 46 ครอบครัว ระยะเวลา 6 เดือน พบว่า ค่าเฉลี่ยทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก (I-CARE) ของผู้ดูแลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติค่าเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแล (PSI) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้านพัฒนาการเด็ก ค่าเฉลี่ยพัฒนาการ อารมณ์สังคมของเด็ก(FEAS) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติพัฒนาการรายด้าน พบว่า มีเด็กที่ผ่านการคัดกรอง DSPM ตามช่วงวัย มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ข้อสรุปจากกระบวนการพัฒนาโปรแกรม THAI Model และ ผลการวิจัยประสิทธิผลโปรแกรม THAI Model ผู้วิจัยมีความคิดเห็น ดังนี้

1) การเสริมพลังพ่อแม่ (Empowerment) เป็นกระบวนการสำคัญ เป็นความยั่งยืนในการพัฒนา เด็กออทิสติก เด็กพิเศษ โปรแกรม THAI Model ได้แสดงให้เห็นถึงการเสริมพลังพ่อแม่ ในหลากหลายรูปแบบ เช่น การฝึกสอนพ่อแม่ให้มีทักษะปฏิสัมพันธ์กับเด็ก (I-CARE), การจัดกิจกรรมห้องเรียนพ่อแม่,การนำเสนอพ่อ แม่ต้นแบบผ่านสื่อวีดีทัศน์THAI Model, การฝึกทักษะบุคลากรสาธารณสุขให้รู้จักสังเกตและประเมินความเครียด                ของผู้ดูแล เป็นต้น

2) THAI Model มีความเหมาะสมกับบริบทครอบครัวไทย พ่อแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการลูกที่ บ้านได้เองผ่านการเล่น โดยเป็นการเล่นที่มีลักษณะจ าเพาะ คือ เล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กเป็นผู้นำ เป็นผู้เลือกเล่นในสิ่งที่สนใจ พ่อแม่มีทักษะ (I-CARE) ในการสังเกต ตอบสนองการสื่อสารของเด็กรู้วิธีปลอบโยน ให้ กำลังใจเด็กรู้วิธีปรับตัวเองให้เข้ากับความแตกต่างของเด็ก ทักษะเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการ ดีขึ้นผ่านการเล่น

3) ความถี่ในการส่งเสริมพัฒนาการ หรือ ความถี่ในการเล่นกับเด็ก เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิด การสร้างวงจรกระแสประสาทใหม่ๆ หรือ Neuroplasticity งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้วิจัยควรต้องพัฒนา กระบวนการ Coaching หรือพัฒนาสื่อการเรียนรู้ที่จะช่วยนำพาให้พ่อแม่ตระหนัก และมองเห็นความสำคัญใน การเพิ่มความถี่ในการเล่นกับลูกที่บ้านมากขึ้น

งานวิจัยนี้นำเสนออะไรที่แตกต่างไปจากเดิม ในระบบบริการสาธารณสุข

1) ด้านองค์ความรู้วิชาการ การนำองค์ความรู้ด้านการความยืดหยุ่นของสมอง (Neuroplasticity) ด้านสังคมอารมณ์ (Social emotional development) และด้านสัมพันธภาพ ความรัก ความผกพัน (Relationship, bonding & attachment) มาเป็นทิศทางหลักในการพัฒนาเด็กออทิสติก เด็กพิเศษ โดยมีแนวทางภาคปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นวิธีการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้าน ที่ผ่านการทดลอง ลงมือทำ ในกลุ่มพ่อแม่เด็กพิเศษของสถาบันแห่งชาติเพื่อ การพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล มานานกว่า 15 ปี

2) ด้านรูปแบบการนำไปใช้ในระบบบริการสาธารสุข 

2.1 ปรับเปลี่ยน เป้าหมายในการส่งเสริมเด็กออทิสติก เด็กพิเศษ

เป้าหมายเดิม เน้นการฝึกที่ตัวเด็ก รูปแบบจึงเป็นลักษณะครูฝึกให้เด็กท าตาม กิจกรรมที่ครูบอก พ่อแม่เป็นผู้พาเด็กมาให้ครู ฝึกให้พ่อแม่นั่งรอนอกห้องฝึก 

เป้าหมายใหม่ เน้นฝึกทักษะพ่อ แม่ในการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก (I-CARE) พ่อแม่อยู่ร่วมในห้องฝึกตลอดเวลา รูปแบบผ่านการเล่นในสิ่งที่เด็กสนใจ

ผลลัพธ์ที่ได้ พ่อแม่มีความมั่นใจมากขึ้น มีทักษะในการดูแล ส่งเสริมพัฒนาการลูกเด็กพิเศษ เด็กออทิสติก ที่บ้านด้วยตนเองมากขึ้น พึ่งพาตนเองได้มากขึ้น พ่อแม่สัมผัสได้ถึงความสุขในการให้เวลาลงมาเล่นกับลูก มองเห็น ความน่ารัก ความสดใส สีหน้า แววตา รอยยิ้มของลูกเด็กพิเศษ เด็กออทิสติก ชีวิตประจำวันเด็กออทิสติก เด็ก พิเศษ เชื่อฟังทำตามพ่อแม่มากขึ้น ปัญหาพฤติกรรมลดน้อยลง ความเครียดของพ่อแม่ลดน้อยลง

2.2 ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม วัสดุของเล่น คลินิกพัฒนาการเด็ก

รูปแบบเดิม  เป็นห้องฝึก ห้องประเมินเด็ก มีชุดอุปกรณ์ประเมินพัฒนาการเด็ก 

รูปแบบใหม่ คลินิกพัฒนาการเด็กต้นแบบ เป็นห้องเล่นที่มีของเล่นหลากหลาย เด็กเลือก เล่นตามความสนใจ ตามความสามารถพัฒนาการการเล่นของเด็ก

สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เด็กอยากมาเล่นอีก ชอบ สนุก โรงพยาบาลแห่งความสุข ได้ยินเสียงหัวเราะของเด็กออทิสติก เด็กพิเศษ การเล่นช่วยให้เด็กมีพัฒนาการดีขึ้นทั้งด้านการสื่อสาร การคิดแก้ปัญหา (สติปัญญา) ทักษะ EF กล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ด้านสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น การเล่นกับเพื่อน ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็น ทักษะชีวิตสำคัญ ที่ขาดหายไปในกลุ่มเด็กพิเศษ เด็กออทิสติก

2.3 ขยายมุมมองของบุคลากรสาธารณสุข 

จากการเน้นส่งเสริมพัฒนาการที่ตัวเด็กพิเศษ เด็กออทิสติก เพียงอย่างเดียว เป็นการดูแลอารมณ์ความรู้สึกของพ่อแม่และความผาสุขของครอบครัวร่วมด้วย กำรปรับเปลี่ยนสำคัญ คือ ให้พ่อแม่เข้ามามีส่วนร่วมในคลินิกพัฒนาการเด็ก ได้มีโอกาสพูดคุย สอบถาม ข้อติดขัด สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคลากรสาธารณสุข เป็นส่วนสำคัญที่ท าให้ผู้ดูแลเด็ก รู้สึกมีเพื่อน มีที่ปรึกษา การจัดกิจกรรม “ห้องเรียนพ่อแม่” ทุก 3 เดือน เป็นอีกกระบวนการสำคัญ พ่อแม่ได้รับความรู้ได้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ได้เรียนรู้จากสื่อวีดีทัศน์ พ่อแม่ต้นแบบ พ่อแม่มีพลังใจมากขึ้น ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ความเครียดลดน้อยลง มีพลังในการลงมือทำมากขึ้น

2.4 ปรับเปลี่ยนระบบการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล้าช้า เด็กออทิสติก

ปรับเปลี่ยนระบบการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก ได้แก่ การเน้นเรื่องสัมพันธภาพที่ดี ระหว่างบุคลากรสาธารณสุขและครอบครัว การให้ความรู้ฝึกอบรมและนำพาพ่อแม่ (Coaching & Training) การให้กำลังใจและการเสริมพลังครอบครัว (Encouragement & Empowerment) การทำงานเป็นทีม มีผู้นำ ทางวิชาการ เป็นที่ปรึกษาช่วยนำพาการเรียนรู้จากหน่วยงานมหาวิทยาลัย สู่บุคลากรสาธารณสุข (Teamwork & Leadership) เป็นต้น

“Child Development Clinic Project and the Study of Thai Home-based Autism Intervention Model (THAI Model) in children with autism” (In brief)

This research aims were to study the effects of the parent-mediated early intervention model for children with developmental delays and autism in Thailand. Background: The public early intervention service in Thailand mostly used medical model as professionals/therapists led, task-based approach. There were many challenges with this approach, not enough professionals/therapists, inadequate frequency, and parents’ lack of hand on skills. This study described the early intervention service system in Thailand and the pilot project of changing the paradigm from medical model to parent-mediated, relationship-based practice. Thai Home-based Autism at risk Intervention Model (THAI Model) was a simplified 6 months, parent implemented- relationship based program. THAI Model had the foundation concept of the DIR (Developmental Individual differences -Relationship-based) /Floor time Model. THAI Model focused on 3 practices. First, Coaching and modeling parents the I-CARE skills (Interactions, Comfort, Adapt, Read & Response and Encouragement), Secondly, Relationship-based practice, and Thirdly, Support family wellbeing. Methods: THAI Model was pilot in 5 hospitals across Thailand. 52 children with delay development, at risk for autism enrolled to the program. The intervention process were 1) coaching parents the I-CARE skills in the clinic 2 times/month, 2) encouraged parent to use I-CARE skills during everyday routine, and 3) facilitate parents’ learning via YouTube channel, and group support every 2 months. Primary outcomes included changes in parent-child interactions (I-CARE), and Child’s Functional Emotional Development Scale (FEAS). Secondary outcomes were parental stress index (PSI). Results: Parents in the pilot program demonstrated improvement in I-CARE skills and less stress. Children showed significant gain in social emotional and cognitive development. Conclusion: The paradigm shift from medical model to parent mediated, relationship-based practice in the public early intervention in Thailand suggested improvement of parent child interaction and child’s functional emotional developmental outcome.

Keywords: Autism, Early intervention, THAI Model, Relationship-based, Parent child interaction, I-CARE, DIR/Floor time