ชื่อส่วนงาน : สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (National Institute for Child and Family Development)
ชื่อส่วนงานย่อย : ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
ชื่อเรื่อง : โครงการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New normal ระดับ 3 เพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID 19 ระลอก 3
ชื่อหัวหน้าโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ : รองศาสตราจารย์นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
Mr.Adisak Plitpornkarnpim
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2563 – 2566)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services
รศ.นพ. อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้ดำเนินการขับเคลื่อนนโยบายและเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมพร้อมระบบการดูแลเด็กปฐมวัยภายใต้การแพร่ระบาด COVID 19 ในชื่อ “โครงการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New normal ระดับ 3 เพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID 19 ระลอก 3” เพื่อรับมือและเตรียมความพร้อมการดูแลเด็กรูปแบบ การจัดการแบบชีวิตวิถีใหม่ (New normal) ให้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ทั่วประเทศนำไปปรับใช้ตามบริบทพื้นที่ของตนเอง
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มีการสร้างต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย การเตรียมความพร้อมด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกับการดูแลเด็กปฐมวัยในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 พัฒนาระบบเฝ้าระวังและระบบคัดกรองความเสี่ยง รูปแบบการจัดประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และการดูแลสุขภาวะเด็กปฐมวัย โดยใช้บ้านเป็นฐาน ในรูปแบบออนไลน์ มีการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการเด็กผ่านระบบออนไลน์ และเผยแพร่กิจกรรมสู่เครือข่ายผู้ดูแลเด็กปฐมวัย และกลุ่มเด็กเปราะบางจากบ้านพักเด็กและครอบครัวกรุงเทพมหานคร มีการออกแบบเวทีสาธารณะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รายการเปิดบ้านศูนย์เด็กปฐมวัย นิวนอร์มอล - 3 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า COVID-19 ระลอก 3 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และประสบการณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กปฐมวัยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในมิติต่างๆ ผ่านต้นแบบการดูแลเด็กรูปแบบ New normal ของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ให้กับเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศ ดำเนินรายการออนไลน์ ผ่านApplication Zoom และ Facebook Live ทุกวันทำการในเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงเดือนสิงหาคม 2564 รวม 42 ตอน มีผู้สนใจเข้าร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมการเรียนรู้มากกว่า 8,600 คน มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ (IT) ของสถาบัน เพื่อรองรับการทำรายการถ่ายทอดสด และพัฒนาสู่หลักสูตรออนไลน์ “ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New Normal ระลอก 3” หลักสูตรออนไลน์เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลเด็กที่มีความเครียดและภาวะบอบช้ำทางใจจากสถานการณ์ COVID-19 สำหรับสมาชิกเครือข่ายการศึกษาต่อเนื่องเพื่อจัดการเรียนรู้และดูแลเด็กปฐมวัย นำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ การแพร่ระบาด COVID-19 ในแต่ละพื้นที่ และมีระบบการจัดเก็บข้อมูลการฝึกอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของสมาชิกในเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้ขับเคลื่อนแนวทาง 3 ประการในการเตรียมพร้อมรับมือการระบาดของ COVID 19 และการฟื้นฟูหลังการระบาด ได้แก่
แนวทางที่ 1 การจัดการส่งเสริมการเรียนรู้และการดูแลสุขภาวะเด็กปฐมวัยไม่ให้ขาดความต่อเนื่องโดยใช้บ้านเป็นฐาน (home based early childhood education and care) ในรูปแบบออนไลน์ ภายใต้การแพร่ระบาดของ COVID 19
แนวทางที่ 2 การเตรียมสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อและมีการจัดการแบบชีวิตวิถีใหม่ (new normal)
แนวทางที่ 3 การเตรียมสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีความพร้อมรับเด็กที่มีความเครียดและภาวะบอบช้ำทางใจ (trauma informed education and care) ผ่านเครือข่ายการศึกษาต่อเนื่องเพื่อจัดการเรียนรู้และดูแลเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นเครือข่าย ผู้ที่ทำงานด้านเด็กปฐมวัย เชื่อมโยงจากสมาชิกตั้งต้นประมาณ 2,500 คน จากเวทีอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ต้นแบบ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย New normal” ในเดือนมิถุนายน 2563 โดยมีการจัดประชุมวิชาการประเด็นเด็กปฐมวัยประจำเดือน อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 ถึงปัจจุบัน เป็นการอบรมเพิ่มพูนความรู้และสะสมชั่วโมงของครูปฐมวัยในเครือข่าย ซึ่งทางสถาบันจัดทำระบบเก็บชั่วโมงและกำหนดมาตรฐานไว้ 45 ชั่วโมงต่อปี สอดคล้องกับมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่กำหนดให้ครูปฐมวัยทุกคนต้องเพิ่มพูนความรู้อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อปี ปัจจุบันมีสมาชิกในเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มากกว่า 19,000 คน และสามารถนำความรู้ที่ได้รายการเปิดบ้านศูนย์เด็กปฐมวัย นิวนอร์มอล – 3 พัฒนาเป็นหลักสูตรออนไลน์ “ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New Normal ระลอก 3” ผู้ลงทะเบียนมากกว่า 8,600 คน โดยในการขับเคลื่อนครั้งนี้ หน่วยงานภาครัฐที่เป็นแกนสำคัญในการสั่งการนโยบายให้เกิดความร่วมมือในการเข้าร่วมเรียนรู้และนำความรู้นี้ไปประยุกต์ปฏิบัติต่อไปได้แก่ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มีหนังสือขอความร่วมมือไปทุกองค์กรท้องถิ่น 77 จังหวัดทั่วประเทศไทย
นอกจากนั้นสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้ทุนประกาศนียบัตร สำหรับครูปฐมวัย ผู้ดูแลเด็ก เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้นำชุมชน ที่เข้าเรียนหลักสูตรออนไลน์เปิดบ้านศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New Normal ระดับ 3 ในพื้นที่ จังหวัดนครปฐม สมุทรปราการ อำนาจเจริญ นครสวรรค์ น่าน แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน พัทลุง ตาก ลำปาง จันทบุรี ตรัง ชุมพร เพชรบูรณ์ เลย กระบี่ มุกดาหาร พังงา พะเยา สุโขทัย ลพบุรี อุตรดิตถ์ สกลนคร ฉะเชิงเทรา นครพนม สมุทรสาคร กาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช มีผู้ขอรับทุน มากกว่า 500 ทุน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2564)
โครงการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New normal ระดับ 3 เพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID 19 ระลอก 3 มีประเด็นชี้นำสังคม ดังนี้
1. ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยหรือโรงเรียนอนุบาลและหน่วยงานสุขภาพในพื้นที่ต้องร่วมกันพัฒนากระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้และการดูแลสุขภาวะเด็กปฐมวัย โดยใช้บ้านเป็นฐาน (Home Based Early Childhood Education and Care) ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่ถูกออกแบบให้เป็นการทำงานร่วมกันของ ครู บุคลากรด้านสุขภาพ ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กที่บ้านและเด็ก เพื่อไม่ให้กระบวนการพัฒนาเด็กปฐมวัยขาดความต่อเนื่อง จากการปิดกั้นของสถานบริการ ( lock down) ที่เนอสเซอรี่ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และโรงเรียนอนุบาลถูกปิดในปัจจุบัน และเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยสุขภาพต่างๆ ในอนาคต
2. ในการฟื้นฟูหลังการระบาด ต้องกำหนดให้การติดเชื้อในเด็กปฐมวัยเป็นศูนย์ เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดและเป้าหมายที่สำคัญของการควบคุมการระบาดในพื้นที่ เนื่องจากเด็กปฐมวัยเป็นบุคคลที่ไม่สามารถปฏิบัติการรักษาระยะห่างใส่หน้ากากอนามัย และ universal precaution อื่นๆ ได้ด้วยตนเองรวมทั้งไม่มีวัคซีนสำหรับเด็กปฐมวัย ดังนั้นเด็กปฐมวัยจะไม่ป่วย ไม่เป็นผู้กระจายเชื้อสู่ชุมชนและครอบครัวได้ก็ต่อเมื่อคนในครอบครัว คนในชุมชนที่อยู่ล้อมรอบเด็กปฐมวัยได้รับวัคซีนและปฏิบัติตนตามหลัก universal precaution อย่างครบถ้วนแล้ว ดังนั้นทุกชุมชน โรงเรียน หรือศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยที่จะเปิดทำการต้องกำหนดมาตรการการรับวัคซีน 100% ของครู ผู้ดูแลเด็ก ผู้อยู่อาศัยในบ้านเดียวกับเด็ก มีระบบการเฝ้าระวังความเสี่ยง พฤติกรรมเสี่ยง และระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อในเด็กโดยการตรวจ rapid antigen test
3. ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและโรงเรียนอนุบาลต้องดำเนินการแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) อย่างเคร่งครัด ทั้งการจัดการทางกายภาพ พฤติกรรมเด็กและผู้ดูแล และการออกแบบกิจกรรมการดูแลและการเรียนรู้ของเด็ก
4. ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและโรงเรียนอนุบาลต้องเตรียมพร้อมรับเด็กที่มีความเครียดและภาวะบอบช้ำทางใจ (trauma informed education and care) อันเป็นผลกระทบจากการระบาดของโรคระบาดโควิด-19 เนื่องด้วยเด็กบางคนอาจมีความกลัว มีภาวะ post-traumatic stress จากการเจ็บป่วยถูกแยก หรือพ่อแม่ผู้ดูแลถูกแยก หรือมีการสูญเสีย เด็กบางคนอาจตกอยู่ในการดูแลที่ไม่เหมาะสมจากพ่อแม่ผู้ดูแลที่มีความเครียดจากภาวะเศรษฐกิจครัวเรือนที่ตกต่ำลง ครอบครัวที่มีความรุนแรง มีการเมาสุราหรือใช้สารเสพติดมากขึ้น หรือครอบครัวที่ก่ออาชญากรรม หรือมีภาวะสุขภาพจิตเสื่อมลง
Adjusting the Early Childhood Center in the New Normal (In brief)
Once Thailand entered the 3rd wave of the COVID-19 outbreak, the National Institutes for Child and Family Development, Mahidol University has mobilized the public and educated people on how to prepare the childcare system under the outbreak of the COVID-19. The program: Adjusting the Early Childhood Center in the New Normal aimed to have the nationwide early childcare centers understand about childcare system management within the pandemic situation. The program included a public forum for knowledge sharing, and variety of online courses such as the home-based early childhood education and care under the COVID-19 outbreak, a best practice of surveillance system under new normal situation and taking care of stressful and traumatic children resulting from the COVID-19 outbreak. This program mobilized to the locals such as the Local Organization in different provinces, Schools, and the nationwide Early Childhood Development Centers.