Select Page

โครงการเยาวขนไทยกู้ภัยโควิด ปี2563 และ 2564 : สร้างความรับรู้และการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการต่อสู้กับปัญหาการรระบาด COVID-19

1. กิจกรรม “โครงการเยาวขนไทยกู้ภัยโควิด ปี2563 และ 2564 : สร้างความรับรู้และการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการต่อสู้กับปัญหาการรระบาด COVID-19”(โครงการเยาวชนไทยกู้ภัยโควิด | สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก ...https://cf.mahidol.ac.th› โครงการเยาวชนไทยกู้ภัย)

2. รายชื่อเจ้าของกิจกรรม/ผลงาน

  • นางสาวมาริสา นิ่มกุล
  • นางสาวบุศราพร จงเจริญถาวรกุล
  • แพทย์จีน ธนานันต์ แสงวณิชย์
  • รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์

3. ที่มาและความสำคัญของผลงาน

สืบเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกของเรา ท าให้เด็กยุคนี้ต้องเผชิญกับอุบัติภัยและโรคระบาดใหม ่ๆ เช่น การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19ระลอกใหม ่ในขณะนี้ ท าให้เด็ก ๆ ต้องอยู่ที่บ้าน เรียนหนังสือที่บ้าน ในขณะเดียวกันก็ท าให้เด็ก ๆ มีเวลาศึกษาค้นคว้าความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองมากขึ้น นอกจากนั้นในเด็กวัยรุ่นมักถูกสังคมต่อว่าว่าเป็นกลุ่มไม ่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ก่อให้เกิดการระบาดขอโรคเข้าสู่ชุมชนและครอบครัว

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงจัดให้มีกิจกรรมที่จะท าให้เด็ก เยาวชน วัยรุ่น ได้สนใจ เรียนรู้ปัญหาการระบาดของโรค COVID-19 และน าความรู้ไปปฏิบัติเป็นพฤติกรรมในการดูแลผู้สูงอายุในบ้านหรือร่วมเป็นจิตอาสาในชุมชนของตน

4. การดำเนินงาน

4.1. โครงการ “หลักสูตร เยาวชน กู้ภัย COVID-19 ขั้นต้น และ ขั้นกลาง ปี 2563” เป็นความร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดท าขึ้น เพื่อให้ความรู้เรื่องการระบาดและผลกระทบของไวรัสโคโรนา และการปฏิบัติตนสำหรับเด็ก 6 ปีขึ้นไป โดยเด็กสามารถเข้ามาเรียนรู้หลักสูตรพื้นฐาน "เยาวชน กู้ภัย COVID-19" ผ่าน online ซึ่งมีทั้งหมด 4 บทเรียนเมื่อเรียนจบจะได้รับใบประกาศนียบัตร ส าหรับวัยรุ่นที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไปเมื่อได้รับใบประกาศนียบัตรจากหลักสูตรพื้นฐานแล้ว ต้องปฏิบัติการปกป้องขั้นสูงสุดแก่ ปู่ย่า ตายายที่บ้าน 1 ราย และท าการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม "การปฏิบัติงานเยาวชนไทย กู้ภัยโควิด" (GoogleForm) จะได้รับประกาศนียบัตร จิตอาสา เยาวชนไทยกู้ภัยโควิด ขั้นต้น หลังจากนั้น ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จะส่งรายชื่อเยาวชนไปยังชุมชนต่างๆให้รับรู้ว่าเป็นกลุ่มจิตอาสา กู้ภัย COVID-19 ที่สามารถปฏิบัติงานได้เมื่อพื้นที่ถูก lock Down เช่น การออกมารับส่งอาหารให้ผู้สูงอายุ หรือน าส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลเป็นต้น

หลังจากจบหลักสูตรขั้นต้นแล้ว วัยรุ่นสมารถเรียนรู้ "หลักสูตรจิตอาสาเยาวชนไทย กู้ภัยโควิด-ขั้นกลาง" เพื่อเพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและมีผู้เรียนทั้งสิ้นจ านวน 2,243 คนผู้เรียนรู้หลักสูตรจิตอาสาเยาวชนไทยกู้ภัยโควิด-ขั้นกลางจ านวน111 คน

4.2 โครงการประกวด คลิป “การปกป้องผู้สูงอายุขั้นสูงสุดโดยเยาวชน กู้ภัย COVID-19 ปี 2563” เด็กและเยาวชนผู้ได้ประกาศนียบัตรตามข้อ 4.1 ร่วมผลิตสื่อเผยแพร่สาธารณะในวงกว้างเรื่อง การปกป้องผู้สูงอายุขั้นสูงสุด จ านวน 38 เรื่อง และเรื่องออกแบบชีวิตวัยรุ่น New Normal จ านวน 40เรื่อง คลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ผ่านsocial media รูปแบบต่างๆในวงกว้าง และ
NICFD Channel-You Tube

4.3 โครงการ “ออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกัน COVID-19 ภายในครอบครัว ปี2564” ผู้เรียนสมัครเข้าร่วมโครงการ และเข้าไปเรียนรู้หลักสูตรออนไลน์ ได้แก่ หลักสูตรเยาวชนไทยกู้ภัยโควิด และหลักสูตร The Safety Hunter ภารกิจพิชิตจุดเสี่ยง และเข้าอบรม “การออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกัน COVID-19 ภายในครอบครัว”

หลังจากนั้นเข้าร่วมการแข่งขันภาคปฏิบัติ โดยผู้สมัครจัดท าคลิปวิดีโอ หัวข้อ “ออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันCOVID-19 ภายในครอบครัว” คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยผลงานการออกแบบวิธีการป้องกันCOVID-19 ต้องแสดงให้เห็นถึง 2กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดังนี้ การสังเกต/ระบุปัญหา (ส ารวจว่าครอบครัวตนเองมีความเสี่ยงหรือปัญหาเกี่ยวกับCOVID-19อะไรบ้าง), การตั้งสมมติฐาน/ออกแบบวิธีแก้ปัญหา, ท าการทดลองแก้ไขปัญหา และวัดผลว่าได้ผลอย่างไร, สรุปผล

การสอบแข่งขันระดับประเทศในรูปแบบออนไลน์ส าหรับเด็กโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3, ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยมีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎี เรื่อง วิทยาศาสตร์การป้องกันอุบัติภัยและโรคระบาดCOVID-19 ซึ่งเด็กๆ ต้องใช้เวลา 1 เดือนจากนี้ไปในการค้นหาความรู้ หรือเรียนรู้ผ่านหลักสูตรออนไลน์ ต่างๆ และทดสอบภาคปฏิบัติโดยเด็กออกแบบวิธีการป้องกัน COVID-19 ภายใต้หัวข้อ “ออกแบบการแก้ปัญหาแบบนักวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกัน COVID-19ภายในครอบครัว” มีเยาวชนไทยสมัครเข้าร่วมโครงการ จ านวน 351 คน ส่งคลิปออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันCOVID19 จำนวน 130 คน

4.4 โครงการเยาวชนไทยกู้ภัยโควิดขั้นที่ 3 ปี 2564 วัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนเรียนรู้เรื่องวัคซีน ไวรัสกลายพันธ์ และการระบาดระลอก 3 และเป็นจิตอาสาน าความรู้ไปเล่าให้ผู้สูงอายุฟัง และชักชวนผู้สูงอายุให้ไปรับวัคซีน ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงาน

5. สรุปเกี่ยวกับผลงาน

เยาวชนไทย ได้เรียนรู้เรื่องการป้องกันCOVID-19 และความรู้เกี่ยวกับเรื่องอุบัติภัยในเด็กวัยเรียน และยังได้ออกแบบวิธีการป้องกันCOVID-19 ที่เหมาะส าหรับการดูแลบุคคลในครอบครัวของตนเอง

ผู้ที่เข้ามาเรียนหลักสูตรเยาวชนไทยกู้ภัยวิด นอกจากจะได้รับความรู้เรื่องไวรัสโคโรนาแล้ว ยังได้ฝึกปฏิบัติโดยเป็นจิตอาสากู้ภัย COVID-19 ช่วยเหลือครอบครัวและชุมชน ท างานเพื่อส่วนรวมและเกิดความภาคภูมิใจในตนเองด้วย สังคมได้เห็นถึงบทบาทของเด็กและเยาวชนในการเป็นจิตอาสารับใช้สังคมในขณะมีภัยพิบัติ ลบภาพเด็กวัยรุ่นที่ไม ่ยอมรักษาระยะห่าง ออกมารวมแกงค์ เมาสุราเฮฮา ทะเลาะเบาะแว้ง ยกพวกตีกัน โดยใช้ระบบการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ รับรองความสามารถเพื่อให้ปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ได้ เชิดชูให้กำลังใจและให้เกียรติแก่เยาวชน และขยายผลสู่การรับรู้สาธารณะผ่าน digital platform

6. ผลลัพธ์/ประโยชน์

  • ีผู้เรียน "หลักสูตรจิตอาสาเยาวชนไทย กู้ภัยโควิด-ขั้นต้น" จ านวน 2,243 คน ผู้เรียนรู้หลักสูตรจิตอาสาเยาวชนไทย กู้ภัยโควิด-ขั้นกลาง จ านวน 111 คน
  • มีเยาวชนไทยสมัครเข้าร่วมโครงการ จ านวน 351 คน “การออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกัน COVID19 ภายในครอบครัว”
  • ส่งคลิปออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันCOVID-19 จ านวน 130 คน
  • มีเยาวชนไทยส่งคลิปออกแบบวิธีการปกป้องขั้นสูงสุดให้กับผู้สูงอายุในบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส จำนวน38 คลิป และ ออกแบบชีวิตวัยรุ่น New Normal จ านวน 40 คลิป ทุกคลิปถูกเผยแพร่สู่การรับรู้สาธารณะ

7. การนำไปใช้
โครงการเป็นตัวอย่างการสร้างความรับรู้และการสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต่อภัยพิบัติให้แก่เด็กและเยาวชนโดยพบว่าเด็กเยาวชนมีความสนใจในการเรียนรู้สิ่งใหม ่ และเด็กวัยเรียนในระดับประถมปลาย และวัยรุ่นระยะต้นมีความพร้อมที่จะแสดงออกช่วยเหลือผู้อื่นในครอบครัวและชุมชน เด็กและเยาวชนเหล่านี้จะเติบโตต่อไปเป็นผู้มีความพร้อมในการรับภัยพิบัติที่อาจเกิดมากขึ้นในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีจิตส านึกในการปกป้องการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่จะน าไปสู่โรคติดเชื้ออุบัติใหม ่และภัยพิบัติอื่นๆ หน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการศึกษา การพัฒนาเด็ก วัฒนธรรม และการรับภัยพิบัติสามารถใช้แนวทางการสร้างการเรียนรู้และพฤติกรรมจิตอาสาจากโครงการนี้ในการขยายผลต่อไปได้

สื่อเรื่องการออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกัน COVID-19 ภายในครอบครัวและสื่อการออกแบบวิธีการปกป้องขั้นสูงสุดให้กับผู้สูงอายุในบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส ได้รับการเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความตระหนักในก ารให้คว า ม ส า คั ญ กับก า รป้ อง กันโ ร คร ะ บ า ด COVID-1 9 ใ น คร อบครั ว แล ะ เ รื่ อง ก า รป้ อง กัน อุบั ติภั ย ข อง เ ด็ กวัยเรียน โดยเยาวชนได้รายงานการปฏิบัติงานออกแบบดังกล่าวให้โรงเรียนทราบ และถูกน าเสนอให้เป็นตัวอย่างของการออกแบบและป้องกันครอบครัวและผู้สุงอายุ ให้ปลอดภัยจากโรคระบาด COVID-19 ในระดับชั้นเรียน และถูกเผยแพร่ในช่องทางออนไลน์ต่างๆ ได้แก่ กลุ่มไลน์ เฟสบุ๊ค ยูทูป ฯลฯ

สังคมได้เห็นถึงความสามารถของเยาวชนไทยในการออกแบบการป้องกันโรคระบาด COVID-19ในครอบครัวและออกแบบวิธีการปกป้องขั้นสูงสุดให้กับผู้สูงอายุในบ้าน เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส ท ำให้เยาวชนไทยเป็นที่ยอมรับจากคนในครอบครัวและคนในสังคม และเป็นที่ยอมรับว่าเยาวชนไทยมีความสามารถและพร้อมที่จะดูแลคนในครอบครัวและผู้สูงอายุให้ห่างไกลจากโรคระบาดCOVID-19

8. อื่นๆ ที่มีความสำคัญกับโครงการ

สามารถรับชมคลิปวีดีโอได้ที่ www.youtube.comช่อง NICFD