Select Page

โครงการทำงานที่บ้านด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเพิ่มสายใยสัมพันธ์แม่-ลูก ภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อเด็กและครอบครัว & CF-Work from Anywhere

1. กิจกรรม/ผลงาน

“โครงการท างานที่บ้านด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเพิ่มสายใยสัมพันธ์แม่-ลูก ภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อเด็กและครอบครัว & CF-Work from Anywhere”

2. รายชื่อเจ้าของกิจกรรม/ผลงาน

  • อาจารย์ ดร.ธีรตา ขำนอง
  • นางสาวปาลิดา ปริชญาวงศ์

3. ที่มาและความสำคัญของผลงาน

เนื่องจากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับนมแม่ของเด็กแรกเกิดอย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี แต่ข้อจำกัดเรื่องการลาคลอดบุตร ที่สามารถลาได้เพียง 90 วัน หรือ 3 เดือน ซึ่งหากแม่ใช้เวลาอยู่กับลูกเพื่อให้นมลูก เป็นระยะเวลามากกว่า 90 วัน จะทำให้เด็กแรกเกิดมีสุขภาพที่แข็งแรงและเพิ่มความสัมพันธ์
แม่-ลูก ดังนั้น เพื่อไม่ให้ขัดกับประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการลาหยุดและการได้รับเงินเดือนระหว่างลา และประกาศสถาบัน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ ขั้นตอนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและสิทธิการลาของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2562 และประกาศอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงได้จัดทำโครงการวิจัย เรื่อง กรณีศึกษาการทำงานที่บ้านด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และเพิ่มสายใยสัมพันธ์แม่-ลูก ของบุคลากรสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้แนวคิดความรับผิดชอบต่อเด็กและครอบครัว(Corporate Child and Family Responsibility) ซึ่งได้ออกแบบและพัฒนาแบบฟอร์มการบันทึกเวลาและข้อมูลการปฏิบัติงานของผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้บุคลากรสามารถใช้เวลาอยู่กับลูก ให้นมลูกและปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องลางานประกอบกับได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 สถาบันได้มีประกาศ “แนวปฏิบัติกรณีเดินทางในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 พ.ศ. 2563” จึงได้เกิดการพัฒนาระบบการทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสอดรับกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เป็นระบบ CF-Work@Home โดยใช้เป็นระยะเวลาประมาณ 4 เดือน คือมีนาคม - มิถุนายน 2563 และพัฒนาเป็นระบบ CF Work form Anywhere ในปัจจุบัน เพื่อรองรับรอบเวลาปฏิบัติงานและการกำหนดสถานที่ปฏิบัติงานหลากหลาย ให้สอดคล้องกับประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การกำหนดวันทำงาน เวลาทำงาน และสถานที่การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล ( Flexible Time & Workplace) พ.ศ.2563

4. การดำเนินงาน

นวัตกรรมการพัฒนาระบบรองรับรอบเวลาปฏิบัติงาน และการก าหนดสถานที่ปฏิบัติงานหลากหลาย (Work fromAnywhere) ตามแนว New Normal & Digital Nomad ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบค รัวมหาวิทยาลัยมหิดล โดยประกอบด้วย 2 ระบบคือ
- ระบบบันทึกเวลาการปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่น (CF-FlexiWork) คือ ระบบบันทึกเวลาและสถานที่การปฏิบัติงานของบุคลากร โดยสามารถเลือกได้ระหว่าง สถาบัน (NICFD) และ สถานที่อื่น ๆ (Anywhere)
- ระบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานรายวัน (CF-DailyWork) คือ ระบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานของบุคลากรในแต่ละวัน ซึ่งข้อมูลที่บันทึกจะสอดคล้องกับข้อตกลงการปฏิบัติงานรายบุคคล (PA) ที่ได้ตกลงกับผู้บังคับบัญชา
โดยระบบนี้พัฒนาต่อยอดมาจากโปรแกรม Microsoft Office 365 ประกอบด้วย Microsoft SharePoint และPower Apps ข้อได้เปรียบของระบบที่พัฒนามานี้ เพื่อตอบสนองการท างานในยุคดิจิทัล และสามารถใช้งานได้ครอบคลุมทั้งWeb Application และ Mobile Application มีระบบความปลอดภัย ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องเป็นบุคลากรของสถาบันเท่านั้น โดยการ Login เพื่อพิสูจน์ตัวตนด้วย E-mail ของมหาวิทยาลัยมหิดล

5. สรุปเกี่ยวกับผลงาน

ผลงานนี้ได้น ากระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) และหลักการ PDCA มาเป็นกระบวนการวิเคราะห์ พัฒนาและปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่อง (CQI) โดยการพัฒนาครั้งนี้ประกอบด้วย 2 ระบบคือ
- ระบบบันทึกเวลาการปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่น (CF-FlexiWork)
- ระบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานรายวัน (CF-DailyWork)

ผลการประเมิน จากแบบสอบถามความพึงพอใจการใช้งานระบบ ที่ออกแบบให้สอดคล้องกับ MAHIDOL Core Valueด้วย Score Scale 1-10 โดยมีผลเฉลี่ย M=7.81, A=9.03, H=8.60, I=8.10, D=8.22, O=8.52, L=8.54 จ านวนผู้ตอบแบบสอบถาม 72 คน คิดเป็นร้อยละ 59.50 จากบุคลากรทั้งหมด 121 คน ซึ่งผลการประเมินในครั้งนี้จะนำมาปรับปรุงและพัฒนา
ระบบให้มีีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และนำไปใช้งานจริงเพื่อรองรับกับทุกสถานการณ์

6. ผลลัพธ์/ประโยชน์

1) สถาบันได้ระบบบันทึกรอบเวลาการปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่น และการก าหนดสถานที่ปฏิบัติงานหลากหลาย (CFFlexiWork) และระบบบันทึกข้อมูลการปฏิบัติงานรายวัน (CF-DailyWork))
2) บุคลากรมีการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตให้สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)
3) ระบบช่วยเพิ่มประสิทธิในการบริหารจัดการด้านทรัพยากรบุคคลในสถาบันให้ดียิ่งขึ้น
4) ผู้บังคับบัญชาสามารถวางแผน ก ากับ ติดตามงานของบุคลากรได้ทุกที่ ทุกเวลา

7. การนำไปใช้

สามารถนำระบบไปใช้ได้ทั้งในวิถีการปฏิบัติตามปกติ ที่รองรับรอบเวลาปฏิบัติงาน และสถานที่ปฏิบัติงานหลากหลาย ให้สอดคล้องกับประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การกำหนดวันทำงาน เวลาทำงาน และสถานที่การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยมหิดล (Flexible Time & Workplace) พ.ศ.2563 และกรณีฉุกเฉิน ระบบสามารถรองรับการบันทึกเวลา และการรายงานผลการปฏิบัติงานแม้เกิดสถานการณ์โรคระบาดหรือภาวะฉุกเฉินอื่น เพื่อการบริหารจัดการความต่อเนื่องในการปฏิบัติงาน (BCM)

8. อื่นๆ ที่มีความสำคัญกับโครงการ