Select Page

 

(1 ธันวาคม 2564) รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมคณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่บริการวิชาการฯ ได้ให้การต้อนรับอาจารย์ ดร. สุภาวดี พันธุมาศ นำทีม คณาจารย์ จากโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมแลกเปลี่ยนโครงการ Life Design และ โครงการ The safety Hunter ปี พ.ศ. 2564-2566  ระหว่างวันที่ 1-3 ธันวาคม พ.ศ. 2564  ณ ห้องเจริญคุณธรรม ชั้น 3 อาคารปัญญาวัฒนา และประชุมออนไลน์ผ่านทาง WebEx

การประสานงานโครงการ “Life Design” และ โครงการ The Safety Hunter พ.ศ. 2564-2566 ทาง สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับผู้บริหารและคณาจารย์โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญมหาวิทยาลัยมหิดล ประชุมวางแผนและรายงานผลการดำเนินงาน โดยโครงการ Life Design ปี 2564 และผลการประกวดรางวัลมหกรรมคุณภาพ ปี 2021 นำโดย อาจารย์ ดร.สุภาวดี พันธุมาศ (หัวหน้าโครงการ)  อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ (คณะทำงานและที่ปรึกษาโครงการ) พร้อมทั้งถ่ายรูปแสดงความยินดีกับคณาจารย์

 

โครงการ “The Safety Hunter” นำโดย อาจารย์ยุวดี สารบูรณ์ (หัวหน้าโครงการ) คุณวิวัฒน์ชัย อกอุ่น (หัวหน้าฝ่ายสนับสนุน) ได้ประชุมหารือการดำเนินงานโครงการ จัดตั้ง The Safety Hunter ขึ้น ณ โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลพร้อมทั้งส่งมอบคู่มือและอุปกรณ์ ให้กับทีมคณาจารย์ เพื่อนำไปใช้สำหรับการติดตั้งในวิทยาเจตอำนาจเจริญ เพื่อเพิ่มโอกาสในการส่งเสริมการเรียรู้แก่เด็กและเยาวชนให้ทราบถึงความสำคัญของการรู้จักเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้าน อาจารย์ยุวดี สารบูรณ์ เล่าว่า “โครงการ Safety Hunter ในปี 2565 นี้ จะดำเนินการขยายผลต่อเนื่องจากการที่ได้รับความอนุเคราะห์ชุดพิพิธภัณฑ์เซฟตี้ฮันเตอร์จากสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จะนำปติดตั้งในอาคารศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม ตำบลสร้างนกทา อำเภอเมือง วิทยาเขตอำนาจเจริญ โดยมีแผนการดดำเนินงานติตั้งในเดือนธันวาคม และการอบรมวิทยากรพิพิธภัณฑ์ในปลายเดือนธันวาคม 2564 เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดตัวพิพิธภัณฑ์ในเดือนมกราคม 2565 จากนั้นจะสามารถดำเนินการพิพิธภัณฑ์ ได้ในตลอดปี 2565 เพื่อให้ความรู้แก่นักเรียนประถมศึกษาในพื้นที่วิทยาเขตอำนาจเจริญและใกล้เคียง โดยตั้งเป้าในช่วงครึ่งปีแรกว่าจะมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่า 300 คน และจะขยายผลต่อไปยังการพัฒนาโครงการจิตอาสา รุ่นพี่บรรยายให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในเด็ก และเชื่อมโยงกับวิชาเรียนด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับนักศึกษาภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ด้วย”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้าน อ.ดร.สุภาวดี พันธุมาศ เล่าว่า "โครงการนวัตกรรมบูรณาการเรียนร่วมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ : กรณีศึกษาการพัฒนาผู้สอน-ผู้เรียนของวิทยาเขตอำนาจเจริญ (2/63) ผ่านการบูรณาการสหสาขาวิชา (นวัตกรรม-เกษตร-สุขภาพ) Integration and Inclusion for Innovation by Design Thinking"

 

ผลงาน โดย : อ.ดร.สุภาวดี พันธุมาศ, อ.ธาม เชื้อสถาปนศิริ, อ.ยุวดี สารบูรณ์, อ.ศิริรัตน์ อินทรเกษม,
อ.ดร.ณฐกมล ผดาเวช, อ.รพีพรรณ สารสมัคร, อ.ดร.จีรศักดิ์ เพิ่มฉลาด, ผศ.ดร.วาทินี สุนทรา, อ.เรืองอุไร อมรไชย โครงการนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสองส่วนงาน คือ  (1) โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ และ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 

“นวัตกรรมบูรณาการเรียนร่วมด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) เป็นต้นแบบแนวคิดบูรณาการการเรียนในลักษณะ เรียนร่วมกันทันที (4i: integration, inclusion, instantly, innovation) สำหรับผู้เรียน-ผู้สอน จาก 3 สาขา คือ นวัตกรรม-เกษตร-สาธารณสุข เพื่อขจัดความซ้ำซ้อน ความไม่สัมพันธ์และความไม่ต่อเนื่อง ให้ผู้เรียนได้มอง เห็นภาพรวมของความรู้ เกิดการเรียนรู้โดยองค์รวม (Cognitive-Skill-Affective) มุ่งเน้นให้ผู้เรียนนำความรู้ (วิชาการ-วิชาชีพ-วิชาชีวิต) ไปประยุกต์ใช้ได้จริงทันทีผ่านกิจกรรมโจทย์ปัญหา จัดในปีการศึกษา 2/2563 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สอน-ผู้เรียน ผลการประเมิน ด้านผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวมศักยภาพทุกด้านอยู่ในระดับมาก ขึ้นไป ได้แก่ ทักษะศตวรรษที่ 21 (4.10+-0.81) ความมีคุณค่าในตนเอง (4.06+-0.78) ความผูกพัน (4.11+-0.81) และความพึงพอใจต่อโครงการ /นวัตกรรม (4.02+-0.83) อยู่ในระดับมากขึ้นไป เกิดการเรียนรู้ ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง มากกว่าการเรียนรูปแบบเดิม ด้านผู้สอนระบุว่ามีศักยภาพต่อการ สอนแบบบูรณาการ เพิ่มขึ้นมาก นวัตกรรมนี้มีประโยชน์ได้ความรู้ใหม่ ๆ ในการจัดระบบสนับสนุนความรู้ในและนอกห้องเรียน เสนอให้พัฒนาเป็นรายวิชาของวิทยาเขตฯ และขยายกลุ่มเป้าหมายต่อไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

อาจารย์ธาม  เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว กล่าวว่า “โครงการนวัตกรรมบูรณาการเรียนร่วมฯ เป็นแนวคิดพัฒนาต่อยอดจากรายวิชาออกแบบชีวิต CGGE 101 Life Design ที่ต้องการนำเอาแนวความคิดเชิงออกแบบ (design thinking) มาประยุกต์ใช้สำหรับนักศึกษาวิทยาเขตอำนาจเจริญ บนแนวคิด “เป็นเลิศทางวิชาการ เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ สมดุลวิชาชีชีวิต” เพื่อให้นักศึกษามีศักยภาพด้านการเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ในศตวรรษที่ 21 แนวคิดการพัฒนา 4i- Integration, Inclusion, Instantly and Innovation ก็เพื่อการแก้ปัญหาว่า ในการศึกษาเรียนรู้ปัจจุบัน การจัดชุดสำหรับวิชาต่างๆ ที่พยายามให้นักศึกษามีมุมมองรอบด้าน ยอมรับความหลากหลายวิชาชีพ และ มีมายด์เซ็ทแบบเปิดกว้างที่จะเข้าใจว่าในการแก้ปัญหาของมนุษย์ในปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะใช้ศาสตร์เชิงเดี่ยวอย่างเดียวได้ แต่จะต้งบูรณาการข้ามศาสตร์ให้ฝึกมีมุมมองเปิดกว้าง และที่ดีที่สุด คือ การบูรณาการความรู้ในชั้นเรียนระดับปริญญาตรีทันที ไม่ควรต้องรอหลังเรียนจบ ไปประกอบวิชาชีพก่อน จึงจะมองเห็นภาพการบูรณาการ

 

“นวัตกรรมบูรณาการเรียนร่วม มิใช่สิ่งที่ยากในการจัดการเรียนการสอน แต่จะทำให้ผู้สอนสามารถลดภาระด้านการสอนได้ลงมาก ตั้งแต่เนื้อหาการเรียนการสอน การมอบหมายสั่งงานการบ้าน การทำกิจกรรมคู่ขนานนอกชั้นเรียน และ การจัดเสวนาต่างๆ รวมไปถึงต้นทุน งบประมาณด้านการจัดการเรียนการสอนที่ลดลงแต่มีประสิทธิภาพมากขึ้น” อาจารย์ธาม กล่าวสรุป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ด้าน รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวว่า “นับเป็นความยินดีที่ทางสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กฯ ได้ทำงานร่วมกันกับเครือข่าย โดยเฉพาะวิทยาเขตดำนาจเจริญ ที่นำโครงการ Safety Hunter และ โครงการ Life Design ไปพัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับนักศึกษามหิดล สะท้อนว่าการทำงานร่วมกันระหว่างส่วนงานทั้งสองเป็นไปได้ และ เป็นการทำงานที่สะท้อนความสุขและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะโครงการ Life Design ที่นำไปสู่การต่อยอดออกแบบกระบวนการเรียนการสอนเชิงบูรณาการได้ และได้รับรางวัลในสาขา “Innovative Teaching Award 2021” ซึ่งอยากจะให้ขยายผลไปยังวิทยาเขตกาญจนบุรี และนครสวรรค์ด้วยเช่นกัน และขอบคุณทางวิทยาเขตอำนาจเจริญที่ให้โอกาสสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก ในการทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชน ตลอดจนนักศึกษาของวิทยาเขต และพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ผผู้สอนผ่านโปรแกรมนี้”

 

ด้าน ผศ.ดร.วิทยา แก้วศรี หัวหน้าโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า “โครงการบูรณาการเรียนร่วม ทำให้นักศึกษาที่วิทยาเขตอำนาจเจิรญ ได้พัฒนาศักยภาพตนเองในการเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะศักยภาพที่สำคัญในการพัฒนาด้านวิชาชีพที่ควบคู่กับวิชาการ อยากจะให้คณาจารย์ได้นำโครงการดังกล่าว ที่ได้รับรางวัลนวัตกรรมการเรียนการสอน ประจำปี 2564 ไปเผยแพร่ อบรม แบ่งปันความรู้สำหรับคณาจารย์คนอื่นๆ ต่อไป และขอขอบคุณทางสถับนแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็ก ที่มอบชุดนิทรรศการ Safety Hunter ให้กับวิทยาเขตอำนาจเจริญ ในการใช้สำหรับการพัฒนานิทรรศการในลักษณะออนไซต์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กในพื้นที่ห่างไกลจากส่วนกลาง ให้สามารถเข้ามาศึกษาเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน ซึ่งน่าจะช่วยลดสถิติการเสียชีวิตและบาดเจ็บของเด็กได้ในอนาคต” การประชุมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs ข้อ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี 4 การศึกษาที่มีคุณภาพและข้อ 10 ลดความเหลื่อมล้ำ 17 ความร่วมมือเพื่อพัฒนาที่ยั่งยืน)


 

เพรสข่าว “ฝ่ายสื่อสารองค์กร ” ติดต่อ นายนฤชิต ตันประยูร นักประชาสัมพันธ์ รักษาการหัวหน้างาน
tel 0-2441-0602-8 ต่อ 1201 email
naruechit.tun@mahidol.ac.th
หรือ
นางสาวธีรารัตน์ สองเมือง นักวิเทศสัมพันธ์  tel 0-2441-0602-8 ต่อ 1217
email  teerarat.son@mahidol.ac.th