1. กิจกรรม/ผลงาน “สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้นแบบ New Normal”
2. รายชื่อเจ้าของกิจกรรม/ผลงาน
- นางบุษยรัต ซื่อดีและคณะครูศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
- นางงามตา รอดสนใจ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงแก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ
- รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
3. ที่มาและความสำคัญของผลงาน
การพัฒนาจุดเริ่มต้นของชีวิต (early life development) และการพัฒนาปฐมวัย (early childhood development)ครอบคลุมตั้งแต่ตัวอ่อนในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 8ปี หรือเทียบเท่าการพัฒนาสมอง 3000 วันแรกของชีวิตมีผลต่อศักยภาพ และสุขภาพตลอดชีวิตของมนุษย์ ระบบการดูแลสุขภาวะและส่งเสริมการเรียนรู้ปฐมวัยจึงเป็นมากกว่าการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
(preschool education) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวมทั้งร่างกาย สติปัญญา จิตใจอารมณ์ สังคม และความปลอดภัย สร้างรากฐานที่มั่นคงส าหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากสถานการณ์ COVID-19 ระลอก1-3 มีผลท าให้ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไม ่สามารถจัดบริการการดูแลและการศึกษาได้ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จึงจัดทำโครงการ“สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้นแบบ New Normal” เพื่อสร้างรูปแบบการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและโรงเรียนอนุบาลรองรับ
สถานการณ์ การระบาดของโรค COVID 19และขยายผลสู่การรับรู้สาธารณะ
ผังรายการทักษะเด็กปฐมวัย ห่างไกล COVID เพื่อแนะน ารูปแบบการจัดกิจกรรมให้กับผู้ปกครอง และมีการจัดกิจกรรมสนทนา(ประสา) ครอบครัว ผ่านทาง Online และจากการส ารวจความต้องการของผู้ปกครองในการจัดบริการเดือนมิถุนายน 2563 พบว่า ร้อยละ 45ผู้ปกครองไม ่สามารถดูแลบุตรหลานได้ จึงเป็นเหตุจ าเป็นที่ศูนย์พัฒนาเด็กฯ ต้องเปิดด าเนินการภายใต้รูปแบบการบริการแบบ New Normalและน าไปขยายผลผ่านกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการบริการในสถานการณ์ COVID-19 ร่วมกับเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยทั่ ว
ประเทศ ให้สามารถน าไปประยุกต์ใช้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของตนเอง มุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็ กภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 นอกจากนี้ยังมีการประชุมวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นเด็กปฐมวัย ในหลากหลายมิติร่วมกัน เครือข่ายผู้ดูแลเด็กมีจ านวนเพิ่มมากขึ้นกว่า 10,000 คน ภายในเดือนมิถุนายน 2564 และในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19ระลอก 3 ที่ยังส่งผลต่อสุขภาวะของเด็กปฐมวัย
ศูนย์พัฒนาเด็กฯ จึงพัฒนาต่อยอดรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย New Normal เป็นหลักสูตรออนไลน์ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New Normal ระลอก 3ผ่านกิจกรรมการสนทนารายวันภายใต้โครงการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาลNew normal ระดับ 3เพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 น าไปสู่การเรียนรู้และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้ร่วมกันในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
4. การดำเนินงาน
4.1 โครงการผังรายการทักษะเด็กปฐมวัย ห่างไกล COVID เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 และ โครงการบทเรียนออนไลน์เรื่อง “เล่นกับลูกเล่นกับหลาน สร้างสมอง สามพันวัน ในระหว่างการหยุดท าการเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19ศูนย์พัฒนาเด็กฯ ออกแบบกิจกรรมรายการทักษะเด็กปฐมวัย ห่างไกล COVID และน ากิจกรรมเผยแพร่ให้ผู้ปกครอง ผ่าน Application Line กลุ่ม CFHappy Family โดยเผยแพร่กิจกรรมเป็นตารางกิจวัตรประจ าวันส าหรับเด็กปฐมวัย ให้ครอบครัวสามารถท ากิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการที่บ้าน โดยครอบคลุมกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย พัฒนาการทางด้านภาษา พัฒนาการทางด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านสังคม และพัฒนาการด้านสติปัญญากระบวนการรู้คิดรวมทั้ง ทั้งได้เผยแพร่ให้ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศ รวมทั้งชุมชน ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กอื่นๆสามารถนำไปใช้ได้โดยไม ่มีค่าใช้จ่ายผ่านระบบ social media
4.2 สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย NEW NORMAL ปี 2563 ในเดือนมิถุนายน 2563 มีผู้ปกครองบางส่วนต้องกลับเข้าทำงาน ไม ่มีผู้เลี้ยงดูหลักสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวจึงได้จึงพัฒนาแนวทางการดูแลเด็ก New normal โดยออกแบบพื้นที่ห้องเรียน New Normalพัฒนาระบบการรับ -ส่งเด็ก Onlineส าหรับคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและคัดกรองความเสี่ยงของครอบครัวเด็กจากการสัมผัสเชื้อ COVID-19 รายวันออกแบบจุดคัดกรองเด็กก่อนเข้าภายในพื้นที่ห้องเรียน นอกจากนี้ยังได้ก าหนดขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น ขั้นตอนในการรับส่งเด็กในรูปแบบ New Normalการออกแบบพื้นที่ New Normalโดยการเพิ่มห้องเรียน และแบ่งกลุ่มย่อยห้องเรียน (Bubble) ให้มีเด็กในแต่ละกลุ่มย่อยไม ่เกิน 10คน รวมถึงการการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กNew Normal
การดำเนินงานดังกล่าวได้มีการประเมินผลลัพธ์การติดเชื้อ COVID-19เพื่อใช้ประกอบพิจารณาประสิทธิภาพของกระบวนการจัดทำศูนย์พัฒนาเด็ก new normal โดยวิธีการตรวจทางน้ าลายที่สัปดาห์ที่สองและสี่ของการด าเนินงาน ผลปกติทุกรายไม ่พบการติดเชื้อทั้งสองครั้ง
4.3 เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว สถาบันฯ น าองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเปิดให้บริการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยรูปแบบ New Normal จัดเวทีอบรมแลกเปลี่ ยนเรี ยนรู้ “ต้นแบบ ศูนย์พัฒนาเด็ กปฐมวั ย New normal” ขยายผล ในวันที่ 25 - 30 มิ ถุนายน 2563 จ านวน5 รอบ ผ่านทาง Online ด้วย Application Zoomมีผู้เข้าเวที แลกเปลี่ ยนเรียนรู้ทั้งหมด 2,423 คน เป็นครูจากศูนย์ เด็ กเล็ ก74 จังหวัด มีศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยจากจังหวัดนครปฐมรวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจ านวน 49 หน่วยงาน
ต่อมาได้ยอดผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวและจัดให้มีการประชุมวิชาการประเด็นเด็กปฐมวัย ในมิติต่างๆ ทุกวันอาทิตย์เดือนละ 1ครั้ง โดยไม ่มีค่าใช้จ่าย ผ่าน Application Zoomปัจจุบันมีเครือข่ายผู้ดูแลเด็กมากกว่า 10,000 คน
4.4 โครงการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New Normal ระลอก 3 ปี 2564 ในสถานการณ์ COVID-19 ระลอก 3ในปัจจุบันสถาบันฯ ได้เปิดหลักสูตรออนไลน์ “ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New Normal ระลอก 3” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาล ครอบครัว และชุมชน ได้ติดตามสถานการณ์ COVID 19 เตรียมวิธีการดูแลเด็กๆให้พร้อม ให้ทันต่อรูปแบบการระบาดของโรคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เนื้อหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์ COVID-19 ในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กปฐมวัย การบริหารจัดการความเสี่ยงภายในสถานศึกษา รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์ส าหรับเด็กปฐมวัย การตระหนักรู้และการท าความเข้าใจสุขภาวะของเด็กปฐมวัยร่วมกับผู้ปกครอง และองค์ความรู้อื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลเด็ก ให้สามารถน าไปปรับใช้ได้จริงภายใต้บริบทของแต่ละพื้นที่ โดยเป็นการสนทนารายวันร่วมกับวิทยากรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงจากศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นระยะเวลา 2เดือน ระหว่างการเปิดภาคเรียนใหม ่ปีการศึกษา 2564 และ เมื่อสถานการณ์เอื้อ านวยต่อการเปิดบริการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยสาธิตและอนุบาลสาธิตของสถาบันแล้วจะด าเนินการถ่ายการด าเนินงานจริงและน าสู่การอภิปรายเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งประเทศผ่านเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวต่อไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงาน
5. สรุปเกี่ยวกับผลงาน
1) เด็กปฐมวัยและผู้ปกครองมีตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ เป็นแนวทางการดูแลเด็ก และการเรียนรู้ผ่านการเล่นที่สอดคล้ องกับพัฒนาการร่วมกันขณะปิดภาคเรียน หรือต้องอยู่บ้านในภาวะฉุกเฉินเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กๆ ก่อนเปิดภาคเรียน และช่วยลดพฤติกรรมที่ไม ่พึงประสงค์ ลดการใช้กิจกรรม Online ที่ส่งผลกระทบกับพัฒนาการเด็ก ลดภาวะความเครียดของผู้ปกครอง และส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
2) ได้รูปแบบการดู แลเด็ กและจั ดกิ จกรรมการเรี ยนการสอน ตามมาตรการ New Normal ส าหรับเด็ กอายุ 1 ปี6เดือนถึง 6 ปี ไปขยายผลเผยแพร่ให้คุณครูปฐมวัย และผู้ท างานด้านการดูแลเด็ก พัฒนาเป็นเครือข่ายเรียนรู้ต่อเนื่องส าหรับผู้สนใจเข้าอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเด็กปฐมวัย
3) ขยายผลเผยแพร่รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา การจัดกลุ่มย่อย (Bubble) การจัดการห้องเรียนและสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดูแลเด็กปฐมวัย ภายใต้การแพร่ระบาดของ COVID-19 และสามารถขยายผลองค์ความรู้ได้ทันต่อสถานการณ์ สอดคล้องกับการแพร่ระบาดที่ผันผวนในขั้นวิกฤต รวมทั้งการขยายผลรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและกระบวนการรู้คิดส าหรับเด็กปฐมวัยภายใต้มาตรการการป้องกันการระบาดของ COVID-19 (ใส่หน้ากาก อยู่ห่าง ล้างมือ)
4) ได้เครือข่ายผู้ที่เข้ามารับการอบรมและเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ต่อเนื่อง ตั้งต้นจ านวนมากกว่า 2,500 คน และขยายเครือข่ายมากกว่า10,000 คน ในเดือนมิถุนายน 2564
6. ผลลัพธ์/ประโยชน์
การจัดท าผังรายการทักษะเด็กปฐมวัย ห่างไกล COVID เป็นการรวบรวมแนวทางการจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ให้สามารถพัฒนาศักยภาพตามวัย ครูปฐมวัยสามารถเป็นผู้น าออกแบบการเล่นรู้ ผู้ปกครองสามารถเป็นผู้น ากิจกรรม ปรับประยุกต์กิจกรรมให้สอดคล้องกับบริบทในครอบครัวของตนเอง
การจัดเวทีอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ต้นแบบ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย New Normal” นั้นเกิดเวทีการเรียนรู้ร่วมกัน และถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายมิติ ไปยังสมาชิกในเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม พัฒนาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์และรายการสนทนารายวัน เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID19 ระลอก3
7. การนำไปใช้
การจัดท าผังรายการทักษะเด็กปฐมวัย ห่างไกล COVID เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องกับกิจวัตรประจ าวันที่โรงเรียน เป็นแนวทางในการดูแลและเล่นกับเด็กๆ ให้เด็กและผู้ปกครองมีเวลาคุณภาพร่วมกันมากกว่าการดูสื่อ Online สามารถสร้างเครือข่ายผู้ดูแลเด็ก ส าหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเด็กปฐมวัยร่วมกันระหว่างสมาชิกกับผู้เชี่ยวชาญของสถาบัน พัฒนาความร่วมมือด้านการดูแลเด็กปฐมวัย การส่งเสริมพัฒนาการเด็กรอบด้านอย่างเป็นองค์รวม ในรูปแบบ New Normal วิถีชีวิตใหม ่ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด COVID 19
8. อื่นๆ ที่มีความสำคัญกับโครงการ
ในช่วงสถานการณ์ปิดสถานศึกษาทั้งหมดในเดือนมีนาคม – พฤษภาคม 2563 ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยได้พัฒนาห้องเรียนปฐมวัยออนไลน์ที่มุ่งเน้นการสอนพ่อแม ่ให้เล่นกับลูกเป็น โดยได้ด าเนินรายการ 2 รูปแบบได้แก่
- บทเรียนออนไลน์เรื่อง “เล่นกับลูกเล่นกับหลาน สร้างสมอง สามพันวัน” ซึ่งเป็นวิดิโอคลิป ที่สอนให้พ่อแม ่ท าของเล่นง ่ายๆและน าไปเล่นกับลูกได้เองที่บ้าน เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนเมษายน 2563
- โครงการผังรายการทักษะเด็กปฐมวัย ห่างไกล COVID-19 เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563
ทั้ง 2 รายการได้มีการเผยแพร่ให้ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศ รวมทั้งชุมชน ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กอื่นๆสามารถน าไปใช้ได้โดยไม ่มีค่าใช้จ่ายผ่านระบบ Social Media