Select Page

เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 31 ตุลาคม 2564 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้จัด "รายการเปิดบ้านศูนย์เด็กปฐมวัยนิวนอร์มอล-3 ถอดบทเรียนและการเตรียมความพร้อมการเปิดศูนย์เด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์โควิด-19" ซึ่ง วิทยากรของสถาบันฯได้แลกเปลี่ยนบอกเล่าประสบการณ์ ดังนี้

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบัน ได้กล่าวถึงประเด็น“ถอดบทเรียนความพร้อมศูนย์เด็กปฐมวัย” ว่าต้องเตรียมอย่างไรบ้าง แนวทางปฏิบัติในการคัดกรอง ต้องกำหนดให้การติดเชื้อในเด็กปฐมวัย เป็น 0 เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดและเป้าหมายที่สำคัญของการควบคุมการระบาดในพื้นที่ ได้แนะนำการจัดการสำหรับศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และโรงเรียนอนุบาลต้องดำเนินการแบบชีวิตวิถีใหม่(new normal) อย่างเคร่งครัด

คุณงามตา รอดสนใจ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบูรณาการเครือข่าย ได้แนะนำในเรื่อง “มาตรฐานและเงื่อนไขในการเปิดสถานดูแลเด็กปฐมวัยในสถานการณ์โควิด-19” ว่าต้องเตรียมการอย่างไร และแนวทางในการ ดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ

ผศ.พญ.แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารคลินิกและศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ถอดบทเรียน ในเรื่อง“การเตรียมผู้ปกครอง และเตรียมศูนย์เด็ก” ต้องเตรียมการอย่างไรในสถานการณ์โควิด สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ถอดบทเรียนการสื่อสารเพื่อเตรียมผู้ปกครองและเตรียมบุคลากร เตรียมเด็กอย่างไร ในการให้เด็กตรวจ ATK และรูปแบบการตรวจ ATK รวมถึงการให้ข้อมูลกับเด็กทำให้เด็กรุ้ สึกปลอดภัยไม่บังคับ และสร้างความคุ้นเคย และเป้าหมายของการจัดการให้เกิดความสมดุล การป้องกันการแพร่กระจายโรค พัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก และทรัพยากรของแต่ละสถานที่

คุณครูบุษยรัต ซื่อดี รักษาการหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย “นำทีมถอดบทเรียนประสบการณ์การดูแลเด็กปฐมวัย รูปแบบ New normal” ในการดูแลเด็กปฐมวัยรูแบบ New Normal ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID 19 การรองรับการฟื้นฟูหลังการระบาดโควิด19 ระลอก3 ควรมีระบบแผนเฝ้าระวัง และการจัดการความเสี่ยง ในช่วงเดือนตุลาคม 2564 การเตรียมความพร้อมผู้ปกครอง ในการทำกิจกรรมสนทนา(ประสา)ครอบครัว ของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย การตรวจ ATK รวมถึงการจัดการห้องเรียน ในรูปแบบ ที่กำหนด รวมถึงการรับผู้ดูแลเด็ก (อาสา) เพื่อดูแลเด็กในช่วงสถานการณ์โควิดเพิ่มขึ้น ซึ่งทางศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยได้เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา

คุณครูไพจิตตรี ชาญเดชรัตนะ ครูปฐมวัย มาแชร์ข้อมูลการรับส่ง-เด็ก และระบบคัดกรองรายวัน ซึ่งทางศูนย์เด็กจะขอความร่วมมือผู้ปกครองให้มารับส่งเด็กในช่วง 7.30-9.00 น. พอมาถึง จะให้ผู้ปกครองได้คัดกรองผ่านระบบ Google form เพื่อการตอบข้อมูลเบื้องต้นในการคัดกรอง ให้ผู้ปกครองส่งในพื้นที่ scan วัดไข้ หน้าทางเข้าตึก การทำกิจกรรมต่าง ๆ และในทุกวันจันทร์ จะแนะนำการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับน้อง ๆ เพื่อเตรียมมาใช้ที่ศูนย์พัฒนาเด็กว่ามีอะไรบ้าง การล้างมือ การใส่แมส การจัดที่นอนสำหรับเด็ก ควรมีลักษณะอย่างไร และยกตัวอย่าง การทำความสะอาดของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย

คุณครูเพ็ญนภา นาคหล่อ มาแชร์ประสบการณ์การดจัดการเกี่ยวกับการดูแลโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัยในช่วงสถานการณ์โควิด ในรูปแบบ new normal เทคนิคที่ใช้เป็นการวางแผนในการจัดการพื้นที่ในการจัดเตรียมโต๊ะ ระยะห่างที่เหมาะสม แยกทานเฉพาะบุคคล และไม่ใช้อุปกรณ์ร่วมกัน เมนูส่งเสริมสุขภาพและอาหารที่หลากหลาย และระวังการแพ้อาหารของเด็ก การแยกอาหารตาม Bubble และจัดเตรียมการรับประทานอาหารในพื้นที่ Bubble ของตนเอง

คุณครูนรมน ดิษฐสกุล และ คุณครูนันท์กนก พัชรนิธิอำไพ แชร์ประสบการณ์การดูแลเด็กในระดับชั้นปฐมวัย อายุระหว่าง 1 ขวบ ครึ่ง ถึง 3 ขวบ แบ่งเด็กในแต่ละห้องเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 10 คน เมื่อเปิดเรียนใหม่ ๆ ก็ปรับตัวให้กับเด็ก ๆ ใช้สื่อต่างๆ สร้างความสัมพันธ์ให้เด็กได้ผ่อนคลาย ใช้สื่อเพลงในการทำสันทนาการให้เด็กได้ เกิดการเรียนรู้โดยใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายในการนำมาสอนเด็กๆ สอนให้เด็ก ๆ ได้ใส่แมส เข้าใจเหตุผลของการใส่เป็นการป้องการเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย การทำกิจกรรมออกกำลังกาย ชักชวนให้เด็กมาออกกำลังกาย และออกแบบกิจกรรมใหม่ ๆ ให้เด็กในแต่ละวันเพื่อเพิ่มความสนใจให้กับเด็ก

คุณครูมาริสา สังขารและคุณครูจิราภา สิงห์เงา แชร์ประสบการณ์การดูแลเด็กระดับชั้นอนุบาล เล่ากิจกรรมต่างในระดับชั้นอนุบาล 1-3 การเตรียมกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับเด็ก ต้องเตรียมแผนการสอน แต่ในเวลาปฏิบัติจริงต้องเตรียมแผนสำรองในการเตรียมการสอน เน้นเพิ่มในช่วงสถานการณ์โควิด คือแบ่งเด็กออกเป็น Bubble การสวมแมส ระยะห่างและการล้างมือ เด็กเรียนรู้สามารถปฏิบัติตามได้ 100 % กิจกรรม my self เป็นการสร้างความคุ้นเคย เพื่อพัฒนาทักษะในกล้ามเนื้อมัดเล็ก พัฒนาทักษะความพร้อมทางวิชาการและสติปัญญา การเรียนรู้จักพยัญชนะผ่านชื่อตนเอง และแนะนำตัวอย่างกิจกรรมต่าง เพื่อให้เด็กได้พัฒนาทักษะด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ ความพร้อมทางวิชาการ

อาจารย์ ดร.ประภัสสร พวงสำลี อาจารย์ประจำสถาบันฯเด็ก มาแนะนำกิจกรรมสันทนาการดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยในสถานการณ์โควิด-19 การจัดเตรียมความพร้อมในการจัดห้องเพื่อจัดกิจกรรมสันทนาการ ออกแบบกิจกรรมโดยไม่ต้องสัมผัสกัน ประโยชน์ที่ได้จากกิจกรรม เพื่อฝึกความกล้าแสดงออก พร้อมกระตุ้นการสังเกตของเด็ก ๆ ซึ่งเด็ก เรียนรู้ผ่านเสียงเพลง

อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อัพเดทสถานการณ์ด้านกฎหมายและนโยบายโควิด-19 ไทยและเทศ อัพเดทการฉีดวัคซีนในเด็กและอัพเดทข้อมูลต่าง ๆ ที่ ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 อัพเดทสำหรับโรงเรียนและนักเรียนในการเตรียมตัวการเปิดเทอม แนะนำมาตราฐานการตรวจแนวทางในการเตรียมความพร้อมในการประเมินในการเตรียมการเปิดสำหรับศูนย์เด็กที่จะเปิดในเดือนพฤศจิกายน ของ UNICEF THAILAND และแนะนำแนวทางเตรียมความพร้อมของสถานศึกษาในการเปิดภาคเรียน

ซึ่งรายการเปิดบ้านศูนย์เด็กปฐมวัยนิวนอร์มอล-3 ถอดบทเรียนและการเตรียมความพร้อมการเปิดศูนย์เด็กปฐมวัยภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ทางสถาบันได้นำประสบการณ์จากการเปิดศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมา การจัดการถอดบทเรียนผ่านระบบ ZOOM Meeting และ Facebook Live NICFD Mahidol. มีผู้เข้าร่วมการถอดบทเรียนในครั้งนี้กว่า 1,700 คน ซึ่งการจัดงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างต้นแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีระบบการเฝ้าระวังการติดเชื้อและมีการจัดการแบบชีวิตวิถีใหม่ (new normal) ภายใต้การแพร่ระบาดของ COVID 19 ที่เริ่มควบคุมได้บ้าง และสร้างต้นแบบสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ที่มีความพร้อมรับเด็กที่มีความเครียดและภาวะบอบช้ำทางใจ (trauma informed education and care) อันเป็นผลกระทบจากการระบาดของโรค covid-19

ซึ่งตรงกับ SDGs ข้อ 3. สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย ข้อ 4. สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ข้อ 10. ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ ข้อ 11. ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและยั่งยืน และข้อ 16. ส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุม เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรม และสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผล รับผิดชอบ และครอบคลุมในทุกระดับ