ชื่อส่วนงาน : สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (National Institute for Child and Family Development)
ชื่อส่วนงานย่อย : งานบริหารทั่วไป General Administration Section
ชื่อเรื่อง : โครงการสอบแข่งขันออนไลน์ระดับประเทศหัวข้อ “วิทยาศาสตร์เพื่อการป้องกันอุบัติภัยและโรคระบาดโควิด-19”
(National online competitive exam on Topic “Science for Disaster Prevention and the Covid-19”)
ชื่อหัวหน้าโครงการหรือผู้รับผิดชอบโครงการ : นางสาวมาริสา นิ่มกุล Miss.Marisa Nimkul
สอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2563 – 2566)
ยุทธศาสตร์ที่ 3 Policy Advocacy and Leaders in Professional / Academic Services
นางสาวมาริสา นิ่มกุล |
สืบเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกของเรา ทำให้เด็กยุคนี้ต้องเผชิญกับอุบัติภัยและโรคระบาดใหม่ๆ เช่น การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) ระลอกใหม่ในขณะนี้ ทำให้เด็กๆ ต้องอยู่ที่บ้าน เรียนหนังสือที่บ้านในขณะเดียวกันก็ทำให้เด็กๆ มีเวลาศึกษาค้นคว้าความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองมากขึ้น
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงจัดให้มีการสอบแข่งขันระดับประเทศในรูปแบบออนไลน์สำหรับเด็กในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน 2564 โดยมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการและเรียนออนไลน์ จำนวน 351 คน สมัครเข้าสอบแข่งขันออนไลน์และส่งคลิปวีดีโอ จำนวน 130 คน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 44 คน, ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 43 คน และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 43 คน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ให้ผู้เข้าเรียนลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
ขั้นตอนที่ 2 ผู้เข้าเรียนเข้าเรียนหลักสูตรต่างๆ ของสถาบันฯ ได้แก่ หลักสูตรเยาวชนไทยกู้ภัยโควิด ขั้นต้น-ขั้นกลาง, หลักสูตร The safety Hunter ภารกิจพิชิตจุดเสี่ยง และหลักสูตรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 3 ค้นหาปัญหาที่เกิดขึ้น ตั้งสมมติฐาน ทดลองแก้ไขปัญหา และสรุปผลลัพธ์ที่ได้ โดยนำเสนอออกมาในรูปแบบคลิปวีดีโอหัวข้อ “ออกแบบการแก้ปัญหาแบบนักวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันโควิด-19 ภายในครอบครัว”
ขั้นตอนที่ 4 ผู้ลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมการสอบแข่งขันออนไลน์
ขั้นตอนที่ 5 ดำเนินการสอบแข่งขันออนไลน์ระดับประเทศเรื่องโรคระบาดโควิด-19
ขั้นตอนที่ 6 เข้าร่วมงานประกาศและสรุปกิจกรรม โดยผลงานการออกแบบคลิปวีดีโอของเด็กๆ ได้ถูกนำไปเผยแพร่ยังสื่อสาธารณะ ได้แก่ Facebook : NICFD Mahidol, Website Cf.mahidol.ac.th และกลุ่ม Line ต่างๆ
ผลการประเมินพบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความตั้งใจในการทำกิจกรรมมาก โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจจำนวน 78 คน เห็นว่าระยะเวลาในการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมมากคิดเป็นร้อยละ 78.2, Application ที่ใช้ตลอดการจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมมาก จำนวน 63 คน คิดเป็นร้อยละ 80.8 ได้รับความรู้ในการจัดกิจกรรม โดยได้รับความรู้มาก จำนวน 72 คน คิดเป็นร้อยละ 92.3 กิจกรรมสอบแข่งขันออนไลน์นี้มีประโยชน์มาก จำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ 93.6 และหากทางสถาบันฯ จัดกิจกรรมอีกผู้เข้าร่วมโครงการสนใจเข้าร่วม จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งหัวข้อที่อยากให้มีการจัดกิจกรรมอีก ได้แก่ กิจกรรมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ สิ่งรอบตัว สิ่งแวดล้อมและการนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การคัดแยกขยะ แปรรูปขยะ หรือการออกค่าย การตั้งครรภ์ไม่พร้อม การใช้สื่อออนไลน์ที่มาเหมาะสม และเรื่องของการใช้เทคโนโลยี เป็นต้น ข้อเสนอแนะ เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กได้รับความรู้และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน และเด็กๆได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
National Online Competition on Topic “The Scientific for Disaster Prevention and the Corona Virus Disease (COVID-19)” (In brief)
Global environmental change is affecting the children in this generation. They are facing new disasters and epidemics such as Corona Virus Disease or COVID-19 that outbreak in this day. From this situation, children are required to stay and study at home. At the same time, it gives children more time to study and research various knowledge on their own. The National Institute for Child and Family Development, Mahidol University and Child Safety Promotion and Injury Prevention Research Center (CSIP), the Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital had organized the National online competition for children during February - April 2021 on the topic “The Scientific for Disaster Prevention and the Corona Virus Disease (COVID-19)”. There are 351 people who apply to this competition and study online courses and 130 people submit video clips on how to prevent the COVID-19. The performance of their work is public on online platforms such as Facebook, Website, and Line. Finally, this activity allows children to gain knowledge, express themselves creatively, and can use their free time productively.