ชื่อMU-SDGs Case Study: |
งานอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน
|
|||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||
ส่วนงานร่วม: |
–
|
|||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
|
|||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
งานสร้างเสริมสุขภาพ และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บ ภาควิชาการกุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี
|
|||||
คำอธิบาย: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (NICFD) และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บ (CSIP) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเล็งเห็นว่าเด็กวัยเรียน/นักเรียน ควรมีความสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลรวมทั้งได้รับการดูแล ความคุ้มครองและสร้างทักษะความสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ถูกทำร้ายและปลอดจากภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจึงจัดโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนและการรับรองโรงเรียนปลอดภัย ในนาม “MU Safe School” ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียน พัฒนาความรู้และทักษะความปลอดภัยแก่บุคลากรและครู สนับสนุนรูปแบบการดำเนินงานและยกระดับการรับรองโรงเรียนปลอดภัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ สถานศึกษา-โรงเรียน ผู้บริหารบุคลากรและครูในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนละแวกโรงเรียน
|
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก มีรายงานสถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 ถึงพ.ศ. 2557 รวม 13 ปี พบว่า อัตราการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บและสารพิษของเด็กลดลงจาก 26:100,000 คน หรือ3,625 คนต่อปี เหลือ 22:100,000 คน หรือ 2,658 คนต่อปี คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตลดลงร้อยละ18 พบแนวโน้มการเสียชีวิตลดลงในกลุ่มเด็กน้อยกว่า 10 ปีแต่กลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปีมีแนวโน้มการเสียชีวิตสูงขึ้น สาเหตุการเสียชีวิตจากจมน้ำเป็นเหตุหลักที่นำไปสู่การเสียชีวิตของเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี และการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรพบมากในกลุ่มเด็กอายุ 10-14 ปี ส่วนการขาดอากาศหายใจจากเหตุต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุนำการเสียชีวิตลำดับที่ 3 ของเด็กเล็กหรือเด็กปฐมวัย รองจากจมน้ำและบัติเหตุจราจร ส่วนไฟฟ้าเป็นเหตุนำการเสียชีวิตลำดับที่ 3 ของเด็กโตหรือเด็กวัยเรียน รองจากอุบัติเหตุจราจรและความรุนแรงโดยปัจจัยของการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บมีความสัมพันธ์กับ พัฒนาการของเด็ก สิ่งแวดล้อมเสี่ยง/อันตราย รวมทั้งความอ่อนแอของการดูแลและการคุ้มครองเด็กนอกจากนี้กลุ่มที่ไม่เสียชีวิตแต่บาดเจ็บจนต้องรับการรักษาทั้งคลินิก,สถานีอนามัยและโรงพยาบาล มีจำนวนกว่า 1,500,000 คนต่อปีและร้อยละ18 ของเด็กที่บาดเจ็บมารับการตรวจรักษาที่ห้องฉุกเฉินเป็นการบาดเจ็บที่เกิดในโรงเรียนหรือระหว่างทางไปกลับโรงเรียนประมาณปีละ270,000คน
ระบบการศึกษาภาคบังคับทำให้เด็กส่วนใหญ่ใช้ชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในโรงเรียนอย่างน้อย 12 ปี พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก 2546 หมวด 7 การส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษากำหนดให้โรงเรียนและครูมีหน้าที่จัดการและส่งเสริมความปลอดภัยแก่นักเรียนและหน่วยงานกำกับดูแลสถานศึกษาและเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก ร่วมมีมาตรการและส่งเสริมให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัย เช่น โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีคู่มือแนวทางปฏิบัติและมาตรการรักษาความปลอดภัยของสถานที่ และร่วมมือกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินงานและประกวด โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพมี 10 ตัวชี้วัดด้านสุขภาวะและความปลอดภัย เป็นต้น เพื่อสนับสนุนส่งเสริมความปลอดภัยและสุขภาวะแก่นักเรียนและบุคลากร ซึ่งสถานการณ์การบาดเจ็บและเสียชีวิต ความไม่ปลอดภัยของเด็กหรือนักเรียนในโรงเรียนยังมีพบเห็นอยู่ มาตรการและการสนับสนุนยังไม่ครอบคลุมและทั่วถึงแก่โรงเรียนทุกสังกัดไม่มีตัวอย่างรูปแบบสร้างความปลอดภัยในโรงเรียน รวมทั้งยกระดับรับรอง “โรงเรียนปลอดภัย” ตัวอย่างให้เกิดขึ้น
การสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนเป็นการพัฒนางานด้านความปลอดภัยของนักเรียนให้ปราศจากภัยอันตราย อุบัติเหตุจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก และปราศจากการถูกทำร้ายและความรุนแรงในรูปแบบต่างๆ โดยโรงเรียนมีนโยบายและแผนงานที่มุ่งลดความเสี่ยง จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ลดพฤติกรรมอันตรายหรือเสี่ยงต่อการบาดเจ็บทางร่างกาย จิตใจ และสังคมทั้งในกลุ่มเด็กปกติและเด็กที่ต้องการความช่วยเหลือ
ในระดับสากลมีการรวมตัวของผู้แทนนานาประเทศจัดตั้งศูนย์รับรองชุมชนปลอดภัยระหว่างประเทศหรือInternationalSafe CommunityCertifyingCentre(ISCCC)เป็นหน่วยงานรับรองและมีเครือข่ายชุมชนปลอดภัย (SafeCommunityNetwork)ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 ให้สอดคล้องกับนโยบายขององค์การอนามัยโลกที่มุ่งเน้นการสร้างเสริมความปลอดภัย( SafetyPromotion ) ในการป้องกันและลดการเสียชีวิตจากบาดเจ็บ อุบัติเหตุและความรุนแรง โดยหน่วยงานนี้เป็นศูนย์กลางพัฒนารูปแบบดำเนินงานและให้การรับรองแต่งตั้ง “ชุมชนปลอดภัย” และ “โรงเรียนปลอดภัย”เพื่อเป็นตัวอย่างการเรียนรู้การดำเนินงานและวัฒนธรรมความปลอดภัยในสังคมนั้น ทั้งนี้ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ได้รับแต่งตั้งเป็นหน่วยประสานและสนับสนุนชุมชนปลอดภัยในประเทศไทย (International Safe Community Supporting Centre) ในการขับเคลื่อนดำเนินงานชุมชนปลอดภัยและโรงเรียนปลอดภัยประเทศไทย
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว (NICFD) และศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บ (CSIP) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดลเล็งเห็นว่าเด็กวัยเรียน/นักเรียน ควรมีความสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม ที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลรวมทั้งได้รับการดูแล ความคุ้มครองและสร้างทักษะความสามารถช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ ถูกทำร้ายและปลอดจากภัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้าน โรงเรียน ชุมชนและสังคมจึงจัดโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียนและการรับรองโรงเรียนปลอดภัย ในนาม “MU Safe School” ขึ้น เพื่อพัฒนาสุขภาวะและความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียน พัฒนาความรู้และทักษะความปลอดภัยแก่บุคลากรและครู สนับสนุนรูปแบบการดำเนินงานและยกระดับการรับรองโรงเรียนปลอดภัย โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ สถานศึกษา-โรงเรียน ผู้บริหารบุคลากรและครูในโรงเรียน นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชนละแวกโรงเรียน
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG4 เป้าประสงค์ย่อย : 4.c , 4.a , 4.7 , 4.5
|
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ |
||||||
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง : |
SDG8 เป้าประสงค์ย่อย : 8.6 , 8.3
|
Key Message | ||||||
สร้างเสริมความปลอดภัยในโรงเรียน เพื่อสุขภาวะและชีวิตที่ดีของเด็กวัยเรียน |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link) |
||||||
URL: |