โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในชุมชนสำหรับการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึงสามปีด้วยหลักสูตร Go baby go : Parenting Programmed

ชื่อMU-SDGs Case Study:
โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในชุมชนสำหรับการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึงสามปีด้วยหลักสูตร Go baby go : Parenting Programmed
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
ผู้ดำเนินการหลัก:
ผศ.ดร. วสุนันท์ ชุ่มเชื้อ
ผู้ดำเนินการร่วม:
Starfish Labz
คำอธิบาย:
สร้างสื่อประกอบการเรียนรู้หลักสูตรการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย เืพ่อพัฒนาและส่งเสริมพัฒนาการด้านสมองและร่างกาย สำหรับครู ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็ก

จากผลการดำเนินการโครงการเสริมสร้างศักยภาพเครือข่ายเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึงสามปี Go Baby Go: Parenting program ในปี 2562 ตั้งแต่มีนาคม 2562 ถึง เมษายน 2563 ที่ผ่านมา  โดยมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ทำให้ได้ผลลัพธ์เป็นชุดเครื่องมือในการดำเนินงานตามหลักสูตรเสริมสร้างทักษะการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึงสามปี ได้แก่

•คู่มือพัฒนาการเด็กและแนวทางการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึงสามปี

•สมุดคู่มือการเลี้ยงเด็กสำหรับพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดูเด็ก
•บัตรประกอบการเล่าเรื่องเพื่อชวนคิดชวนคุยสำหรับผู้เอื้อกระบวนการและผู้ช่วยเอื้อกระบวนการ
•คู่มือผู้เอื้อกระบวนการ และแบบติดตามเยี่ยมบ้าน

นอกจากนี้ยังมีผู้ผ่านการอบรมเป็นพี่เลี้ยง ผู้เอื้อกระบวนการ และผู้ชวนเอื้อกระบวนการ ทั้งสิ้น 132 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อนำไปถ่ายทอดและดำเนินกระบวนการต่างๆ นอกจากนี้ยังมีผู้ผ่านการอบรมเป็นพี่เลี้ยง ผู้เอื้อกระบวนการ และผู้ชวนเอื้อกระบวนการทั้งสิ้น 132 คน ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พยาบาล ครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อนำไปถ่ายทอดและดำเนินกระบวนการต่างๆ

จากการดำเนินงานทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการเสนอความคิดเห็นในการพัฒนาหลักสูตรและการดำเนินงานในระยะต่อไปให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจากผู้เข้ารวมอบรม โดยมีแนวทางในการพัฒนาเครื่องมือในรูปแบบเอกสารคู่มือผู้เอื้อกระบวนการหลักสูตรทักษะการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึงสามปี ให้มีภาพประกอบดึงดูด เนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย สะดวกต่อการสื่อสาร และนำไปใช้งานได้ง่ายขึ้น เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้นำไปจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมด้วยตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นผู้ดำเนินการโครงการดังกล่าว ได้เล็งเห็นความสำคัญได้ในการขยายผลต่อยอดการดำเนินงานโครงการในปีที่สองให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องการพัฒนาสื่อดิจิตอลมีเดีย เพื่อประกอบการใช้งานเครื่องมือหลักสูตรผ่านทางคู่มือผู้เอื้อกระบวนการหลักสูตรทักษะการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิดถึงสามปีให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายอันได้แก่ กลุ่มพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็ก เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ปฏิบัติจัดทำกิจกรรมกลุ่มได้ด้วยตนเอง อันเป็นการขยายผลการดำเนินงานโครงการให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อเด็กแรกเกิดถึงสามปีได้โดยตรง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม :
SDG4     เป้าประสงค์ย่อย :   4.2
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง
โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง :
SDG3     เป้าประสงค์ย่อย :   ไม่ระบุ
SDG10     เป้าประสงค์ย่อย :   ไม่ระบุ
Key Message

มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นว่า สถาบันเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในองค์ความรู้ และต้นแบบด้านการพัฒนาเด็กและครอบครัว จึงได้ดำเนินงานจัดทำข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้บริการด้านวิชาการการพัฒนาเด็กปฐมวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ที่ห่างไกล และกลุ่มเด็กเปราะบางซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินงานโครงการช่วยเหลือและพัฒนาเด็กปฐมวัย มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย  เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้ฯ โดยการจัดทำสื่อวิดีโอเผยแพร่ในช่องทางออฟไลน์ (VDO Plus Print) เพื่อให้ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก อาสาสมัครสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ภาครัฐใช้ประกอบการทำกิจกรรมกลุ่ม

Links ข้อมูลเพิ่มเติม
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link)
URL: