ชื่อMU-SDGs Case Study: |
หลักสูตรผู้ประคอง : การสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ด้วยการเลี้ยงดูเชิงบวก
|
|||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||
ส่วนงานร่วม: |
–
|
|||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
ผศ.ดร. ปนัดดา ธนเศรษฐกร
|
|||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการ ภาคประชาชนผู้สนใจ
|
|||||
คำอธิบาย: |
ดำเนินการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในหลักสูตร “หลักสูตรผู้ประคอง : การสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ด้วยการเลี้ยงดูเชิงบวก ” โดยเข้าร่วมอบรมผ่านระบบ moodle e – learning ทั้งหมด 3 บทเรียน และมีการพบปะผ่านระบบออนไลน์ zoom application 2 ครั้ง บทที่ 1 ผู้ปกครอง Vs. ผู้ประคอง บทที่ 2 ผู้ประคอง ต้องทำใจ ประมวลสาระ 3 เรื่อง พัฒนาการองค์รวม การทำงานของสมอง 3 ส่วน หลักการสร้างวินัยเชิงบวก บทที่ 3 เครื่องมือประเมินความพร้อมตนเองของ “ ผู้ประคอง ” “ผู้ประคอง”หากผู้ประคองจะไม่คิดแทน ทำแทน และให้โอกาสให้เด็ก ๆ สร้างตัวตน และพัฒนาความรู้สึกนึกคิดตัวเองแล้ว ผู้ประคองต้องให้ความสำคัญกับการฝึกใน และ ใคร่ครวญ ทบทวนสะท้อนคิดถึงการเลี้ยงดูของตนเอง
|
หลักการและเหตุผล
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการโครงการการขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เด็กปฐมวัยนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาและส่งเสริม สนับสนุน และยกระดับศักยภาพของศูนย์เด็กเล็กของกรุงเทพมหานคร ให้มีขีดความสามารถในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กปฐมวัยที่มีความเปราะบางให้ได้รับการพัฒนาต่อไป การแก้ปัญหาเด็กในครอบครัวยากจน โดยเฉพาะครอบครัวมีภาวะวิกฤตร่วมด้วย ต้องเสริมด้วยพลังการดูแลในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในชุมชนเป็นพลังเสริมที่นับได้ว่าเป็นทุนที่สำคัญของชุมชน ในการดูแลเด็กกลุ่มเปราะบางนี้ โดยมีความรู้ เกี่ยวกับการความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย ต่อการพัฒนาตลอดช่วงวัย และ ผลกระทบของการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม และ ประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีความสามารถในการประเมินพัฒนาการเด็ก ทั้งทางด้านสุขภาพ พฤติกรรม อารมณ์ สังคม ความรู้คิด และ EF การประเมินเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต มีความรู้และความสามารถในการฟื้นฟูเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตทั้งทางด้านสุขภาพ พฤติกรรม อารมณ์ สังคม สภาพจิตใจ พฤติกรรมของเด็ก ความรู้คิด และEF มีความสามารถในการวางแผน และพัฒนาระบบบริการของตนเองเพื่อให้เป็นบริการที่มีความไวต่อการค้นหา และฟื้นฟูเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตและมีบาดแผลทางใจ เห็นความสำคัญในการค้นหา แก้ไข ฟื้นฟู และป้องกันปัญหาเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม และได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต
เป้าหมาย
เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กในชุมชนและหน่วยบริการเด็กปฐมวัยทุกรูปแบบ ครูและผู้ดูแลเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและนอกระบบการศึกษา ผู้ให้บริการสุขภาพในสถานพยาบาล และผู้ทำหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและคุ้มครองเด็กทุกระดับ เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และ ผู้บริหารหน่วยงาน
- มีความรู้ เกี่ยวกับการความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย ต่อการพัฒนาตลอดช่วงวัย และ ผลกระทบของการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม และ ประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
- มีความสามารถในการประเมินพัฒนาการเด็ก ทั้งทางด้านสุขภาพ พฤติกรรม อารมณ์ สังคม
ความรู้คิด และ EF การประเมินเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต - มีความรู้และความสามารถในการฟื้นฟูเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตทั้งทางด้านสุขภาพ พฤติกรรม อารมณ์ สังคม สภาพจิตใจ พฤติกรรมของเด็ก ความรู้คิด และEF
- มีความสามารถในการวางแผน และพัฒนาระบบบริการของตนเองเพื่อให้เป็นบริการที่มีความไวต่อการค้นหา และฟื้นฟูเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตและมีบาดแผลทางใจ
- เห็นความสำคัญในการค้นหา แก้ไข ฟื้นฟู และป้องกันปัญหาเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม และได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- ด้านความรู้ ผู้รับการฝึกอบรม
- สามารถอธิบายการพัฒนามนุษย์ตลอดช่วงวัยและผลกระทบจากการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน
- สามารถอธิบายเครื่องมือการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้งด้านพฤติกรรม อารมณ์ สังคม และเครื่องมือการประเมินทักษะความรู้คิดและ EF
- สามารถอธิบายพยาธิสรีรวิทยาของความเครียดเป็นพิษอันเกิดขึ้นเนื่องจาก ความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตของเด็ก และอธิบายประเภทต่างๆของประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต ที่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดทางใจได้
- สามารถอธิบาย แนวทางการฟื้นฟูเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม
- สามารถอธิบาย วิธีการวางแผน และพัฒนาระบบการเรียนรู้และดูแลเด็กปฐมวัยที่ความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต เครือข่ายที่เกี่ยวข้องระดับท้องถิ่น จังหวัด และส่วนกลาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ด้านทักษะ ผู้รับการฝึกอบรม
- สามารถประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัยทั้งด้านพฤติกรรม อารมณ์ สังคม และวิธีการประเมินทักษะความรู้คิดและEF
- สามารถประเมินอาการความเครียดเป็นพิษในเด็ก และประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต-ภาวะวิกฤตครอบครัว-การเลี้ยงดูไม่เหมาะสม
- สามารถให้การดูแลและจัดการเรียนรู้เพื่อฟื้นฟูเด็กที่ได้รับผลกระทบจากการเลี้ยงดูไม่เหมาะสมโดยแนวทางการดูแลเด็กเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมและอารมณ์เชิงบวก การเล่นสู่การเปลี่ยนแปลง การจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมพัฒนาการและลดความเครียดและระดับเป็นพิษแก่เด็ก การทำงานกับครอบครัว และกับชุมชน
- สามารถเขียนแผน ด้านงบประมาณ สิ่งของ สิ่งแวดล้อม และกำลังคนในการพัฒนาระบบการเรียนรู้และดูแลเด็กปฐมวัยที่ความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต
- สามารถสร้างความร่วมมือกับเยาวชน ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานสหวิชาชีพเพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตอย่างต่อเนื่อง
- สามารถค้นหา ประเมิน บำบัดฟื้นฟูเบื้องต้น และแนะนำการส่งต่อแก่ พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็กอื่นๆ ผู้ทำงาน และตนเอง ที่ได้รับผลกระทบจากความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต เพื่อให้สามารถดูแลเด็กต่อเนื่องต่อไปได้
- ด้านเจตคติ ผู้รับการฝึกอบรม
- ตระหนักในเรื่องผลกระทบจากการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ต่อการพัฒนามนุษย์ตลอดช่วงวัย
- ตระหนักในเรื่องผลกระทบของความเครียดเป็นพิษและความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต และยอมรับความจำเป็นของการป้องกันและการบำบัดฟื้นฟูให้เร็วที่สุดตั้งแต่ระยะแรกที่ค้นพบ
- ตระหนักในคุณค่าบทบาทของตน ในการค้นหา ประเมิน บำบัดฟื้นฟู ส่งต่อ และป้องกันเด็กที่ได้รับผลกระทบจากความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต
- ตระหนักในคุณค่าบทบาทของตนในการบริหารจัดการให้กระบวนการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต ดำเนินได้อย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ
- ตระหนักในคุณค่าบทบาทของตน ในการค้นหา ประเมิน บำบัดฟื้นฟูเบื้องต้น และแนะนำการส่งต่อแก่ พ่อ แม่ ผู้ดูแลเด็กอื่นๆ ผู้ทำงานที่ได้รับผลกระทบจากความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต เพื่อให้สามารถดูแลเด็กต่อเนื่องต่อไปได้
- ตระหนักในคุณค่าบทบาทของตนในการสร้างความร่วมมือกับเยาวชน ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานสหวิชาชีพเพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตอย่างต่อเนื่อง
ดำเนินการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในหลักสูตร “คิดส์(KIDS) จะคิด คิดสร้างสรรค์ในเด็กปฐมวัย”
โดยเข้าร่วมอบรมผ่านระบบ moodle e – learning ทั้งหมด 3 บทเรียน และมีการพบปะผ่านระบบออนไลน์ zoom application 2 ครั้ง
บทที่ 1 ผู้ปกครอง Vs. ผู้ประคอง
บทที่ 2 ผู้ประคอง ต้องทำใจ ประมวลสาระ 3 เรื่อง
พัฒนาการองค์รวม
การทำงานของสมอง 3 ส่วน
หลักการสร้างวินัยเชิงบวก
บทที่ 3 เครื่องมือประเมินความพร้อมตนเองของ “ ผู้ประคอง ”
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG4 เป้าประสงค์ย่อย : 4.a , 4.7
|