ชื่อMU-SDGs Case Study: |
โครงการพัฒนา EF ในกระบวนการดูแลและเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัยทั้งมวล
|
|||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||
ส่วนงานร่วม: |
–
|
|||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
|
|||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
–
|
|||||
คำอธิบาย: |
ท่ามกลางสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของเด็กและเยาวชนที่มีความเปราะบาง พบว่า ปัจจุบันการจัดบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนที่มีความเปราะบางหรือที่มีความต้องการพิเศษยังขาดกลไกและบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ และขาดมาตรฐานในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษด้านการเรียนรู้เหล่านี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางวิชาการ ในการให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นช่องว่างในการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษด้านการเรียนรู้
|
ภาพเด็กไทยที่ทุกคนอยากเห็น คือ มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง, เก่ง สามารถเรียนรู้ และแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ และดี โดยรู้จักแยกแยะถูกผิดชอบชั่วดี รวมทั้งมีความสุข มองโลกในแง่ดีและปรับตัวได้ยามเผชิญความเครียด ซึ่งทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับการทำงานของสมองรวมทั้งประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กได้เรียนรู้ โดยเฉพาะสมองส่วนการรู้คิดและบริหารจัดการ (Executive Function in the Brain: EF) เป็นการทำงานของสมองส่วนหน้า (Prefrontal cortex) ซึ่งเป็น CEO หัวหน้าของสมอง มีหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ การทำงาน (Working Memory) การควบคุมตนเอง ยับยั้งชั่งใจ (Inhibitory Control) และมีความยืดหยุ่น ปรับตัวแก้ปัญหาได้เอง (Cognitive Flexibility) ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 ในโลก VUCA (Volatility Uncertainty Complexity Ambiguity) ที่ผันผวนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วรุนแรงและซับซ้อน และในสังคมที่เต็มไปด้วยสิ่งล่อใจให้เกิดความอยาก หากไม่ได้รับการฝึกทักษะในการควบคุมตนเอง เพื่อชะลอความอยาก และหยุดคิดไตร่ตรองตั้งแต่วัยเด็ก จะส่งผลเด็กขาดการยับยั้งชั่งใจ ส่งผลให้ตัวเองตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง เช่น เสพยาเสพติด ติดเกม ท้องก่อนวัยอันควร ถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้และอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา จากผลการสำรวจของโครงการ MICS5 ในปี พ.ศ. 2559 มีเด็กอายุ 3-4 ปี ร้อยละ 84.7 กำลังเรียนในหลักสูตรปฐมวัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครอบครัวมีการส่งเสริมเด็กให้เข้าเรียนตั้งแต่ปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ และเตรียมความพร้อมมากขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้มักไม่ครอบคลุมกลุ่มเด็กพิเศษเด็กพิการ รวมทั้งกลุ่มเด็กเปราะบางทางสังคมที่ไม่ได้อยู่ในการสำรวจ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรมีการจัดกระบวนการดูแลสุขภาวะและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การศึกษาของ Isaranurug S และคณะ ชี้ให้เห็นว่า การศึกษาของ มารดา รายได้ครอบครัว ภาวะวิกฤตในครอบครัว และการอบรมจากผลการสำรวจของโครงการ MICS5 ในปี พ.ศ. 2559 มีเด็กอายุ 3-4 ปี ร้อยละ 84.7 กำลังเรียนในหลักสูตรปฐมวัย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ครอบครัวมีการส่งเสริมเด็กให้เข้าเรียนตั้งแต่ปฐมวัย เพื่อส่งเสริมพัฒนาการ และเตรียมความพร้อมมากขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลเหล่านี้มักไม่ครอบคลุมกลุ่มเด็กพิเศษเด็กพิการ รวมทั้งกลุ่มเด็กเปราะบางทางสังคมที่ไม่ได้อยู่ในการสำรวจ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ควรมีการจัดกระบวนการดูแลสุขภาวะและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การศึกษาของ Isaranurug S และคณะ ชี้ให้เห็นว่า การศึกษาของ มารดา รายได้ครอบครัว ภาวะวิกฤตในครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูของบิดามารดามีความสัมพันธ์กับพัฒนาการเด็กอายุ 1-5 ปี ท่ามกลางสถานการณ์การเพิ่มขึ้นของเด็กและเยาวชนที่มีความเปราะบาง พบว่า ปัจจุบันการจัดบริการสาธารณะเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนที่มีความเปราะบางหรือที่มีความต้องการพิเศษยังขาดกลไกและบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กกลุ่มนี้ และขาดมาตรฐานในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษด้านการเรียนรู้เหล่านี้ จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางวิชาการ ในการให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่เป็นช่องว่างในการยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษด้านการเรียนรู้ดังนั้น สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนิน โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริม สนับสนุน และยกระดับศักยภาพของศูนย์เด็กเล็กของเขตจังหวัดนครปฐม ให้มีขีดความสามารถในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กปฐมวัยที่มีความความเปราะบางให้ได้รับการพัฒนาต่อไป รวมทั้งการส่งเสริมให้ครูมีความรู้และทักษะด้านEF
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG4 เป้าประสงค์ย่อย : 4.c
|