โครงการวิจัยและพัฒนาการออกแบบกิจกรรมสนามเด็กเล่นบนฐานการพัฒนาทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัย

ชื่อMU-SDGs Case Study:
โครงการวิจัยและพัฒนาการออกแบบกิจกรรมสนามเด็กเล่นบนฐานการพัฒนาทักษะสมอง EF ในเด็กปฐมวัย
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
ผู้ดำเนินการหลัก:
ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร
ผู้ดำเนินการร่วม:
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
คำอธิบาย:
พัฒนากิจกรรมสนามเด็กเล่นบนพื้นฐานการพัฒนาสมอง EF และพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมสนามเด็กเล่นบนฐานพัฒนาสมอง EF สำหรับผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย และประเมินประสิทธิผลของกิจกรรมสนามเด็กเล่นบนฐานพัฒนาสมอง EF สำหรับผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย

สนามเด็กเล่นส่งเสริมทักษะสมอง EF ระหว่างที่เด็ก ๆ กำลังเล่นในสนามเด็กเล่น หากมองภายนอก อาจดูหมือน เด็ก ๆ ขยับเขยื้อนแค่ร่างกายเท่านั้น แต่หากมองลึกลงไปภายในแล้ว จะพบว่าที่เด็ก  ๆ สามารถผ่านโจทย์ท้าทายของสนามเด็กเล่นได้ เป็นเพราะว่า ทักษะสมอง EF ของเด็ก ๆ กำลังขยับเขยื้อน ทำงานอย่างหนักหน่วงอยู่ด้วยเช่นเดียวกันนั่นเอง เพื่อควบคุมให้เกิดทักษะทางกายภาพ เช่น ความสมดุลของร่างกาย การประสานงานของตา มือ ขา ทักษะสมอง EF ยังกำกับให้เกิด ทักษะทาง อารมณ์ – สังคม เช่น การควบคุม จัดการอารมณ์ การมีสมาธิจดจ่อ การทำตามกฎ กติกา และทักษะด้านสติปัญญา เช่น การแก้ไขปัญหา กล่าวได้ว่า ยิ่งร่างกายขยับเล่นเครื่องเล่นต่าง ๆ ในสนามเด็กเล่น ก็ยิ่งกระตุ้นให้ทักษะสมอง EF ได้ฝึกฝนทำงานอย่างต่อเนื่องนั่นเอง

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม :
SDG4     เป้าประสงค์ย่อย :   ไม่ระบุ
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง :
SDG17     เป้าประสงค์ย่อย :   17.14