ชื่อMU-SDGs Case Study: |
โครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมสำหรับผู้เลี้ยงดูเด็ก เรื่องการสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัยด้วยการเลี้ยงดูเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างเป็นองค์รวม
|
|||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||
ส่วนงานร่วม: |
–
|
|||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร
|
|||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย
|
|||||
คำอธิบาย: |
เพื่อพัฒนาหลักสูตรอบรมการสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ด้วยการเลี้ยงดูเชิงบวกสำหรับผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย พัฒนาคู่มือการเลี้ยงดูเชิงบวก สำหรับผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยและเพื่อประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรอบรมการสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดภัยด้วยการเลี้ยงดูเชิงบวกสำหรับผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
|
ทักษะสมอง EF ที่พัฒนาขึ้นในวัยเด็ก เป็นตัวทำนายความสำเร็จในอนาคต ทั้งในเรื่องการเรียน การงาน และความสัมพันธ์ นอกจากนี้ทักษะสมอง EF ยังมีความสัมพันธ์กับความสามารถด้าน ภาษา คณิตศาสตร์ ทักษะอารมณ์ – สังคม และปัญหาพฤติกรรมของเด็ก และเยาวชน และที่สำคัญที่สุด ทักษะสมอง EF ยังสอดคล้องกับทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม ซึ่งถือเป็น 4 ทักษะสำคัญ ที่เด็กจำเป็นต้องมีในศตวรรษที่ 21 อีกด้วย
ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมทักษะสมอง EF เด็กปฐมวัย คือการเลี้ยงดู บุคคลที่สำคัญในที่นี้คือ คุณพ่อคุณแม่ ครูปฐมวัย และผู้เลี้ยงดูที่ใกล้ชิดเด็กปฐมวัย เด็กที่ได้รับการพัฒนาทักษะสมอง EF ที่ดี จะสามารถกำกับความรู้สึก ความคิด และการกระทำของตนเอง ไปจนถึงเป้าหมายได้ และแน่นอนว่า เด็ก ๆ จะสามารถดูแลตนเองในชีวิตประจำวันจนเป็นทักษะ และวินัยในตนเอง ได้ ก็จำเป็นต้องอาศัยทักษะสมอง EF
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG4 เป้าประสงค์ย่อย : ไม่ระบุ
|
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง : |
SDG17 เป้าประสงค์ย่อย : 17.14
|