ชื่อMU-SDGs Case Study: |
โครงการพัฒนาแบบทดสอบความถนัดสำหรับเยาวชน และหลักสูตรค่ายเยาวชนตามความถนัดของผู้เรียน
|
|||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||
ส่วนงานร่วม: |
–
|
|||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
ผศ.ดร.พัชรินทร์ เสรี
|
|||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
ศูนย์พัฒนาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
|
|||||
คำอธิบาย: |
เพื่อพัฒนาแบบทดสอบความถนัดตามหลักการพหุปัญญา และพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความรู้และทักษะความถนัดสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และให้ความรู้ครูในการใช้แบบทดสอบความถนัดตามหลักการพหุปัญญาและส่งเสริมความถนัดสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
|
ความสามารถหรือความถนัดตามหลักคิดพหุปัญญาสามารถแบ่งได้ 9 ด้าน คือด้านความคิดแบบเหตุผลและคณิตศาสตร์ ด้านภาษา ด้านดนตรี ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านการเคลื่อนไหว ด้านมนุษยสัมพันธ์ ด้านความเข้าใจตนเอง ด้านธรรมชาติ และด้านการใฝุแก่นสารแห่งชีวิต แต่ในงานโครงการนี้จะตัดด้านสุดท้ายคือด้านการใฝุแก่นสารแห่งชีวิตออก เนื่องจากในกลุ่มที่ศึกษาคือวัยรุ่นตอนต้นยังอาจทดสอบหรือวัดความสามารถด้านนี้ยังไม่ได้ชัดเจน เพราะต้องอาศัยการเจริญเติบโตและวุฒิภาวะในระดับที่สูงกว่าวัยนี้
ภายหลังการเสร็จสิ้นโครงการจะได้ ชุดทดสอบและแบบประเมินความถนัดตามหลักการพหุปัญญาทั้ง 8 ด้าน สาหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีค่าคุณภาพของชุดทดสอบที่อยู่ในระดับที่นาไปใช้ได้ และได้ครูหรือผู้เข้าอบรมชุดทดสอบและแบบประเมินความถนัดที่มีทักษะในการใช้ประเมินนักเรียนเพื่อให้รู้ความถนัดหลักและความถนัดรองเพื่อนเตรียมตัวด้านการศึกษาและความพร้อมด้านอาชีพ อีกทั้งได้ชุดคู่มือแนะแนวการเรียนรู้ตามความถนัด และแนวทางการพัฒนาความรู้และทักษะความถนัดของผู้เรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนในการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG4 เป้าประสงค์ย่อย : ไม่ระบุ
|
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง : |
SDG17 เป้าประสงค์ย่อย : 17.14
|