การขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยนอกระบบในกรุงเทพฯ

ชื่อMU-SDGs Case Study:
การขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยนอกระบบในกรุงเทพฯ
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
ผู้ดำเนินการหลัก:
ผู้ดำเนินการร่วม:
คำอธิบาย:
พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกับภาคีความร่วมมือของหน่วยงาน/องค์กร ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ในเขตกรุงเทพมหานคร

การขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยนอกระบบในกรุงเทพฯ

เป้าประสงค์

  • สร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกับภาคีความร่วมมือของหน่วยงาน/องค์กร ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • เกิดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และติดตามช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ทั้งในและนอกระบบการศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • แนวทางการค้นหา คัดกรอง และช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจนและด้อยโอกาสที่อยู่นอกระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบบริการของรัฐที่จัดเตรียมไว้
  • แนวทาง-หลักสูตรการอบรมครู/อาสาสมัครดูแลเด็ก และถ่ายทอดกระบวนการจัดการเรียนการสอนและเครื่องมือที่พัฒนาครู/อาสาสมัครดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อเตรียมให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมก่อนเข้าเรียนต่อในระดับประถมศึกษา
  • เครือข่ายความร่วมมือของภาคี ทั้งภาคปฏิบัติการและภาคนโยบาย ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยนอกระบบ
  • ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อรองรับขยายผลการพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยนอกระบบ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร

วัตถุประสงค์

  • พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกับภาคีความร่วมมือของหน่วยงาน/องค์กร ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • พัฒนาให้เกิดระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการวางแผนลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และติดตามช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ทั้งในและนอกระบบการศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • พัฒนาแนวทางการค้นหา คัดกรอง และช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจนและด้อยโอกาสที่อยู่นอกระบบการศึกษา ให้กลับเข้าสู่ระบบบริการของรัฐที่จัดเตรียมไว้
  • พัฒนาแนวทาง-หลักสูตรการอบรมครู/อาสาสมัครดูแลเด็ก และถ่ายทอดกระบวนการจัดการเรียนการสอนและเครื่องมือที่พัฒนาครู/อาสาสมัครดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน เพื่อเตรียมให้เด็กปฐมวัยมีความพร้อมก่อนเข้าเรียนต่อในระดับประถมศึกษา
  • พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของภาคี ทั้งภาคปฏิบัติการและภาคนโยบาย ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยนอกระบบ
  • จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อรองรับขยายผลการพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและเด็กปฐมวัยนอกระบบ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร

ผลผลิต/ผลลัพธ์

  • กลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย ได้รับความช่วยเหลือไม่น้อยกว่า 10,000 คน และเด็กปฐมวัยนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร ได้รับความช่วยเหลือให้สามารถเข้ารับบริการยังศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน หรือ โรงเรียนอนุบาล ได้อย่างเหมาะสม ไม่น้อยกว่า 1,000 คน
  • ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของชุมชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำ อย่างน้อย 250 ศูนย์
  • สถานการณ์และบทวิเคราะห์เพื่อการขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เด็กปฐมวัยนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร
  • แนวทางและ/หรือคู่มือการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เด็กปฐมวัยนอกระบบ ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • แนวทางการทำงานร่วมกับชุมชน และครอบครัวผู้ดูแลเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เด็กปฐมวัยนอกระบบ ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • แนวทางการขยายผลการดำเนินงานเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เด็กปฐมวัยนอกระบบ ในเขตกรุงเทพมหานคร
  • ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อรองรับขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เด็กปฐมวัยนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร

กิจกรรมที่ดำเนินการ

  1. เอกสาร วารสาร สื่อต่างๆที่ใช้ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
    ระยะเวลาดำเนินการ: วันที่ 22 กันยายน 2563 และพฤศจิกายน – ธันวาคม 2563
    กลุ่มและจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม: ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานครจำนวน 292 ศูนย์ มีผู้สนใจเข้าเรียน ทั้งหมด 1,631 คน
    ผลที่เกิดขึ้น:
    1. งานเปิด “โครงการการขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยนอกระบบในกรุงเทพมหานคร” วันที่ 22 กันยายน 2563 มีผู้เข้าร่วมงาน จำนวน 292 ศูนย์
    2. ประชาสัมพันธ์ หลักสูตรการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต 10 บทเรียน
  2. ข้อมูลกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยนอกระบบ กรุงเทพฯ ที่ต้องได้รับความช่วยเหลือ
    ระยะเวลาดำเนินการ: กันยายน – ธันวาคม 2563
    กลุ่มและจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม: จำนวนเด็ก : 19,189 คน, คัดกรองแล้ว : 8,092 คน, ยังไม่คัดกรอง : 6,105 คน, แจ้งสาเหตุไม่คัดกรอง : 4,940 คน
    ผลที่เกิดขึ้น:
    1. ประชุมแนะนำโครงการและการใช้งานระบบคัดกรองเด็ก รอบ 1 และ รอบ 2 ดำเนินการคัดกรองเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย กรุงเทพมหานคร
    2. ใช้แบบคัดกรองเด็กปฐมวัยที่ยากจนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (กสศ 01) ดำเนินการคัดกรองในระบบดูแลเด็กปฐมวัย
    3. รอผลการคัดกรองเด็กที่ต้องได้รับการช่วยเหลือ
  3. ผลการพัฒนาคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนของชุมชน กรุงเทพฯ
    ระยะเวลาดำเนินการ: พฤศจิกายน – ธันวาคม 2563
    กลุ่มและจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม
    1. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน เข้าร่วมโครงการ  จำนวน 270 ศูนย์
    2. คุณครูเข้าเรียน หลักสูตรการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต จำนวน 667 คน
    ผลที่เกิดขึ้น: คุณครูศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร จำนวน 270 ศูนย์ เข้าเรียนในหลักสูตรการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายใน จำนวน 667 คน เพื่อเรียนรู้การจัดการดูแลเด็กปฐมวัยที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสูง อยู่ในภาวะยากจน มีภาวะวิกฤตครอบครัว มีแนวโน้มความไม่ยั่งยืนในการใช้บริการระบบศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และเด็กที่อยู่นอกระบบการพัฒนา ได้อย่างเหมาะสม
  4. (ร่าง) แนวทางและ/หรือคู่มือการช่วยเหลือเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เด็กปฐมวัยนอกระบบ กรุงเทพฯ
    ระยะเวลาดำเนินการ: พฤศจิกายน – ธันวาคม 2563
    กลุ่มและจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม: หลักสูตรการเรียนรู้จำนวน 1 หลักสูตร 10 บทเรียน
    ผลที่เกิดขึ้น:
    1. ฝึกอบรมคุณครูศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร เพื่อสนับสนุนการทำงาน การเยี่ยมครอบครัว และการวางแผนการพัฒนาช่วยเหลือเป็นรายบุคคล
    2. หลักสูตรการเรียนรู้ในการดูแลเด็ก หลักสูตรการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต 10 บทเรียน
  5. (ร่าง) แนวทางการทำงานร่วมกับชุมชนและครอบครัวผู้ดูแลเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และเด็กปฐมวัยนอกระบบ กรุงเทพฯ
    ระยะเวลาดำเนินการ: ธันวาคม 2563
    กลุ่มและจำนวนผู้ร่วมกิจกรรม: ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร จำนวน 59 ศูนย์
    ผลที่เกิดขึ้น:
    1. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน กรุงเทพมหานคร จำนวน 59 ศูนย์ ที่คัดกรองเด็กเกิน 80 % เข้าเรียนหลักสูตรการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต
    2. หลังจากเข้าเรียนแล้ว คุณครูเขียนแผนกิจกรรมในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มเสี่ยงสูงและวางแผนการช่วยเหลือเด็กรายบุคล
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม :
SDG1     เป้าประสงค์ย่อย :   ไม่ระบุ
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง
โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง :
SDG2     เป้าประสงค์ย่อย :   ไม่ระบุ
Key Message

พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาร่วมกับภาคีความร่วมมือของหน่วยงาน/องค์กร ในการดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัย ในเขตกรุงเทพมหานคร

Links ข้อมูลเพิ่มเติม
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link)
URL: