ชื่อMU-SDGs Case Study: |
โครงการต้นแบบการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพผู้ดูแลเด็กพิเศษ
|
|||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||
ส่วนงานร่วม: |
–
|
|||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
ผศ.พญ. แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ
|
|||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
นางสาวชุลีวรรณ ประสาทพันธ์ ชมรมผู้ปกครองบุคคลออทิสติก จังหวัดจันทบุรี
|
|||||
คำอธิบาย: |
โครงการนี้เริ่มต้นจากการขยายงานการศึกษาออกสู่บุคคลภายนอก หลักสูตรพัฒนาการมนุษย์ โดยหนึ่งในผู้สมัครเข้าเรียนเป็นตัวแทนกลุ่มพ่อแม่เด็กพิเศษ จังหวัดจันทบุรี ส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงงานการศึกษา งานบริการ และต่อยอดเป็นการสร้างนวัตกรรม งานวิจัยออกสู่ชุมชน
|
โครงการต้นแบบการฝึกอบรมและส่งเสริมอาชีพผู้ดูแลเด็กพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และผู้ด้อยโอกาสให้ได้รับการศึกษาหรือพัฒนา เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพตามความถนัดและมีศักยภาพที่จะพึ่งพาตนเองในการดำรงชีวิตได้ อีกทั้งเพื่อให้กลุ่มพ่อแม่เด็กพิเศษ เด็กพิการในชุมชน ได้รับการยกระดับทักษะ ความรู้และสามารถในการส่งเสริมพัฒนาการลูกของตัวเอง และร่วมเป็นผู้ดูแลเด็กพิเศษ เด็กพิการครอบครัวในชุมชน เพื่อศึกษาและพัฒนารูปแบบ การออกประกาศนียบัตรรับรองอาชีพ “ผู้ดูแลเด็กพิเศษ” ระดับ 1 และผู้ดูแลเด็กพิเศษ” ระดับ 2 ให้กับพ่อแม่เด็กพิเศษ เด็กพิการ นำไปสู่การสร้างรายได้ให้ครอบครัว นอกจากนี้โครงการนี้ได้มีขึ้นเพื่อค้นหา นวัตกรรมอาชีพในชุมชนของ “ผู้ดูแลเด็กพิเศษ” ซึ่งดำเนินงานผ่านกิจกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน มีการสำรวจกลุ่มเป้าหมาย ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อม จัดกิจกรรมให้เหมาะสมตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในชุมชน มีการฝึกอบรมพัฒนาทักษะในการดูแลเด็กพิเศษ มีการถอดบทเรียนและได้ชุดความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน จำนวน 7 บทเรียน โดยตลอดทั้งโครงการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมทั้งสิ้น 50 คน แต่เนื่องด้วยปัญหาสุขภาพและข้อจำกัด จึงมีจำนวนจริง 47 คน
ผลจากการจัดกิจกรรมทำให้หน่วยพัฒนาอาชีพได้ หลักสูตรชุมชน คู่มือ ปฏิทินความรู้และชุดอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ ที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนในจังหวัดจันทบุรี นอกจากนี้กลุ่มเป้าหมายยังได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะจากการฝึกปฏิบัติในการดูแลเด็กพิเศษ เด็กพิการ และได้รับการประเมินคุณภาพให้เป็น “ผู้ดูแลเด็กพิเศษ ระดับ 1 และ ระดับ 2” จากหน่วยพัฒนาอาชีพ ทำให้สามารถต่อยอดเป็นผู้ดูแลเด็กพิเศษในชุมชนต่อไปได้ รวมทั้งพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็กพิเศษมีทัศนคติที่ดีต่อการมองลูกในมุมมองใหม่ โดยมองที่ความแตกต่างของลูก มากกว่ามองโรคที่เป็น และรู้เท่าทันอารมณ์ตัวเอง การดูแลตัวเอง ในการดูแลลูก มีทักษะการใช้เทคโนโลยีเพิ่มขึ้น และเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ของคนในชุมชนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และมีความสัมพันธ์กันมากขึ้น เกิดพลังอำนาจ “Empowerment” จากกิจกรรมระดับครอบครัว ไปสู่ชุมชน ตลอดจนเกิดนวัตกรรมอาชีพผู้ดูแลเด็กพิเศษในชุมชน โดยผู้ที่เข้ารับการอบรมทักษะอาชีพผู้ดูแลเด็กพิเศษต้องมีคุณสมบัติ ประกอบด้วย 1) มีทัศนคติเชิงบวกกับเด็กพิเศษและเข้าใจพ่อแม่เด็กพิเศษ 2) มีความรู้และทักษะพื้นฐานในการดูแลสุขภาพกายใจเด็กพิเศษ (I-CARE) สำหรับบทบาทหน้าที่ คือ 1) คล้ายกับ อสม. แต่มีความจำเพาะกับกลุ่มเด็กเปราะบางในชุมชน 2) ช่วยดูแลเด็กพิเศษ เด็กพิการในพื้นที่ชุมชน 3) เยี่ยมบ้าน ให้คำแนะนำ ฝึกพัฒนาการผ่านเล่น และ 4) ประสานงาน เชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ ดังนั้น ทักษะอาชีพผู้ดูแลเด็กพิเศษ จึงเหมาะสำหรับ 1) บุคคลทั่วไป ไม่จำกัด เพศ อายุ วุฒิการศึกษา และสุขภาพกายใจแข็งแรง (ถ้าเป็นพ่อแม่เด็กพิเศษจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ 2) ทำงานในชมรมเด็กพิเศษ มูลนิธิ หรือศูนย์บริการคนพิการ และ 3) ต้องการทำงานเด็กพิเศษและต่อยอดเป็นอาชีพได้ต่อไป
แนวทางการขยายผลและการต่อยอดโครงการ
1. ประชาสัมพันธ์หลักสูตรสู่หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กพิเศษ และ สื่อสาธารณะต่างๆ
2. ขยายหลักสูตรผู้ดูแลเด็กพิเศษ มืออาชีพ ไปสู่จังหวัดอื่นๆ โดยเน้นการสร้างเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ โดยทางสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวจัดอบรมให้กับบุคลากรสาธารณสุข หรือ นักวิชาชีพจากโรงพยาบาล ศูนย์การศึกษาพิเศษ เพื่อให้เป็น Trainer นำไปอบรมต่อในพื้นที่สู่ศูนย์บริการคนพิการ หรือ ชมรมพ่อแม่เด็กพิเศษในพื้นที่ของตัวเอง
3. พัฒนาศักยภาพผู้เข้าร่วมอบรม ให้ต่อยอดการเรียนรู้ หลักสูตรผู้ดูแลเด็กพิเศษมืออาชีพ ให้ต่อไปถึงระดับสูงขึ้นไป เพื่อช่วยดูแลเด็กพิเศษในชุมชนและพัฒนาเป็นอาชีพได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น
4. เชื่อมต่ออาชีพผู้ดูแลเด็กพิเศษ กับหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานเอกชนในพื้นที่ สร้างคุณค่าให้กับผู้ได้รับประกาศนียบัตรการอบรม ให้นำไปสู่การสร้างอาชีพในพื้นที่ได้จริง
คำสำคัญ : ผู้ดูแลเด็กพิเศษ” ระดับ 1 คือ พ่อแม่คุณภาพ, ผู้ดูแลเด็กพิเศษ” ระดับ 2 คือ ผู้ดูแลเด็กพิเศษในชุมชน
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG1 เป้าประสงค์ย่อย : 1.1
|
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ |
||||||
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง : |
SDG4 เป้าประสงค์ย่อย : 4.a , 4.4
|
Key Message | ||||||
ยกระดับทักษะ ความรู้และสามารถในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษ เด็กพิการ ของกลุ่มพ่อแม่เด็กพิเศษ และร่วมเป็นผู้ดูแลเด็กพิเศษ เด็กพิการในชุมชน นำไปสู่การสร้างรายได้ให้ครอบครัว และสร้างนวัตกรรมอาชีพในชุมชนของ “ผู้ดูแลเด็กพิเศษ” |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link) |
||||||
URL: | https://cf.mahidol.ac.th/th/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%99%e0%b8%b4%e0%b8%81/ |