ร่าง พรบ.มวยเด็ก

ชื่อMU-SDGs Case Study:
ร่าง พรบ.มวยเด็ก
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
– คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้ดำเนินการหลัก:
รองศาสตร์จารย์นายแพทย์ อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผู้ดำเนินการร่วม:
คำอธิบาย:
เด็กที่มีอายุ 0 – 14 ปี ยังมีกะโหลกที่เจริญเติบโตไม่เต็มที่ ข้อต่อกระดูกต่างๆ ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ การได้รับบาดเจ็บจากการชกมวย งผลให้เด็กตัวเตี้ย แคระแกร็นกว่าเด็กปกติ และทำให้หยุดการพัฒนาการ

ในทางการแพทย์พบว่า  เด็กที่มีอายุ 0 – 14 ปี ยังมีกะโหลกที่เจริญเติบโตไม่เต็มที่  เนื้อสมองยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ ข้อต่อกระดูกต่างๆ ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ การได้รับบาดเจ็บจากการชกมวย เด็กอาจได้รับผลกระทบต่อร่างกายโดยรวม และศีรษะจากการขึ้นชก ซึ่งอาจส่งผลให้เด็กตัวเตี้ย แคระแกร็นกว่าเด็กปกติ หากกระดูกใบหน้าแตกหัก จะทำให้หยุดการพัฒนาการ โดยเฉพาะการแตกช้ำซ้ำรอยเดิมจะทำให้โครงสร้างบิดเบี้ยวไปจากคนทั่วไป หากนักมวยเด็กได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะจะส่งผลโดยตรงต่อสมอง เยื่อหุ้มสมองฉีกขาด เลือดคั่งในสมอง หมดสติ อัมพาตเฉียบพลัน ภาวะเคลื่อนไหวช้า ความจำเสื่อม หรือสมองเสื่อมในช่วงวัยกลางคน และอาจทำให้เกิดโรคลมชักได้ อีกทั้งสมองมีโอกาสจะหยุดพัฒนา ซึ่งเท่ากับไม่มีการเติบโต ทำให้ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้  เป็นภาระแก่ครอบครัว และสังคมในระยะยาว

ในปี 2542 สำนักงานกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้ทำการศึกษาเรื่อง “สถานการณ์การชกมวยเด็กในประเทศไทย” พบข้อมูลทางการแพทย์หลายประการที่แสดงถึงอันตรายของกีฬามวยที่มีต่อร่างกาย จิตใจ สมอง สติปัญญา อารมณ์ รวมถึงบุคลิกภาพ ในขั้นรุนแรงที่อาจทำให้อารมณ์แปรปวนและบุคลิกภาพเสื่อม จนถึงขั้นป่วยเรื้องรัง เช่น โรคความจำเสื่อม และโรคพาร์กินสัน พิการ และอาจถึงแก่ชีวิตได้ และได้พบข้อมูลด้านกฎหมายที่ยังไม่มีข้อยุติว่าการที่เด็กชกมวยเป็นการเล่นกีฬาหรือใช้แรงงานเด็ก ขัดต่อบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก ทั้งในระดับชาติ และระดับนานาชาติหรือไม่ ในการศึกษาภาคสนาม ซึ่งทำการสำรวจค่ายมวยจำนวน 50 ค่ายในพื้นที่ 4 ภาค 5 จังหวัด ยังพบว่าเด็กเหล่านี้ส่วนใหญ่ต้องจากครอบครัวมาอยู่ในค่ายมวยตั้งแต่อายุยังน้อย และต้องใช้เวลาฝึกหัดพร้อมขึ้นชกมวยจริงก่อนอายุ 15 ปีเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4-5 ปี จึงจะได้เป็นนักมวยอาชีพ โดยต้องได้รับบาดเจ็บและเสี่ยงต่อสุขภาพตลอดเวลา

งานวิจัยสมองนักมวยเด็ก

ผู้ประกอบการการชกมวยไทย ผู้ฝึกสอนนักมวยไทย และผู้บริหารสมาคมมวยไทยมักมีความเห็นว่าการชกมวยไทยนั้นมีโอกาสบาดเจ็บต่อสมองน้อยมาก เนื่องจากเป้าหมายการเก็บคะแนนของนักมวยมิได้อยู่ที่การต่อยที่ศีรษะเป็นหลักเช่นเดียวกับในมวยสากลสมัครเล่น อย่างไรก็ตามในต่างประเทศมีการศึกษาพบว่าการชกมวยสากลสมัครเล่นมีผลต่อการบาดเจ็บต่อสมอง แม้ว่ารายงานการบาดเจ็บแบบเฉียบพลันนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นการบาดเจ็บต่อระบบร่างกายอื่นมิใช่ระบบประสาท (non cerebral injuries)เช่น การบาดเจ็บต่อฟัน ต่อเรตินา แต่การชกหลายครั้งเป็นระยะเวลาหลายปีจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมองแบบซ้ำๆ (repetitive brain injuries) อันจะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บเฉพาะที่ (focal injuries) ต่อเส้นเลือดขนาดเล็กและการฟกช้ำต่อเนื้อสมองเป็นจุดเล็กๆแต่กระจายหลายจุดในสมอง (small but multifocal extent of microvascular and contusional injuries) และยังก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อสมองแบบทั่วไป (diffuse traumatic brain injuries, DTBI) ทั้งในเซลประสาทและแอกซอน (diffuse neuronal, non neuronal and axonal injuries) พยาธิสภาพทั้งสองแบบก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บทางสมองแบบเรื้อรัง (chronic brain injuries)  ในเด็กซึ่งสมองยังคงมีการเจริญเติบโตและความหนาของกระโหลกศีรษะยังน้อยกว่าผู้ใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กผู้หญิงจะมีโอกาสเกิดอาการบาดเจ็บทางสมองแบบเรื้อรังได้สูงกว่า อีกทั้งการชกมวยในเด็กไทยยังพบว่ามีการปกป้องตนเองและการหลบหลีกน้อย ส่วนใหญ่แล้วจะใช้วิธีเดินหน้าชกคู่ต่อสู้โดยเฉพาะเมื่อมีเสียงเชียร์หรือสั่งโดยผู้ฝึกสอน

ตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้ดำเนินโครงการวิจัยและติดตามในกลุ่มนักมวยเด็ก (Cohort and Cross-sectional Research in Pediatric Boxers) โดยทำการศึกษาสมองนักมวยเด็กด้วยเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเครื่อง MRI ขนาด 3เทสล่า เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างสมองของเด็กที่ชกมวย (323คน) เปรียบเทียบกับเด็กทั่วไปจากสถานะการเงินทางบ้านและสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ชกมวย (253คน) และได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการชกมวยในเด็กอายุต่ำกว่า 15ปี มีผลต่อสมองของเด็ก ดังต่อไปนี้

  • มีเลือดออกในสมองจากการถูกชกหัว การศึกษาพบว่าสมองของเด็กนักมวยมีการสะสมของธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นเป็นปฏิภาคกับระยะเวลาที่ผ่านการชกมวยมา(ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < .01) บ่งชี้ว่ากลุ่มเด็กนักมวยที่ผ่านการชกมวยมากขึ้นจะมีการสะสมของธาตุเหล็กอันเนื่องมาจากเคยมีเลือดออกในสมองและตกค้างอยู่ในเนื้อสมอง เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ พบการสะสมของธาตุเหล็กในบริเวณสมองหลายส่วน
  • เซลสมอง และใยประสาทฉีกขาด และถูกทำลาย ทำให้สมองไม่สามารถสั่งการได้ตามปกติ  การศึกษาพบว่าสมองของเด็กนักมวยมีการซึมของน้ำอย่างมีทิศทางในใยประสาทน้อยลงเรื่อยๆเมื่อผ่านการชกมวยมากขึ้น (ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < .01) บ่งชี้ว่ากลุ่มเด็กนักมวยมีการสูญเสียของใยสมองที่ใช้เชื่อมโยงสมองส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน พบในบริเวณสมองหลายส่วนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รอยต่อระหว่างเนื้อสมองสีเทาและเนื้อสมองสีขาว ซึ่งคล้ายคลึงกับสมองที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์อันเนื่องมาจากการที่สมองมีการถูกกระทบและกระชากอย่างรุนแรง
  • การทำงานของสมองด้านความจำลดลง ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการบกพร่องทางปัญญา หรือภาวะสมองเสื่อมได้ การศึกษาพบว่า เมื่อชกมวยนานขึ้นกลุ่มนักมวยเด็กมีการตอบสนองของสมองในส่วนของความจำน้อยลงๆ(ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ p < .05) บ่งชี้ว่าสมองส่วนความจำมีการทำหน้าที่ได้น้อยลง
  • การทำงานด้านทักษะในการใช้กล้ามเนื้อและมือด้านที่ไม่ถนัดของนักมวยเด็กดีกว่าเด็กทั่วไป ซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกฝนของการชกมวยอย่างต่อเนื่อง
  • ระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็กที่ชกมวยน้อยกว่าของเด็กทั่วไปเกือบ 10คะแนน และยังลดลงอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาในการชก โดยระดับไอคิวของเด็กทั่วไปในประเทศไทยอยู่ระหว่าง 90-110 ซึ่งสามารถเรียนจบระดับอนุปริญญาหรือปริญญาตรี ส่วนนักมวยเด็กที่ขึ้นชกมากกว่า 5ปีมีไอคิว 84คะแนน ซึ่งคะแนนระหว่าง 80-89 จะสามารถเรียนจบระดับมัธยมปลายเท่านั้น

    ข้อเสนอ ในการแก้ไขปัญหาวัตถุประสงค์ของข้อเสนอ เพื่อเปลี่ยนแปลงระเบียบ วิธี ประเพณี ค่านิยมสำหรับการชกมวยไทยในเด็ก อายุต่ำกว่า 15 ปี เท่านั้นเด็กอายุ 15-18 ปี ไม่มีข้อเสนอ เพื่อให้มวยไทยเป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมสำหรับเด็กอายุต่ำว่า 15 ปี ทั่วประเทศไม่ว่าจะรวยหรือจน ทำให้เราสามารถอนุรักษ์มวยไทยไว้ได้ในอนาคตรวมทั้งทำให้เกิดความนิยมในการเล่นสำหรับเด็กทั่วโลกเฉกเช่น เทควอนโด ยูโด และเพื่อให้มวยไทยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15ปี เป็นกีฬาเท่านั้น เป็นกีฬาเพื่อสุขภาพเพื่อการฝึกฝนสำหรับอนาคต เพื่อแข่งขันระหว่าง โรงเรียน ชุมชุน จังหวัด ประเทศ ไม่มีค่าตัว ไม่เป็นการประกอบอาชีพดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองเด็ก และ พรบ.แรงงาน เพื่อความศิวิไลซ์ของกีฬามวยไทย

      1. มวยไทยเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องเป็นเพียง “วัฒนธรรม และ กีฬาสมัครเล่นที่มีกฎกติกาที่เหมาะสมตามอายุ” ต้อง “ไม่เป็นอาชีพ ไม่ทดแทนคุณ ไม่ทารุณกรรม และไม่เป็นการพนัน”
      2. ต้องแก้กฎหมายพรบ.มวยปี 2542 ในประเด็นที่สับสนระหว่างมวยอาชีพกับมวยสมัครเล่น ไม่สอดคล้องไม่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน และพ.ร.บ. คุ้มครองเด็ก กฎหมายค้ามนุษย์  และอนุสนธิสัญญาสิทธิเด็ก ให้กีฬามวยไทยเด็กเป็นมวยสมัครเล่นเท่านั้น
      3. กำหนดเกณฑ์อายุที่ต้องไม่เป็นกีฬาปะทะ ห้ามชกที่ศีรษะ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของสมอง พัฒนาการด้านความคิด การตัดสินใจดัวยตนเองในเด็กวัยต่างๆ หลักการสำคัญ ต่ำกว่า 15 ปี ต้องได้รับการปกป้องจากการจงใจกระทำที่ศีรษะและสมองเพื่อให้ได้คะแนน โดยให้แบ่งแยกตามอายุดังนี้
      4. ไม่มีการแข่งขันแบบปะทะในเด็กอายุต่ำกว่า 9 ปี เช่น แข่งขันโดย “รำมวย แสดงท่าหลากหลาย เตะต่อยเป้า”
      5. เด็กอายุ 9-12 ปี กำหนดกติกาให้ “แข่งแบบปะทะได้ แต่ ไม่มุ่งเป้า ศีรษะ และ ต้องใส่ Body Guard หรือ head Guard เพื่อป้องกันการกระทบศีรษะโดยไม่ตั้งใจด้วย” (การกระทำต่อศีรษะไม่ได้คะแนน แต่จะถูกตัดคะแนน หรือจับแพ้)
      6. เด็กอายุ 13-15 ปี แข่งแบบปะทะได้ มีการปะทะศีรษะแต่เป็นการสัมผัสแบบเล็งเป้าแม่นยำเป็นสัมผัสแบบเบา (light touch) ไม่เน้นการกระทำที่รุนแรงที่ศีรษะ ต้องใส่ Body Guard และ head Guardเพื่อป้องกันความผิดพลาด การใส่ head guard แต่อนุญาตให้กระทำรุนแรงที่ศีรษะไม่ใช่ทางออกการแก้ปัญหา สมาคมมวยสมัครเล่นสากล (AIBA) ให้ยกเลิกการใส่head guardในระดับผู้ใหญ่ (19-40) ปีเนื่องจากมีข้อมูลว่าการใส่ทำให้มีโอกาสการบาดเจ็บแบบ concussion ของสมองมากขึ้น แต่ในผู้หญิง เด็ก และนักชกมือใหม่ ยังไม่ได้สั่งห้าม แต่อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล โดยมีแนวโน้มยกเลิกการใช้ ที่ชก
      7. ในการแข่งขันกีฬาให้กำหนดชก 3 ยก ยกละ 1-1.5 นาที กำหนดช่วงพักระหว่างการชกแต่ละครั้ง  หากมีการบาดเจ็บสมองแล้วต้องพักนานมากขึ้น แต่ละอายุจะมีข้อแนะนำการพักที่แตกต่างกัน
      8. มวยไทยสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องเป็นกีฬา ดำเนินการแข่งขันได้ตามกฎระเบียบใหม่ โดยมีผู้รับผิดชอบในการจัดการแข่งขัน ต้องขออนุญาตจัดการแข่งขันทุกครั้ง
      9. กฎระเบียบใหม่ทั้งหมดต้องมาจากความเห็นของผู้เชียวชาญหลากหลายสาขา มีหลักฐานบ่งบอกสอดคล้องกับค่านิยมการกีฬาอื่นๆสากล สามารถผลักดันเป็นมาตรฐานที่ประเทศอื่นรับรองได้ และนำมวยไทยกับระเบียบใหม่ไปใช้ได้กับเด็กทั่วโลก (กฎระเบียบจะต้องมีข้อปลีกย่อยตามกลุ่มอายุเช่น 5 – 9 – 12 – กลุ่มที่มากกว่า 15 เป็นต้น)
      10. เผยแพร่ข้อบังคับ กฎระเบียบตามกฎหมายฉบับนี้ออกสู่ประชาชนโดยเร็ว เพื่อให้ได้รับทราบและช่วยกันสอดส่อง ดูแล ลด และขจัดการชกมวยที่ผิดกฎหมายไม่ได้มาตรฐานซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่มาตรฐานกีฬามวยไทย นักมวย เด็กที่เข้ามาเป็นนักมวยฝึกหัก และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
      11. เร่งรัดระบบการตรวจสอบ ติดตาม มาตรการที่ใช้ในการตรวจ กำกับ ดูแลค่ายมวย สนามมวย อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยต่างๆ รวมถึงบริการตรวจสุขภาพและการประกันอุบัติเหตุ อุบัติเหตุส่วนบุคคล ทั้งในระหว่าชกและระหว่างการฝึกซ้อม โดยกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดทั่วถึงสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้เด็กและเยาวชนที่เข้าชกมวยได้รับการคุ้มครองคุณภาพชีวิตตามสิทธิทางกฎหมายทั้งของไทยและสากล และสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน
      12. การกำหนดมาตรการสร้างความรู้ความเข้าใจและเจตคติเกี่ยวกับกีฬามวยควบคู่กับการเผยแพร่กฎหมายให้บุคคลทั่วไปได้ทราบข้อมูลอย่างถ่องแท้และแพร่หลาย ทั้งโดยผ่านระบบการศึกษาตามหลักสูตรภาคบังคับและสื่อทุกรูปแบบ รวมถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เด็กที่สนใจการชกมวยควรได้ทราบข้อมูลอย่างชัดเจนรอบด้าน เพื่อประกอบการพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจเข้าสู่วงการนี้ บิดามารด ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายก็ต้องมีความรู้เรื่องนี้ด้วยเพื่อช่วยให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่เด็กในความดูแล เจตคติที่ถูกต้องในเรื่องนี้ ต้องรวมถึงน้ำใจนักกีฬาและจรรยาบรรณของนักมวยที่ดีด้วย หากมีความรู้ความเข้าใจและเจตคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับกีฬามวยมากขึ้นอาจมีเด็กอีกจำนวนมากตัดสินใจ ไม่เข้าสู่กิจกรรมนี้เพราะไม่ต้องการเสี่ยงกับผลที่จะมีต่อสุขภาพและพัฒนาการความเจริญเติบโตที่จะเกิดกับตนในระยะยาว

    ความคืบหน้าของการแก้ไขพรบ กีฬามวยปี 2542… เพื่อปกป้องสมองเด็ก

    เมื่อวันที่ 18 ตค 2561ที่ประชุม สนช ได้พิจารณาร่างพรบ กีฬามวยที่พล.อ.อดุลยเดช อินทะพงษ์ และคณะรวม 39 คนเป็นผู้เสนอ โดยร่างนี้ได้ผ่านการฟังความเห็นหลายฝ่ายทั้งสมาคมมวยอาชีพและสมัครเล่น  นักมวย ผู้ประกอบธุรกิจ นักวิชาการ แพทย์ นักการศึกษา นักพัฒนาสังคม  ซึ่งมีความเห็นพ้องในการปกป้องสมองเด็กโดยการกำหนดให้ผู้จัดการแข่งขันมวยไม่สามารถนำเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีมาชกแข่งขันได้เลย หากอายุมากกว่า 12 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี ต้องขออนุญาตนายสนามมวยและปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยซึ่งจะกำหนดรายละเอียดต่อไป

    ร่างดังกล่าวในวันที่ 18 ตค ที่ประชุมสนชไม่ลงมติ แต่ส่งไปยังครม โดยมีนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รมตว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา เป็นผู้ชี้แจงต่อที่ประชุม สนช ว่า ครม จะรับร่างนี้ไปศึกษาและเสนอกลับมาที่สนช อีกครั้งใน 30 วัน

    ผลงานวิจัยสมองของนักมวยเด็ก จากโครงการวิจัยและติดตามกลุ่มนักมวยเด็ก

    โครงการวิจัยและติดตามกลุ่มนักมวยเด็ก ที่ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ดำเนินโดยหัวหน้าโครงการ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงจิรพร เหล่าธรรมทัศน์ ผู้ร่วมวิจัย รองศาสตราจารย์นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ อาจารย์นายแพทย์ ดร.วิทยา สังขรัตน์ และทีมงาน ใช้เครื่องมือทางการแพทย์ล้ำสมัย นั่นคือเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือเครื่อง MRI ขนาด 3 เทสล่า เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างสมองของเด็กที่ชกมวย (335คน) เปรียบเทียบกับเด็กทั่วไปจากสถานะการเงินทางบ้านและสภาพแวดล้อมใกล้เคียงกันแต่ไม่ได้ชกมวย (252คน) ผลของการวิจัยได้พิสูจน์ให้เห็นว่าการชกมวยในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี มีผลต่อสมองของเด็ก ดังต่อไปนี้

    1. มีเลือดออกในสมองจากการถูกชกหัว ทำให้มีธาตุเหล็กสะสมซึ่งเป็นสารพิษต่อเนื้อสมอง
    2. เซลสมอง และใยประสาทฉีกขาด และถูกทำลาย ทำให้สมองไม่สามารถสั่งการได้ตามปกติ  (เซลสมองสร้างสัญญาณที่เดินทางผ่านใยประสาทเพื่อส่งไปสั่งการส่วนต่างๆของร่างกาย เปรียบเสมือนกับเครื่องกระจายเสียง)
    3. การทำงานของสมองด้านความจำลดลง ซึ่งสามารถนำไปสู่อาการบกพร่องทางปัญญา หรือภาวะสมองเสื่อมได้
    4. ระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็กที่ชกมวยน้อยกว่าของเด็กทั่วไปเกือบ 10คะแนน และยังลดลงอย่างต่อเนื่องตามระยะเวลาในการชก โดยระดับไอคิวของเด็กทั่วไปในประเทศไทยอยู่ระหว่าง 90-110 ซึ่งสามารถเรียนจบระดับอนุปริญญาหรือปริญญาตรี ส่วนนักมวยเด็กที่ขึ้นชกมากกว่า 5ปีมีไอคิว 84คะแนน ซึ่งคะแนนระหว่าง 80-89 จะสามารถเรียนจบระดับมัธยมปลายเท่านั้น

    “…ผลการบาดเจ็บของสมองนักมวยเด็กส่งผลต่อการศึกษาและการดำรงชีวิตของเด็กในอนาคต ซึ่งรวมถึงหากเด็กเหล่านี้โตขึ้นไปแล้วไม่ได้เข้าสู่วงการมวย ไม่ได้เป็นนักกีฬามวยระดับชาติ จะ      กลับเข้าสู่สังคมและใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปอย่างไร คือเรียนหนังสือหรือหางานทำอย่างไร และประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตกับคุณภาพชีวิตจะเป็นอย่างไรด้วยสมองที่บอบช้ำพร้อมกับระดับสติปัญญาที่ต่ำกว่าคนทั่วไป อีกทั้งอาจส่งผลให้มีโรคทางระบบประสาท เช่น อัลไซเมอร์ (โรคหลงลืม) หรือพากินสัน (โรคสั่น) ในอนาคตซึ่งจะเป็นภาระต่อคนรอบข้างที่เกี่ยวข้องได้…”

    ไม่มีอายุใดที่ปลอดภัยต่อการถูกชกที่ศีรษะ เนื่องจากสมองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดจนวัยชรา ซึ่งสำหรับผู้ใหญ่นับว่ามีสิทธิและวุฒิภาวะที่สามารถตัดสินใจเองได้ แต่ในเด็กอายุตั้งแต่ 13ปีลงไป ผู้ปกครองไม่ควรใช้สิทธิตัดสินให้พวกเขาถูกทำร้าย เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จึงควรฝึกมวยในเชิงวัฒนธรรมและสุขภาพโดยเป็นกีฬาแบบไม่ปะทะ(noncontact sport) อายุ 13-15ปี เริ่มเป็นกีฬาปะทะแต่ต้องปรับเปลี่ยนกฎกติกาและหาอุปกรณ์และมาตรการต่างๆจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์การกีฬามาลดผลกระทบต่อสมอง มีการดูแลนักมวยหลังหยุดชกอย่างเหมาะสม

    ปัจจุบันการชกมวยเด็กเป็นลักษณะมวยอาชีพ คือมีการได้รับค่าตอบแทน ซึ่งนับเป็นการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฏหมาย อีกทั้งมีการระบุในระดับสากลโดยกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกาว่า มวยเด็กเป็นการทารุณกรรม หรือเป็นการใช้แรงงานเด็กในขั้นเลวร้ายที่สุด และเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในระดับ Tier 3 ด้านการค้ามนุษย์

                  แพทย์ นักวิชาการ และเครือข่ายคุ้มครองเด็ก วอนกระทรวงท่องเที่ยวกีฬา และรัฐบาลไทย สนับสนุนการแก้ไขพรบ กีฬามวย 2542 ตามเสนอของพล.อ.อดุลยเดช อินทะพงษ์ และคณะ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่ร่างจากผลวิจัยที่ทำกันมาอย่างยาวนานหลายปี เพื่อปกป้องสมองเด็ก และ ส่งเสริมมวยไทยให้เป็นวัฒนธรรมที่สวยงามไม่ป่าเถื่อนและเป็นกีฬาสำหรับเด็กทุกวัยอย่างแท้จริง

    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม :
    SDG8     เป้าประสงค์ย่อย :   8.7
    SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง :
    SDG3     เป้าประสงค์ย่อย :   3.4

    Key Message
    โปรดระบุประโยคที่สรุปเรื่องราวหรือใจความสำคัญของโครงการ/กิจกรรม ความยาว 3 บรรทัด เช่น “การแก้ปัญหาความแตกแยกร้าวลึกในสังคม ด้วยการสร้างพื้นที่ปลอดภัย สร้างความไว้วางใจ ชำระสิ่งค้างคาใจ และสร้างข้อตกลงใหม่ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูล”

    ไม่มีอายุใดที่ปลอดภัยต่อการถูกชกที่ศีรษะ เนื่องจากสมองมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดจนวัยชรา
     ซึ่งสำหรับผู้ใหญ่นับว่ามีสิทธิและวุฒิภาวะที่สามารถตัดสินใจเองได้ แต่ในเด็กอายุตั้งแต่ 13ปีลงไป ผู้ปกครองไม่ควรใช้สิทธิตัดสินให้พวกเขาถูกทำร้าย เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี จึงควรฝึกมวยในเชิงวัฒนธรรมและสุขภาพโดยเป็นกีฬาแบบไม่ปะทะ(noncontact sport) อายุ 13-15ปี เริ่มเป็นกีฬาปะทะแต่ต้องปรับเปลี่ยนกฎกติกาและหาอุปกรณ์และมาตรการต่างๆจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์การกีฬามาลดผลกระทบต่อสมอง มีการดูแลนักมวยหลังหยุดชกอย่างเหมาะส  ปัจจุบันการชกมวยเด็กเป็นลักษณะมวยอาชีพ คือมีการได้รับค่าตอบแทน ซึ่งนับเป็นการใช้แรงงานเด็กที่ผิดกฏหมาย อีกทั้งมีการระบุในระดับสากลโดยกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกาว่า มวยเด็กเป็นการทารุณกรรม หรือเป็นการใช้แรงงานเด็กในขั้นเลวร้ายที่สุด และเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในระดับ Tier 3 ด้านการค้ามนุษย์

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม
    โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link)

    URL:

    ยุทธศาสตร์
    โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ

    ยุทธศาสตร์:
    – Community and Social Engagement for Sustainability

    Partners/Stakeholders
    โปรดระบุชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง หรือผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการ/กิจกรรมนี้ ทั้งหน่วนงานภายในและภายนอก เช่น สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ฯลฯ

  • ศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (ไอแมค) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี