ชื่อMU-SDGs Case Study: |
โครงการคลินิกพัฒนาการเด็กต้นแบบ และ การศึกษาผลการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติกด้วยโปรแกรมไทย (THAI Model, Thai Home-based Autism Intervention Model)
|
|||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||
ส่วนงานร่วม: |
–
|
|||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
ผศ.พญ. แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ
|
|||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
ผู้ช่วยนักวิจัยในพื้นที่ คุณพัชรินทร์ แดงดี คุณน้ำผึ้ง ก่อเปี่ยม โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ คุณจุฑามาศ เหล่าไพบูลย์ คุณธีรวัฒน์ อินตุ่น โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย คุณสุธาดา สอนเนียม คุณอานนท์ วงษา โรงพยาบาลแม่ระมาด จังหวัดตาก คุณเสาวลักษณ์ หมื่นเพชร คุณพิมพ์ชนก ไชยวัน โรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คุณนงนุช ศิริศักดิ์ คุณศุภิดา ลี้มิ่งสวัสดิ์ โรงพยาบาลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
|
|||||
คำอธิบาย: |
เพื่อศึกษาผลของการคัดกรองและส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้าและเด็กออทิสติกด้วยโปรแกรมไทย (THAI Model) และ เพื่อศึกษาจุดแข็งของชุมชนประเทศไทย โปรแกรม THAI Model ประกอบด้วย คือ 1) กิจกรรม Coaching พ่อแม่และส่งเสริมพัฒนาการเด็ก 2) โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้าน 3) กิจกรรรมห้องเรียนพ่อแม่
|
ออทิสติกมีสาเหตุจากพันธุกรรมที่ส่งผลให้เกิดความบกพร่องของสมองและระบบประสาท การแก้ไขความบกพร่อง ต้องอาศัยหลักการทางสมองและระบบประสาท Neuroplasticity หรือ ความสามารถในการปรับเปลี่ยนของสมอง มีองค์ประกอบที่เป็นหลักสำคัญ คือ การเริ่มกระตุ้นพัฒนาการตั้งแต่อายุยังน้อย รูปแบบ วิธีการที่ตรง มุ่งเป้าไปที่ความบกพร่องหลักของโรค และ สมองตื่นตัวพร้อมเรียนรู้ คือ เด็กรู้สึกสนุก สนใจ ชอบ ร่วมกับความถี่ ความสม่ำเสมอในการส่งเสริมพัฒนาการ
วัตถุประสงค์การวิจัย
- เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการคัดกรอง และส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก ด้วยโปรแกรมไทย โดยเปรียบเทียบจากการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการเด็ก และ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของพ่อแม่ ก่อนและหลังใช้โปรแกรมไทย
- เพื่อศึกษาจุดแข็งของชุมชนประเทศไทย ในการดูแลเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก
ระเบียบวิธีวิจัย เป็นแบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลหลัก รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง ทดสอบก่อนและหลัง
ผลลัพธ์หลัก คือ พัฒนาการอารมณ์สังคม (Functional Emotional Assessment Scale, FEAS) และทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก (I-CARE) ผลลัพธ์รอง คือ พัฒนาการเด็กปฐมวัย 5 ด้าน (DSPM) และ ความเครียดของพ่อแม่ (PSI) วิธีการเก็บข้อมูล FEAS และ I-CARE โดยบันทึกภาพวีดีทัศน์ผู้ดูแลเล่นกับเด็ก เป็นเวลา 15 นาที/คลิป ช่วงก่อน และหลังเข้าร่วมโครงการ ประเมินโดยวิธี Blinded Ratings แบบประเมิน DSPM และ PSI เก็บข้อมูลและประเมินผล โดยบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่
THAI Model ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ 1) การ Coaching ผู้ดูแลในคลินิกพัฒนาการเด็ก 2 ครั้ง/เดือน หรือ เยี่ยมบ้าน 2) การส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้านตามหลัก I-CARE อย่างน้อย 10 ชั่วโมง/สัปดาห์ (หรือ 1 1/2 ชั่วโมง/วัน) และ 3) กิจกรรมห้องเรียนพ่อแม่ทุก 2-3 เดือน
พื้นที่ศึกษา โรงพยาบาลจาก 5 ภูมิภาค ของประเทศไทย ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นเด็กอายุ 1-4 ปี จำนวน 46 คน ที่สงสัยภาวะออทิสติก (DSPM ล่าช้า + MCHAT-R พบความเสี่ยง)
ผลการวิจัย พบว่าสัดส่วนของเด็กที่ผ่านการคัดกรอง (DSPM และ M-CHAT-R) จำนวน 46 คน ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะออทิสติกจำนวน 26 คน หรือ คิดเป็น 56%
ผู้ดูแลเด็กทั้ง 46 ครอบครัว มีค่าเฉลี่ยทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก (I-CARE) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Meandiff = 4.4, p = .000) และค่าเฉลี่ยความเครียดของผู้ดูแล (PSI) ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Meandiff = 9.8, p = .000)
พัฒนาการเด็กทั้ง 46 คน พบว่า ค่าเฉลี่ยพัฒนาการอารมณ์สังคมของเด็ก (FEAS) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Meandiff = 3.2 p = .004) และ ผลการประเมินพัฒนาการ (DSPM) พบว่า มีเด็กที่ผ่านการคัดกรองตามช่วงวัยจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = 6.12, p = .008)
ผลการวิเคราะห์เฉพาะในกลุ่มเด็กออทิสติก 26 คน พบว่าผู้ดูแลมีทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยพัฒนาการอารมณ์สังคมเด็กดีขึ้น แต่ไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ โดยพบว่ามีผู้ดูแลเพียง 1 ใน 4 เท่านั้นที่สามารถให้เวลาอย่างสม่ำเสมอ ในการลงมาเล่นกับเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ
จุดแข็งของชุมชนประเทศไทย ในการดูแลเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก พบว่าครอบครัวส่วนใหญ่ในสังคมต่างจังหวัดยังคงอยู่กันแบบเป็นครอบครัวใหญ่ ทำให้มีเวลาช่วยกันดูแลเด็ก มีสัมพันธภาพที่ดีในชุมชน นอกจากนั้นการทำงานกับเครือข่ายในพื้นที่ สิ่งแวดล้อมที่เป็นธรรมชาติ มิตรภาพในชุมชน ยังเป็นส่วนสำคัญในการเสริมพลังพ่อแม่
สรุป โปรแกรมไทยแสดงให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กออทิสติก งานวิจัยนี้พบว่าทักษะผู้ดูแล และพัฒนาการเด็กดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในส่วนครอบครัวเด็กที่มีภาวะออทิสติกพบว่าความถี่ในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กยังไม่มากพอ ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมองและระบบประสาท
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG3 เป้าประสงค์ย่อย : 3.d
|
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ |
||||||
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง : |
SDG4 เป้าประสงค์ย่อย : 4.a
|
Key Message | ||||||
โปรแกรมสำหรับการส่งเสริมพัฒนาการสำหรับเด็กทุกกลุ่มโดยเฉพาะเด็กออทิสติก ที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับผู้ดูแล เน้นความผาสุขของครอบครัว เน้นพัฒนาการอารมณ์สังคมของเด็ก ที่สำคัญพ่อแม่สามารถกลับไปส่งเสริมพัฒนาการลูกที่บ้านเองได้ |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link) |
||||||||||||
URL: |
|