ชื่อMU-SDGs Case Study:
โครงการวิจัยเพื่อติดตามผลกระทบจากสารอาร์เซนิก แมงกานีส ไซยาไนด์ และฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4-6
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
– คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
– คณะวิทยาศาสตร์
ผู้ดำเนินการหลัก:
อาจารย์ ดร.นุชนาฎ รักษี
ผู้ดำเนินการร่วม:
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์พัฒนาการเด็กบ้านศาลายา
คำอธิบาย:
3 ปีภายหลังการระงับเหมือง สารหนูในตัวเด็กลงถึง 12 เท่าตัว ความบกพร่องทางการเรียนรู้น้อยลง ไอคิวสูงขึ้น และเท่าทันต่อการป้องกันสารพิษจากสิ่งแวดล้อมด้วยตัวเองจากการเพิ่มพื้นที่เล่น เรียนรู้ในโรงเรียน

สืบเนื่องจากปี 2558 ที่สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด
รอบการประกอบกิจการเหมืองทอง ซึ่งต่อมาได้ทำการตรวจพบสารหนูในร่างกายของเด็กและผู้ใหญ่ในปริมาณสูง ในปี 2559 คณะรัฐบาลมีมติให้ระงับการประกอบกิจการเหมืองทอง และให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การดูแลสุขภาพประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ รามาธิบดี ได้ร่วมกับสำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการประเมินภาวะสารหนู ระดับไอคิว และภาวะการบกพร่องทางการเรียนรู้ในเด็กนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 4-6 ของ 6 โรงเรียน ที่อยู่ในพื้นที่รอบๆ เหมือง พบว่าร้อยละ 36.1 มีสารหนูในร่างกายสูงกว่าปกติ, ร้อยละ 38.4 มีไอคิวต่ำกว่า 90 ในเด็กที่ไอคิวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ร้อยละ 38.9 ทั้งนี้ มีการศึกษาในต่างประเทศพบว่าเด็กเมื่อได้รับสารหนูเข้าสู่ร่างกาย จะส่งผลให้มีไอคิวต่ำลง และมีความบกพร่องทางการเรียนได้ ซึ่งในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดนี้ยังมีข้อถกเถียงกันว่าค่าสารหนูนี้สูงมาก่อนนานแล้วก่อนการประกอบกิจการเหมืองหรือไม่ ?

ในปี 2562 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ติดตามสถานการณ์ระดับสารหนู ไอคิว และความบกพร่องทางการเรียนรู้คิดในเด็กอีกครั้งในบริเวณพื้นที่เดิม โดยการสนับสนุนของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ภายใต้โครงการวิจัยเพื่อติดตามผลกระทบจากสารโลหะหนัก และฟื้นฟูภาวะบกพร่องทางสติปัญญา กระบวนการรู้คิด และการเรียนรู้ในเด็กประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผลพบว่า สัดส่วนของการมีสารหนูสูงกว่าปกติในร่างกายของเด็กของ 6 โรงเรียนเดิม ลดลงจากร้อยละ 36.1 เหลือร้อยละ 4.5 ลดลง 12 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2559 เป็นการลดลงในทุกโรงเรียน ทุกชั้นปี และทุกเพศ ขณะที่เด็กที่ไอคิวมากกว่าหรือเท่ากับ 90 มีความบกพร่องทางการเรียนรู้น้อยลงจากร้อยละ 38.9 เป็นร้อยละ 22.22 และโครงการได้ฟื้นฟูระดับสติปัญญา พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยของระดับสติปัญญาที่ 85.43 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับสติปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย แต่หลังการฟื้นฟูพบว่า เด็กมีคะแนนเฉลี่ยของระดับสติปัญญาสูงขึ้น ที่ 90.11 คะแนน ซึ่งอยู่ในระดับสติปัญญาปกติ ความสามารถทักษะการคิดเชิงบริหารของเด็กอยู่ในระดับปกติเพิ่มขึ้นทั้งด้านความจำที่ทำได้ถูกต้อง ด้านสมาธิจดจ่อ และตอบสนองในงานที่ทำเร็วขึ้น นอกจากนั้น พบว่าเด็กมีความรู้เท่าทันในการป้องกันตนเองจากสารพิษในสิ่งแวดล้อมมากขึ้นหลังฟื้นฟู จากระดับน้อย เป็น ปานกลางที่ร้อยละ 41.9 อีกด้วย จะเห็นว่าความบกพร่องต่างๆ หากเด็กได้รับการฟื้นฟูอย่างทันท่วงที และจริงจัง โดยครูและบุคคลแวดล้อม ย่อมส่งผลให้เด็กมีทักษะด้านการเรียนรู้ คิด และสติปัญญา ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม :
SDG3     เป้าประสงค์ย่อย :   3.9
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง
โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง :
SDG4     เป้าประสงค์ย่อย :   4.7
SDG17     เป้าประสงค์ย่อย :   17.14
Key Message

ผลการฟื้นฟูสมองด้านทักษะการเรียนรู้ของเด็กในพื้นที่เสี่ยงสารโลหะหนัก : 3 ปี หลังหยุดประกอบการเหมืองทอง

Links ข้อมูลเพิ่มเติม
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link)
URL:
Post Views: 89