ชื่อMU-SDGs Case Study: |
โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กและเยาวชน ในจังหวัดนครปฐม โดยใช้กระบวนการ CDD และ Swiss cheese model
|
|||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||
ส่วนงานร่วม: | ||||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
รองศาสตาจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
|
|||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
–
|
|||||
คำอธิบาย: |
ความจำเป็นในการป้องกันลดอัตราการตายของเด็กจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ เพื่อให้มีแนวทางในการดูแลสุขภาพเด็กแบบองค์รวม ต้องใช้ข้อมูลความรู้กระตุ้นชุมชนให้เห็นถึงอันตรายของอุบัติเหตุเพื่อให้เกิดการร่วมมือของชุมชนในการดำเนินงานป้องกันต่อไป
|
โครงการการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กและเยาวชนในจังหวัดนครปฐมโดยใช้กระบวนการวิเคราะห์หาจุดอ่อนตามลำดับชั้นของผู้มีส่วนได้เสียจากจุลภาคสู่มหภาค หรือ Swiss cheese model และกระบวนพูดคุยแลกเปลี่ยนเพื่อแก้ไขจุดอ่อนหรือรูพรุนของเหล่าผู้มีส่วนได้เสียโดยความสุขุม รอบคอบ พินิจพิจารณาอย่างใคร่ครวญ และร่วมกันหาทางแก้ไข หรือ deliberation เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ชุมชนมีความตระหนักว่า การตายของเด็ก 1 รายจากอุบัติเหตุทางถนนและภัยจากเหตุภายนอกอื่นๆ เป็นการละเมิดสิทธิขั้นรุนแรงของการอยู่รอด ปลอดภัยของเด็ก มักพบจุดอ่อน 3 ชนิด (พฤติกรรมเด็ก สิ่งแวดล้อม และ การดูแลคุ้มครอง) ใน 3 ระดับ (ครอบครัว ชุมชน และสังคม) และพัฒนาศักยภาพของชุมชน ให้สามารถใช้ข้อมูลจุดอ่อนทั้ง 3 ชนิด และทั้ง 3 ระดับ ของทุกการตายของเด็กในชุมชน นำไปสู่การระดมสมองค้นหาแนวทางป้องกัน และขับเคลื่อนความตระหนักและปรับวิถีการปฏิบัติของครอบครัว ชุมชน นำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ความปลอดภัยในเด็กต่อไปได้ รวมทั้งนำข้อมูลที่ได้ไปขยายผลสู่การรับรู้สาธารณะและขับเคลื่อนนโยบาย
กลุ่มเป้าหมาย เก็บข้อมูลการตายในเด็กและเยาวชนอายุ 0-18 ปีที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนและสาเหตุอื่น ๆ ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม
วิธีการดำเนินการ จัดการฝึกอบรมกระบวนการพิเคราะห์เหตุการตาย (CDD) และ Swiss cheese model ให้แก่ เจ้าหน้าที่ทะเบียนบันทึกข้อมูลการตาย และเจ้าหน้าที่ที่สามารถเป็นผู้เก็บข้อมูลการตายได้ โดยให้ร่วมกันเก็บข้อมูลในระดับตำบล และจัดการประชุมในระดับตำบล โดยมีศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็กฯ และผู้มีส่วนได้เสียแล้วแต่กรณี ร่วมเป็นกรรมการระดับจังหวัด ทั้งนี้ศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็กฯ และสถาบันฯ จะเป็นผู้กำกับดูแลการทำงานและการใช้เครื่องมือเก็บข้อมูล เก็บข้อมูล และจัดประชุมเพื่อพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กและเยาวชนเพื่อแก้ไขจุดอ่อนการตายของเด็กและเยาวชนจากอุบัติเหตุทางถนนและอื่นๆ และขับเคลื่อนหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ จัดประชุมเพื่อพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กและเยาวชนในระดับจังหวัด และขับเคลื่อนสังคมผ่านสื่อสาธารณะและการเสนอนโยบาย
ผลการดำเนินงาน มีดังนี้
กิจกรรมที่ 1 การจัดอบรมหลักสูตรพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กและเยาวชน (CDD) และSwiss cheese model แก่เจ้าหน้าที่ทะเบียนบันทึกข้อมูลการตายและเจ้าหน้าที่เก็บข้อมูลการตาย ผู้เข้ารับการอบรมได้มีการปฏิบัติงานเก็บข้อมูลการตายของเด็กและเยาวชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยทำงานร่วมกับทีมงาน CDD ศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็กฯ
นอกจากนี้ศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็กฯ ร่วมกับสถาบันฯ ได้พัฒนาระบบพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กแบบออนไลน์ที่ทุกหน่วยงานทั่วประเทศสามารถเข้าใช้งานได้ ภายใต้โครงการชื่อ Thai CDR ศูนย์พิเคราะห์เหตุการตายในเด็กและขับเคลื่อนการป้องกัน ประกอบด้วย เรียนรู้กระบวนการพิเคราะห์เหตุการณ์ตายในเด็กและเยาวชน (CDD) และทฤษฎีเนยแข็ง Swiss cheese model, แจ้งข้อมูลการตายของเด็กและเยาวชน, จัดประชุมพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กแบบออนไลน์ผ่านระบบ Zoom และอื่น ๆ
กิจกรรมที่ 2 การเก็บข้อมูลการตายของเด็กและเยาวชน (แรกเกิดถึง 18 ปี) จากอุบัติเหตุทางถนน โดยเจ้าหน้าที่ที่ผ่านการอบรมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการคุ้มครองเด็กในชุมชน โดยทำงานร่วมกับทีมงาน CDD ศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็กฯ ตลอดจนได้รับความร่วมมือจากแหล่งข่าวในพื้นที่ และหน่วยงานในจังหวัดนครปฐม
กิจกรรมที่ 3 การจัดประชุมเพื่อพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กและเยาวชน เพื่อแก้ไขจุดอ่อนการตายของเด็กและเยาวชนจากอุบัติเหตุทางถนน และขับเคลื่อนหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
กิจกรรมที่ 4 การขยายผลขับเคลื่อนยกระดับความตระหนักในระดับจังหวัด โดยรายงานผลพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กและเยาวชนจากอุบัติเหตุทางถนนไปยังหน่วยงานระดับจังหวัด และมีการจัดประชุมพิเคราะห์เหตุการตายระดับจังหวัด โดยเลือกกรณีที่เป็นประเด็นร้อนและมีการตายซ้ำ ๆ
กิจกรรมที่ 5 นำผลการพิเคราะห์เหตุที่ได้ในการขับเคลื่อนยกระดับความตระหนักในความเสี่ยงผ่านสื่อสาธารณะ และการจัดแถลงข่าวเคสที่เป็นประเด็นร้อนและอยู่ในความสนใจของสังคมในขณะนั้น และการสื่อสารผ่านทางโซเชียลมีเดีย
ข้อเสนอแนะ เนื่องจากอัตราการเกิดของไทยเราลดน้อยลงไปมาก ซ้ำต้นทุนการดูแลฟูมฟักทุกชีวิตในสังคมนี้จึงสูงขึ้นอย่างมากทั้งต้นทุนทางงบประมาณและต้นทุนทางจิตใจของคนเป็นพ่อเป็นแม่ แต่ปรากฏว่าหลายปีที่ผ่านมา สถิติการตายจากอุบัติเหตุของบ้านเราสูงอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก ดังนั้นทุกองค์กรจะต้องให้ความสำคัญในความปลอดภัยของเด็ก และเห็นคุณค่าของชีวิตให้มากกว่านี้ รวมทั้งทุกองค์กรจะต้องให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ กระจายงบประมาณสู่ท้องถิ่น แทนที่จะสนับสนุนการรวมทุกสิ่งอย่างไว้ที่ศูนย์กลาง และมีการสั่งการแบบรวมศูนย์ตามแนวดิ่ง อันเป็นวิธีการบริหารที่ล้าสมัย ซึ่งล้วนกดทับกีดขวางความคิดสร้างสรรค์ ความกล้าคิดกล้าทำที่ผู้นำผู้บริหารท้องถิ่นจะทำเพื่อให้เป็นประโยชน์สุขถูกต้องแก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ
การขยายการดำเนินงานพิเคราะห์เหตุการตายในระดับชุมชนให้เป็นจริง ครอบคลุมทุกภูมิภาค โดยชุมชนสามารถดำเนินการภายในชุมชน โดยมีที่ปรึกษาจากส่วนกลาง และเชื่อมโยงหน่วยสู่เครือข่ายระดับจังหวัดและประเทศที่มีส่วนได้เสีย ได้นั้นน่าจะสามารถทำได้โดยใช้โอกาสการระบาดของโรค covid 19 ที่ทำให้กิจกรรมการสื่อสาร การกำกับงานผ่านระบบออนไลน์ มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีการจัดตั้งศูนย์พิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก ผ่าน www.thaicdr.com และดำเนินงานพิเคราะห์เหตุการตายในเด็กต่อไปโดยชุมชนที่ตระหนักในปัญหาและต้องการใช้กระบวนการนี้ในการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงภายในชุมชน
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG3 เป้าประสงค์ย่อย : 3.6
|
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ |
||||||
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง : |
SDG17 เป้าประสงค์ย่อย : 17.14 |
Key Message | ||||||
การพิเคราะห์เหตุการตายในเด็ก Child Death Deliberation (CDD) เป็นกลยุทธ์และเครื่องมือเพื่อสร้างความเข้าใจถึงเหตุและปัจจัยการเสียชีวิตของเด็กจากอุบัติเหตุและความรุนแรงอย่างเป็นระบบ ผลการวิเคราะห์จะนำไปสู่แนวทางการป้องกันการเสียชีวิตของเด็กรายอื่น ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดและทฤษฎีเนยแข็ง (Swiss Cheese Model) |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link) |
||||||
URL: | https://thaicdr.com |