โครงการรักลูกให้รอดปลอดภัยเมื่อใช้รถ

MU-SDGs Case Study:
โครงการรักลูกให้รอดปลอดภัยเมื่อใช้รถ
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
– คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ผู้ดำเนินการหลัก:
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผู้ดำเนินการร่วม:
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
คำอธิบาย:
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ย้ำว่า การอุ้มเด็กนั่งบนตักพ่อแม่และคาดเข็มขัดนิรภัย รศ.นพ.อดิศักดิ์ ระบุว่าไม่ได้ทำให้ปลอดภัย เพราะเวลาเกิดอุบัติเหตุจะมีพลังงานการเคลื่อนที่ทำให้อ้อมกอดของแม่ ไม่สามารถรั้งลูกไว้อยู่ เด็กอาจกระเด็นออกนอกรถและเสียชีวิตได้ และถ้าเป็นรถยนต์ที่มีถุงลมนิรภัย การอุ้มเด็กนั่งบนตักทำให้เด็กเข้าใกล้ถุงลมนิรภัยเกินไป เวลาเกิดอุบัติเหตุจะมีพลังงานย้อนกลับ ทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็ก
1. ที่นั่งนิรภัยต้องใช้ตั้งแต่ทารกแรกเกิด
2. อุ้มเด็กนั่งตักในเบาะหน้าคือจุดที่อันตรายที่สุดในรถ
3. เด็กอายุน้อยกว่า 13 ปี ให้นั่งเบาะหลังเสมอ ความเสี่ยงต่อการตายจะลดลงสองเท่าตัว
4. การใช้ระบบยึดเหนี่ยวในรถเป็นมาตรการการลดการบาดเจ็บการตายที่สำคัญที่สุดจากการกระเด็นทะลุกระจกออกนอกหรือลอยออกจากที่นั่งตามความเร็วรถชนกระแทกโครงสร้างภายในรถหลังอุบัติเหตุรถชนหรือคว่ำ
5. คาดเข็มขัดที่ไม่เหมาะสมมีความเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บกระดูกไขสันหลัง ไขสันหลังและช่องท้อง
6. เด็กอายุน้อยกว่า 9 ปีหรือสูงน้อยกว่า 135 ซม อาจใช้เข็มขัดนิรภัยปกติไม่ได้ ให้พิจารณาการใช้ที่นั่งนิรภัยเสมอ
7. ถุงลมนิรภัยในที่นั่งข้างคนขับสามารถทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ไม่ควรให้เด็กนั่งในตำแหน่งนั้นอีกต่อไป
8. เวลา 120 วันก่อนกฎหมายมีผลบังคับใช้ ไม่ใช่เป็นเพียงเวลาที่ประชาชนต้องเตรียมตัว แต่เป็นเวลาที่รัฐ ชุมชน องค์กร บริษัท หน่วยงานบริการสุขภาพเด็ก หน่วยงานบริการการศึกษาเด็กปฐมวัย  ต้องเตรียมตัว ต้องมีมาตรการช่วยเหลือการเข้าถึงที่นั่งนิรภัย
•มาตรการให้ความรู้ประชาชน
•มาตรการสนับสนุนการซื้อ เช่นคนละครึ่ง ตั่วคืนเงิน
•มาตรการลดต้นทุนผู้ขาย เช่น ลดภาษีนำเข้า
•มาตรการสนับสนุนให้มีการผลิตในประเทศ
9. มาตรการรองรับจุดบริการสุขภาพหรือจุดบริการการศึกษาของภาครัฐเอง  เช่นโครงการสนับสนุนการเดินทางปลอดภัยครั้งแรกของชีวิต จากโรงพยาบาลสู่บ้านของทารกแรกเกิด โครงการสนับสนุนการเดินทางปลอดภัยจากบ้านสู่โรงพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนป้องกันโรค โครงการอนุบาลปลอดภัยเมื่อใช้รถ ในแบบการสนับสนุนที่นั่งนิรภัยเพื่อการยืมใช้
10. องค์กรภาครัฐ เอกชน บริษัท ควรมีนโยบายความรับผิดชอบต่อครอบครัวโดยจัดตั้ง โครงการครอบครัวปลอดภัยเมื่อใช้รถ ในแบบการสนับสนุนที่นั่งนิรภัยเพื่อการยืมใช้ อาจเป็นทั้งการลงทุนโดยองค์กร บริษัท หรือการระดมผลิตภัณฑ์มือสองที่ยังมีคุณภาพเพื่อจัดตั้งคลังที่นั่งนิรภัยเพื่อการยืมใช้
11. ชุมชนควรมีนโยบาย โครงการครอบครัวปลอดภัยเมื่อใช้รถ ในแบบการสนับสนุนที่นั่งนิรภัยเพื่อการยืมใช้ อาจเป็นทั้งการลงทุนโดยชุมชน หรือการระดมผลิตภัณฑ์มือสองที่ยังมีคุณภาพเพื่อจัดตั้งคลังที่นั่งนิรภัยเพื่อการยืมใช้
12. ครอบครัวต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจกับข้อมูล ปรับเปลี่ยนทัศนคติและร่วมกันจัดการความปลอดภัยสำหรับเด็กทุกครั้งที่คาดเข็มขัดนิรภัยให้กับตัวเอง
การประมาณการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จากอุบัติเหตุทางถนนในปี 2556  รวม 838 คน
การประมาณการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจากการขับขี่และโดยสารยานพาหนะต่างๆในปี 2556  รวม 649 คน
การประมาณการบาดเจ็บของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจากการขับขี่และโดยสารยานพาหนะต่างๆในปี 2556  รวม 21,510 คน
กิจกรรม :
SDG3     เป้าประสงค์ย่อย :   3.6