สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้นแบบ New Normal

ชื่อMU-SDGs Case Study:
สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้นแบบ New Normal
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
ผู้ดำเนินการหลัก:
นางบุษยรัต ซื่อดี และคณะครูศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย, นางงามตา รอดสนใจ, ผศ.พญ.แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ, รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผู้ดำเนินการร่วม:
คำอธิบาย:
จากสถานการณ์ COVID-19 ระลอก1-3 มีผลทำให้ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไม่สามารถจัดบริการการดูแลและการศึกษาได้ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จึงจัดทำโครงการ“สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้นแบบ New Normal” เพื่อสร้างรูปแบบการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและโรงเรียนอนุบาลรองรับสถานการณ์ การระบาดของโรค COVID 19 และขยายผลสู่การรับรู้สาธารณะ

การพัฒนาจุดเริ่มต้นของชีวิต (early life development) และการพัฒนาปฐมวัย (early childhood development) ครอบคลุมตั้งแต่ตัวอ่อนในครรภ์มารดาจนถึงอายุ 8ปี หรือเทียบเท่าการพัฒนาสมอง 3000 วันแรกของชีวิตมีผลต่อศักยภาพ และสุขภาพตลอดชีวิตของมนุษย์ ระบบการดูแลสุขภาวะและส่งเสริมการเรียนรู้ปฐมวัยจึงเป็นมากกว่าการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา (preschool education) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาสุขภาวะแบบองค์รวมทั้งร่างกาย สติปัญญา จิตใจอารมณ์ สังคม และความปลอดภัย สร้างรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต จากสถานการณ์ COVID-19 ระลอก1-3 มีผลทำให้ศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไม่สามารถจัดบริการการดูแลและการศึกษาได้ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว จึงจัดทำโครงการ“สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยต้นแบบ New Normal” เพื่อสร้างรูปแบบการจัดบริการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและโรงเรียนอนุบาลรองรับสถานการณ์ การระบาดของโรค COVID 19 และขยายผลสู่การรับรู้สาธารณะ

ผังรายการทักษะเด็กปฐมวัย ห่างไกล COVID เพื่อแนะนำรูปแบบการจัดกิจกรรมให้กับผู้ปกครอง และมีการจัดกิจกรรมสนทนา (ประสา) ครอบครัว ผ่านทาง Online และจากการสำรวจความต้องการของผู้ปกครองในการจัดบริการเดือนมิถุนายน 2563  พบว่า ร้อยละ 45 ผู้ปกครองไม่สามารถดูแลบุตรหลานได้ จึงเป็นเหตุจำเป็นที่ศูนย์พัฒนาเด็กฯ ต้องเปิดดำเนินการภายใต้รูปแบบการบริการแบบ New Normal และนำไปขยายผลผ่านกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบการบริการในสถานการณ์ COVID-19 ร่วมกับเครือข่ายศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ของตนเอง มุ่งหวังให้เกิดประสิทธิภาพในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19  นอกจากนี้ยังมีการประชุมวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นเด็กปฐมวัย ในหลากหลายมิติร่วมกัน เครือข่ายผู้ดูแลเด็กมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นกว่า 10,000 คน ภายในเดือนมิถุนายน 2564 และในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ระลอก 3 ที่ยังส่งผลต่อสุขภาวะของเด็กปฐมวัย

ศูนย์พัฒนาเด็กฯ จึงพัฒนาต่อยอดรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต้นแบบศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย New Normal เป็นหลักสูตรออนไลน์ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New Normal ระลอก 3 ผ่านกิจกรรมการสนทนารายวันภายใต้โครงการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล  New normal ระดับ 3 เพื่อรับมือกับการระบาดของ COVID-19 ระลอก 3 นำไปสู่การเรียนรู้และประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้ร่วมกันในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

ประกอบด้วย 4 โครงการ ดังนี้

                1. โครงการผังรายการทักษะเด็กปฐมวัย ห่างไกล COVID เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2563 และ โครงการ บทเรียนออนไลน์เรื่อง “เล่นกับลูกเล่นกับหลาน สร้างสมอง สามพันวัน ในระหว่างการหยุดทำการเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ศูนย์พัฒนาเด็กฯ ออกแบบกิจกรรมรายการทักษะเด็กปฐมวัย ห่างไกล COVID และนำกิจกรรมเผยแพร่ให้ผู้ปกครอง ผ่าน Application Line  กลุ่ม CF Happy Family โดยเผยแพร่กิจกรรมเป็นตารางกิจวัตรประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย ให้ครอบครัวสามารถทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการที่บ้าน โดยครอบคลุมกับพัฒนาการเด็กปฐมวัย พัฒนาการทางด้านภาษา พัฒนาการทางด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านสังคม  และพัฒนาการด้านสติปัญญากระบวนการรู้คิด รวมทั้ง ทั้งได้เผยแพร่ให้ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยทั่วประเทศ รวมทั้งชุมชน ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กอื่นๆสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายผ่านระบบ social media

 

2. สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย NEW NORMAL ปี 2563  ในเดือนมิถุนายน 2563 มีผู้ปกครองบางส่วนต้องกลับเข้าทำงาน ไม่มีผู้เลี้ยงดูหลัก สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวจึงได้จึงพัฒนาแนวทางการดูแลเด็ก New normal โดยออกแบบพื้นที่ห้องเรียน New Normal พัฒนาระบบการรับ – ส่งเด็ก Online สำหรับคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นและคัดกรองความเสี่ยงของครอบครัวเด็กจากการสัมผัสเชื้อ COVID-19 รายวัน ออกแบบจุดคัดกรองเด็กก่อนเข้าภายในพื้นที่ห้องเรียน นอกจากนี้ยังได้กำหนดขั้นตอนต่างๆ ที่ต้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เช่น ขั้นตอนในการรับส่งเด็กในรูปแบบ New Normal การออกแบบพื้นที่ New Normal โดยการเพิ่มห้องเรียน และแบ่งกลุ่มย่อยห้องเรียน (Bubble) ให้มีเด็กในแต่ละกลุ่มย่อยไม่เกิน 10 คน รวมถึงการการออกแบบกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็ก New Normal

การดำเนินงานดังกล่าวได้มีการประเมินผลลัพธ์การติดเชื้อ COVID-19 เพื่อใช้ประกอบพิจารณาประสิทธิภาพของกระบวนการจัดทำศูนย์พัฒนาเด็ก new normal โดยวิธีการตรวจทางน้ำลายที่สัปดาห์ที่สองและสี่ของการดำเนินงาน ผลปกติทุกรายไม่พบการติดเชื้อทั้งสองครั้ง

3. เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว  สถาบันฯ นำองค์ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเปิดให้บริการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยรูปแบบ New Normal จัดเวทีอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ต้นแบบ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย New normal” ขยายผล ในวันที่ 25 – 30 มิถุนายน 2563  จำนวน 5 รอบ ผ่านทาง Online ด้วย Application Zoom มีผู้เข้าเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งหมด 2,423 คน เป็นครูจากศูนย์เด็กเล็ก 74 จังหวัด มีศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยจากจังหวัดนครปฐมรวมทั้งหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจำนวน 49 หน่วยงาน ต่อมาได้ยอดผู้เข้าร่วมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เป็น “เครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว” และจัดให้มีการประชุมวิชาการประเด็นเด็กปฐมวัย ในมิติต่างๆ ทุกวันอาทิตย์เดือนละ 1 ครั้ง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ผ่าน Application Zoom ปัจจุบันมีเครือข่ายผู้ดูแลเด็ก มากกว่า 10,000 คน

 4. โครงการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New Normal ระลอก 3 ปี 2564 ในสถานการณ์ COVID-19 ระลอก 3 ในปัจจุบัน  สถาบันฯ ได้เปิดหลักสูตรออนไลน์ “ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยและอนุบาล New Normal ระลอก 3” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียนอนุบาล ครอบครัว และชุมชน ได้ติดตามสถานการณ์ COVID 19 เตรียมวิธีการดูแลเด็กๆให้พร้อม ให้ทันต่อรูปแบบการระบาดของโรคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เนื้อหาที่สอดคล้องกับสถานการณ์  COVID-19 ในมิติต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลเด็กปฐมวัย การบริหารจัดการความเสี่ยงภายในสถานศึกษา รูปแบบการจัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย การตระหนักรู้และการทำความเข้าใจสุขภาวะของเด็กปฐมวัยร่วมกับผู้ปกครอง และองค์ความรู้อื่นๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ดูแลเด็ก ให้สามารถนำไปปรับใช้ได้จริงภายใต้บริบทของแต่ละพื้นที่ โดยเป็นการสนทนารายวันร่วมกับวิทยากรและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงจากศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย  เป็นระยะเวลา 2 เดือน ระหว่างการเปิดภาคเรียนใหม่ปีการศึกษา 2564 และ เมื่อสถานการณ์เอื้อำนวยต่อการเปิดบริการศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยสาธิตและอนุบาลสาธิตของสถาบันแล้วจะดำเนินการถ่ายการดำเนินงานจริงและนำสู่การอภิปรายเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งประเทศผ่านเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวต่อไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงาน

 

– เด็กปฐมวัยและผู้ปกครองมีตัวอย่างกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ เป็นแนวทางการดูแลเด็ก และการเรียนรู้ผ่านการเล่นที่สอดคล้องกับพัฒนาการร่วมกันขณะปิดภาคเรียน หรือต้องอยู่บ้านในภาวะฉุกเฉินเป็นการเตรียมความพร้อมเด็กๆ ก่อนเปิดภาคเรียน และช่วยลดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ลดการใช้กิจกรรม Online ที่ส่งผลกระทบกับพัฒนาการเด็ก ลดภาวะความเครียดของผู้ปกครอง และส่งเสริมสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว

– ได้รูปแบบการดูแลเด็กและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามมาตรการ New Normal สำหรับเด็กอายุ 1 ปี
6 เดือนถึง 6 ปี ไปขยายผลเผยแพร่ให้คุณครูปฐมวัย และผู้ทำงานด้านการดูแลเด็ก พัฒนาเป็นเครือข่ายเรียนรู้ต่อเนื่องสำหรับผู้สนใจเข้าอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านเด็กปฐมวัย

– ขยายผลเผยแพร่รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษา การจัดกลุ่มย่อย (Bubble) การจัดการห้องเรียนและสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการดูแลเด็กปฐมวัย ภายใต้การแพร่ระบาดของ COVID-19 และสามารถขยายผลองค์ความรู้ได้ทันต่อสถานการณ์ สอดคล้องกับการแพร่ระบาดที่ผันผวนในขั้นวิกฤต รวมทั้งการขยายผลรูปแบบการจัดประสบการณ์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและกระบวนการรู้คิดสำหรับเด็กปฐมวัย ภายใต้มาตรการการป้องกันการระบาดของ COVID-19 (ใส่หน้ากาก อยู่ห่าง ล้างมือ)

– ได้เครือข่ายผู้ที่เข้ามารับการอบรมและเข้าสู่ระบบการเรียนรู้ต่อเนื่อง ตั้งต้นจำนวนมากกว่า 2,500 คน และขยายเครือข่ายมากกว่า 10,000 คน ในเดือนมิถุนายน 2564

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม :
SDG3     เป้าประสงค์ย่อย :   3.d , 3.4
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง :
SDG4     เป้าประสงค์ย่อย :   4.7 , 4.2