โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21

MU-SDGs Case Study:
โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ (Reskill/Upskill/Newskill) เพื่อการมีงานทำและเตรียมความพร้อมรองรับการทำงานในอนาคต หลังวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
ผู้ดำเนินการหลัก:
นายเมธีณัฐ รัตนกุล, นางบุษยรัต ซื่อดี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อธิวัฒน์ เจี่ยวิวรรธน์กุล, ทีมศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย, งานบริการวิชาการ การศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ดำเนินการร่วม:
คำอธิบาย:
ในปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้แรงงาน ทุกภาคส่วนเกิดภาวะการว่างงาน และเด็กที่เกิดมาในช่วงนี้จะมีโอกาสที่พ่อแม่มีเวลาเลี้ยงลูกด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น และเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ภาวะปกติแล้วจะทำให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น มีภาวการณ์จ้างงานมากขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองที่เลี้ยงลูกเองจึงจำเป็นที่ต้องออกนอกบ้านเพื่อไปทำงานปกติ หรือผู้ที่ว่างงานต้องออกไปหางานทำ จึงไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูลูกเองได้อีกต่อไป ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตลาดแรงงานด้านการให้บริการรับเลี้ยงเด็กจะขยายตัวมากยิ่งขึ้น และมีความต้องการผู้ดูแลเด็กมากยิ่งขึ้น จึงเห็นได้ว่าผู้ดูแลเด็กเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากกับสภาพของครอบครัวไทยในสังคมปัจจุบันและในอนาคต

จากสภาพสังคมไทยในปัจจุบันที่ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้แรงงาน ทุกภาคส่วนเกิดภาวะการว่างงาน และเด็กที่เกิดมาในช่วงนี้จะมีโอกาสที่พ่อแม่มีเวลาเลี้ยงลูกด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น และเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ภาวะปกติแล้วจะทำให้ระบบเศรษฐกิจดีขึ้น มีภาวการณ์จ้างงานมากขึ้น พ่อแม่ผู้ปกครองที่เลี้ยงลูกเองจึงจำเป็นที่ต้องออกนอกบ้านเพื่อไปทำงานปกติ หรือผู้ที่ว่างงานต้องออกไปหางานทำ จึงไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูลูกเองได้ อีกต่อไป และต้องนำไปฝากยังสถานรับเลี้ยงเด็กหรือจ้างผู้ดูแลเด็กมาทำหน้าที่แทน ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตลาดแรงงานด้านการให้บริการรับเลี้ยงเด็กจะขยายตัวมากยิ่งขึ้น และมีความต้องการผู้ดูแลเด็กมากยิ่งขึ้น ถ้าผู้ดูแลเด็กไม่มีทักษะและขาดกระบวนการตลอดจนวิธีการในการกระตุ้นพัฒนาการต่างๆ  เด็กก็จะได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบผิดวิธีและขาดพัฒนาการในหลายๆ ด้าน จึงเห็นได้ว่าผู้ดูแลเด็กเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากกับสภาพของครอบครัวไทยในสังคมปัจจุบันและในอนาคต
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่เป็นสถาบันทางวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว  ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งทรงคุณค่าและเป็นอนาคตของชาติ ประกอบกับทางสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ได้มีศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ในการศึกษาวิจัย รูปแบบและเทคนิควิธีการในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก รวมทั้งเป็นแหล่งฝึกอบรมผู้ดูแลเด็กและเป็นสถานที่ศึกษาดูงานมาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี  จึงได้จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ขึ้น เพื่อผลิตผู้ดูแลเด็กให้มีความรู้และมีทักษะในการเลี้ยงดูเด็กตามมาตรฐานอย่างมีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของสังคม

1) หลักสูตรเปิดรับสมัครผู้ที่มีคุณสมบัติ และมีการสัมภาษณ์ผู้ผ่านคุณสมบัติให้ได้รับทุนจำนวน 30 คน

2) ระยะที่ 1 การจัดการเรียนรู้หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 แบ่งเป็นสองรูปแบบ ได้แก่ อบรมออนไลน์โดยใช้แพลทฟอร์มสำหรับการอบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Moodle ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 จำนวน 15 ชั่วโมง และการอบรมในชั้นเรียน ระหว่างวันที่ 20 – 24 กรกฎาคม 2563 ระยะเวลา 09.00 – 16.00 น.
วันละ 6 ชั่วโมง  รวมทั้งสิ้น  30 ชั่วโมง

3) ระยะที่ 2 การดำเนินการหลักสูตรในปัจจุบัน ดำเนินการเรียนการสอนในหลักสูตรระดับ 220 ชั่วโมง สำหรับกลุ่มที่จบปริญญาตรี และหลักสูตรระดับ 440 ชั่วโมง สำหรับกลุ่มตำกว่าปริญญาตรี ผ่านการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบออนไลน์โดยใช้แพลทฟอร์มสำหรับการอบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Moodle และ โปรแกรม Zoom ซึ่งเปิดการเรียนการสอนภาควิชาการในวันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2564

การขยายผล

โครงการได้มีแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรและขยายผลการพัฒนาหลักสูตร จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่

1. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 หลักสูตร 220 ชั่วโมง สำหรับกลุ่มผู้จบปริญญาตรีที่มิใช่สาขาทางการศึกษา ตามข้อกำหนดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่งคงของมนุษย์

2. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 หลักสูตร 440 ชั่วโมง  สำหรับกลุ่มผู้จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ตามข้อกำหนดเทศบัญญัติ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมีผู้เข้าศึกษาและอยู่ในระหว่างการเรียนการสอนทั้งสองหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม :
SDG4     เป้าประสงค์ย่อย :   4.7 , 4.4
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง :
SDG3     เป้าประสงค์ย่อย :   3.9 , 3.7 , 3.6 , 3.4 , 3.2