ชื่อMU-SDGs Case Study: |
โครงการเยาวชนไทยกู้ภัยโควิด ปี2563 และ 2564 : สร้างความรับรู้และการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการต่อสู้กับปัญหาการระบาด COVID-19
|
|||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||
ส่วนงานร่วม: |
– คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
|
|||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
นางสาวมาริสา นิ่มกุล, นางสาวบุศราพร จงเจริญถาวรกุล, นายอภิชาติ มหิงสพันธุ์, แพทย์จีน ธนานันต์ แสงวณิชย์, รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
|
|||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
|
|||||
คำอธิบาย: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงจัดให้มีกิจกรรมที่จะทำให้เด็ก เยาวชน วัยรุ่น ได้สนใจ เรียนรู้ ปัญหาการระบาดของโรค COVID-19 และนำความรู้ไปปฏิบัติเป็นพฤติกรรมในการดูแลผู้สูงอายุในบ้านหรือร่วมเป็นจิตอาสาในชุมชนของตน
|
สืบเนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในโลกของเรา ทำให้เด็กยุคนี้ต้องเผชิญกับอุบัติภัยและโรคระบาดใหม่ๆ เช่น การแพร่ระบาดเชื้อไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่ในขณะนี้ ทำให้เด็ก ๆ ต้องอยู่ที่บ้าน เรียนหนังสือที่บ้าน ในขณะเดียวกันก็ทำให้เด็ก ๆ มีเวลาศึกษาค้นคว้าความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองมากขึ้น นอกจากนั้นในเด็กวัยรุ่นมักถูกสังคมต่อว่าว่าเป็นกลุ่มไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน ก่อให้เกิดการระบาดขอโรคเข้าสู่ชุมชนและครอบครัว
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี จึงจัดให้มีกิจกรรมที่จะทำให้เด็ก เยาวชน วัยรุ่น ได้สนใจ เรียนรู้ ปัญหาการระบาดของโรค COVID-19 และนำความรู้ไปปฏิบัติเป็นพฤติกรรมในการดูแลผู้สูงอายุในบ้านหรือร่วมเป็นจิตอาสาในชุมชนของตน ซึ่งมี 4 โครงการย่อย ดังนี้
1. โครงการ “หลักสูตร เยาวชน กู้ภัย COVID-19 ขั้นต้น และ ขั้นกลาง ปี 2563” เป็นความร่วมมือกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดทำขึ้น เพื่อให้ความรู้เรื่องการระบาดและผลกระทบของไวรัสโคโรนา และการปฏิบัติตน สำหรับเด็ก 6 ปีขึ้นไป โดยเด็กสามารถเข้ามาเรียนรู้หลักสูตรพื้นฐาน “เยาวชน กู้ภัย COVID-19” ผ่าน online ซึ่งมีทั้งหมด 4 บทเรียน เมื่อเรียนจบจะได้รับใบประกาศนียบัตร สำหรับวัยรุ่นที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไปเมื่อได้รับใบประกาศนียบัตรจากหลักสูตรพื้นฐานแล้ว ต้องปฏิบัติการปกป้องขั้นสูงสุดแก่ ปู่ย่า ตายายที่บ้าน 1 ราย และทำการกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์ม “การปฏิบัติงานเยาวชนไทย กู้ภัยโควิด” (Google Form) จะได้รับประกาศนียบัตร จิตอาสา เยาวชนไทยกู้ภัยโควิด ขั้นต้น หลังจากนั้น ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จะส่งรายชื่อเยาวชนไปยังชุมชนต่างๆให้รับรู้ว่าเป็นกลุ่มจิตอาสา กู้ภัย COVID-19 ที่สามารถปฏิบัติงานได้เมื่อพื้นที่ถูก lock Down เช่น การออกมารับส่งอาหารให้ผู้สูงอายุ หรือนำส่งผู้สูงอายุไปโรงพยาบาลเป็นต้น
หลังจากจบหลักสูตรขั้นต้นแล้ว วัยรุ่นสมารถเรียนรู้ “หลักสูตรจิตอาสาเยาวชนไทย กู้ภัยโควิด-ขั้นกลาง” เพื่อเพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและมีผู้เรียนทั้งสิ้นจำนวน 2,243 คนผู้เรียนรู้หลักสูตรจิตอาสาเยาวชนไทยกู้ภัยโควิด-ขั้นกลางจำนวน111 คน
2. โครงการประกวด คลิป “การปกป้องผู้สูงอายุขั้นสูงสุดโดยเยาวชน กู้ภัย COVID-19 ปี 2563” เด็กและเยาวชนผู้ได้ประกาศนียบัตรตามข้อ 4.1 ร่วมผลิตสื่อเผยแพร่สาธารณะในวงกว้างเรื่อง การปกป้องผู้สูงอายุขั้นสูงสุด จำนวน 38 เรื่อง และเรื่อง ออกแบบชีวิตวัยรุ่น New Normal จำนวน 40 เรื่อง คลิปดังกล่าวถูกเผยแพร่ผ่านsocial media รูปแบบต่างๆในวงกว้าง และ NICFD Channel-You Tube
3. โครงการ “ออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกัน COVID-19 ภายในครอบครัว ปี2564” ผู้เรียนสมัครเข้าร่วมโครงการ และเข้าไปเรียนรู้หลักสูตรออนไลน์ ได้แก่ หลักสูตรเยาวชนไทยกู้ภัยโควิด และหลักสูตร The Safety Hunter ภารกิจพิชิตจุดเสี่ยง และเข้าอบรม “การออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกัน COVID-19 ภายในครอบครัว”
หลังจากนั้นเข้าร่วมการแข่งขันภาคปฏิบัติ โดยผู้สมัครจัดทำคลิปวิดีโอ หัวข้อ “ออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกัน COVID-19 ภายในครอบครัว” คะแนนเต็ม 100 คะแนน โดยผลงานการออกแบบวิธีการป้องกันCOVID-19 ต้องแสดงให้เห็นถึงกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ดังนี้ การสังเกต/ระบุปัญหา (สำรวจว่าครอบครัวตนเองมีความเสี่ยงหรือปัญหาเกี่ยวกับCOVID-19 อะไรบ้าง), การตั้งสมมติฐาน/ออกแบบวิธีแก้ปัญหา, ทำการทดลองแก้ไขปัญหา และวัดผลว่าได้ผลอย่างไร, สรุปผล
การสอบแข่งขันระดับประเทศในรูปแบบออนไลน์สำหรับเด็กโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3, ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 และมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 โดยมีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎี เรื่อง วิทยาศาสตร์การป้องกันอุบัติภัยและโรคระบาด COVID-19 ซึ่งเด็กๆ ต้องใช้เวลา 1 เดือนจากนี้ไปในการค้นหาความรู้ หรือเรียนรู้ผ่านหลักสูตรออนไลน์ ต่างๆ และทดสอบภาคปฏิบัติโดยเด็กออกแบบวิธีการป้องกัน COVID-19 ภายใต้หัวข้อ “ออกแบบการแก้ปัญหาแบบนักวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกัน COVID-19 ภายในครอบครัว” มีเยาวชนไทยสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 351 คน ส่งคลิปออกแบบโครงงานวิทยาศาสตร์ เพื่อป้องกันCOVID-19 จำนวน 130 คน
4. โครงการเยาวชนไทยกู้ภัยโควิดขั้นที่ 3 ปี 2564 วัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนเรียนรู้เรื่องวัคซีน ไวรัสกลายพันธ์ และการระบาดระลอก 3 และเป็นจิตอาสานำความรู้ไปเล่าให้ผู้สูงอายุฟัง และชักชวนผู้สูงอายุให้ไปรับวัคซีน ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงาน
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG3 เป้าประสงค์ย่อย : 3.8
|
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง : |
SDG4 เป้าประสงค์ย่อย : 4.a , 4.7
SDG11 เป้าประสงค์ย่อย : 11.a , 11.5
|