ชื่อMU-SDGs Case Study: |
|
|||||||||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||||||||
ส่วนงานร่วม: |
|
|||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
นายเมธีณัฐ รัตนกุล , นางบุษยรัต ซื่อดี , งานบริการวิชาการ การศึกษาเทคโนโลยีสารสนเทศ , ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
|
|||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
สำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
|
|||||||||||
คำอธิบาย: |
ประเทศได้ก้าวผ่านวิกฤตการระบาดของไวรัสโคโรนา ทำให้เกิดจ้างงานมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าตลาดแรงงานที่ให้บริการจะขยายตัว และมีความต้องการผู้ดูแลเด็กมากขึ้น ผู้ดูแลเด็กจึงเป็นอาชีพที่มีความสำคัญกับครอบครัวในปัจจุบัน
|
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่เป็นสถาบันทางวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลี้ยงดูเด็ก ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าต่ออนาคตของชาติ ประกอบกับทางสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวได้เสนอโครงการและได้รับการพิจารณาให้ได้รับทุนสนับสนุนโครงการระยะเริ่มแรกในปี 2564 จากสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษาฯ เพื่อศึกษาและพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพ ซึ่งสถาบันได้มีการเชิญหน่วยงานและผู้ประกอบการที่มีส่วนได้เสียมาเป็นส่วนในการให้ข้อมูลเพื่อจัดทำหลักสูตร และมีการสร้างความร่วมมือกับศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกันสร้างแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันความปลอดภัยในเด็ก ซึ่งทางสถาบันได้ทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขา ผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 เป็นหลักสูตรพื้นฐาน 30 ชั่วโมง โดยเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ศึกษาเทคนิควิธีการในการดูแลและเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กในเชิงบูรณาหารสหวิทยากร รวมทั้งการลงฝึกปฏิบัติงานจริงในศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
ในปี 2565 ทางสถาบันได้มีการปรับปรุงหลักสูตรและขยายผลการพัฒนาหลักสูตรให้ตรงกับ
ข้อกำหนดของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และข้อกำหนดของเทศบัญญัติ จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่
าศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 หลักสูตร 220 ชั่วโมง สำหรับกลุ่มผู้จบปริญญาตรีที่มิใช่สาขาทางการศึกษา
2. หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 หลักสูตร 440 ชั่วโมง สำหรับกลุ่มผู้จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี
***มีการเปิดรับสมัครผู้เรียน และมีผู้สนใจเข้าเรียนในหลักสูตร 220 ชั่วโมง จำนวน 55 คน
และหลักสูตร 440 ชั่วโมง จำนวน 5 คน***
การจัดการเรียนรู้หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ดูแลเด็กในศตวรรษที่ 21 แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1. ภาควิชาการ ผ่านการอบรมออนไลน์โดยใช้แพลทฟอร์มสำหรับการอบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม Moodle และ ZOOM จำนวน 25 แผนการเรียนรู้
2. ภาคปฏิบัติการ ผู้เข้ารับการอบรมต้องเข้าฝึกภาคปฏิบัติการ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย
ผลการดำเนินงานในปี 2565
1. จำนวนผู้เรียนในหลักสูตร 60 คน เป็นผู้มีงานประจำแล้วแต่ประสงค์เข้ามา Reskill/Upskill จำนวน 48 คน ผู้ที่ว่างงานและประสงค์เข้าสู่สายาชีพผู้ดูแลเด็ก 12 คน
2. ผลความพึงพอใจต่อการให้บริการและการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด 4.65 จาก 5 คะแนน
3. ผลการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน ชุมชนและท้องถิ่นอยู่ในระดับมากที่สุด 4.55 จาก 5 คะแนน
4. ผลการติดตามภาวการณ์มีงานทำและการเข้าสู่ตลอดแรงงานด้านสาขาอาชีพผู้ดูแลเด็ก มีผู้เรียนที่วางงานเข้าสู่ตลาดแรงงานจำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 41.66 (มีจำนวนผู้สำเร็จการอบรมกลับไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการในชุมชนของตนเอง จำนวน 3 คน)
5. การติดตามผลความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรอยู่ในระดับมาก 4.23 จาก 5 คะแนน
การขยายผลการดำเนินงานในปี 2566 สถาบันได้มีการวางแผนพิจารณาให้สนับสนุนทุนการศึกษาทุนละ 1,000 บาท 300 ทุน สำหรับผู้ที่ขาดโอกาสและหลุดจากระบบการศึกษา รวมนักเรียน นักศึกษาที่ไม่ได้ศึกษาต่อและมีความประสงค์ที่จะเข้าสู่สายอาชีพด้านการเป็นผู้ดูแลเด็ก ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ให้ได้เรียนในหลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มบุคคลดังกล่าวที่อยู่ในพื้นที่ของชุมชนในเขตพื้นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดลและวิทยาเขตต่าง ๆ
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
|
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ |
||||||||||||
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง : |
|
Key Message | ||||||
การจัดเวทีอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “ต้นแบบ ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย New Normal” ทำให้เกิดเวทีการเรียนรู้ร่วมกัน และถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในหลากหลายมิติ ไปยังสมาชิกในเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม พัฒนาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์และรายการสนทนารายวัน เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID 19 ระลอก 3 |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link) |
||||||
URL: | https://www.cf.mahidol.ac.th |