โครงการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษอย่างเป็นองค์รวม

ชื่อMU-SDGs Case Study:
โครงการอบรมหลักสูตรการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษอย่างเป็นองค์รวม
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
ผู้ดำเนินการหลัก:
ผศ.พญ.แก้วตา นพมณีจำรัสเลิศ
ผู้ดำเนินการร่วม:
คำอธิบาย:
หลักสูตรการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษอย่างเป็นองค์รวม ได้ประยุกช์ใช้แนวคิด DIR/ฟลอร์ไทม์ เป็นแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการ มีจุดเด่น คือ มี เส้นทางที่ชัดเจน (Roadmap) และมีรูปแบบการส่งเสริมที่ทำผ่านการเล่นและการใช้ชีวิตประจำวันในครอบครัว

หลักสูตรการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษอย่างเป็นองค์รวม สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ใช้หลักการ DIR/ฟลอร์ไทม์  ซึ่งเป็นแนวทางที่มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ พัฒนาการเด็กแบบองค์รวม (Functional Development) , ความแตกต่างพื้นฐานระบบประสาทของเด็ก (Individual differences) , และสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น อบอุ่นในครอบครัว (Relationship-based) แนวคิด DIR/ฟลอร์ไทม์มีความเหมาะสมในการประยุกต์ใช้กับสภาพสังคมและครอบครัวไทย เพราะเป็นวิธีการที่พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการบุตรหลานได้เองที่บ้าน เป็นวิธีการที่ประหยัด อุปกรณ์ที่ใช้ส่งเสริมพัฒนาการอาจเป็นของเล่นเล็กๆ น้อยๆ ที่ซื้อที่ตลาด หรือร้านของเล่นใกล้ๆ บ้าน เช่น ฟองลูกโป่ง ลูกบอล ตุ๊กตาสัตว์ ของเล่นสมมติ นอกจากนั้นครอบครัวยังสามารถดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์พื้นบ้านทั่วๆ ไป มาใช้เป็นของเล่นส่งเสริม

หลักสูตรการส่งเสริมเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษ อย่างเป็นองค์รวม

  1. หลักสูตรพื้นฐานสำหรับพ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก  เป็นหลักสูตรที่เน้นปรับเปลี่ยนทัศนคติ มุมมอง

ความเข้าใจเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษ พ่อแม่ ครู จะได้เรียนรู้เทคนิคเบื้องต้นการส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่บ้านผ่านการเล่นและการใช้ชีวิตประจำวันในครอบครัว

  1. หลักสูตรสำหรับแพทย์และนักวิชาชีพ เป็นหลักสูตรที่เน้นให้แพทย์และนักวิชาชีพมีความรู้

ความสามารถในการประเมินพัฒนาการพื้นฐานของเด็กตามแนวทาง DIR/ฟลอร์ไทม์ เรียนรู้หลักการและแนวทางการประเมินและฝึกพื้นฐานระบบประสาทเพื่อแก้ไขปัญหาพฤติกรรมอย่างยั่งยืน แพทย์และนักวิชาชีพสามารถให้คำแนะนำพ่อแม่การส่งเสริมพัฒนาการเด็กพิเศษอย่างเป็นองค์รวม โดยหลักสูตรภาคปฏิบัติและหลักสูตร Coaching จะช่วยให้แพทย์นักวิชาชีพได้ฝึกฝนทักษะการนำไปใช้จริงกับเด็กพิเศษ และแนวทางการนำพาพ่าพ่อแม่ให้นำเทคนิค วิธีการไปใช้กับลูก ได้อย่างเหมาะสมกับความแตกต่างของแต่ละครอบครัว

ผลที่ได้รับจากการอบรม คือ พ่อแม่ ผู้ดูแลเด็ก แพทย์ นักวิชาชีพ มีความรู้ ความเข้าใจความแตกต่างของเด็กแต่ละคน สามารถประยุกต์ใช้เทคนิคภาคปฏิบัติในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก แพทย์ พยาบาล นักวิชาชีพที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษ สามารถประเมินพัฒนาการเด็กและให้คำแนะนำพ่อแม่ การส่งเสริมพัฒนาการเด็กอย่างเป็นองค์รวม เกิดเครือข่ายและการต่อยอดองค์ความรู้ของกลุ่มบุคลการสาธารณสุขที่ทำงานด้านเด็กพัฒนาการล่าช้า เด็กพิเศษ ของประเทศไทย

 

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม :
SDG3     เป้าประสงค์ย่อย :   3.c
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง
โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง :
SDG4     เป้าประสงค์ย่อย :   4.a
Key Message

ส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชน และผู้สนใจทั่วไป เพื่อการคุ้มครอง การส่งเสริมพัฒนาการ การดูแล เด็ก เยาวชน และครอบครัว

Links ข้อมูลเพิ่มเติม
โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link)
URL:

www.facebook.com/NICFDMahidol