ชื่อMU-SDGs Case Study: |
ศูนย์สมานใจปฐมวัยสาธิต
|
|||||||||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||||||||
ส่วนงานร่วม: |
– คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
– โครงการจัดตั้งสถาบันอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ |
|||||||||||
ผู้ดำเนินการหลัก: |
|
|||||||||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก, มูลนิธิรามาธิบดี, กรมกิจการเด็กและเยาวชน, บ้านพักเด็กและครอบครัว กรุงเทพมหานคร
|
|||||||||||
คำอธิบาย: |
รูปแบบการจัดบริการการพัฒนาเด็กปฐมวัย สำหรับเด็กที่ถูกเลี้ยงดูไม่เหมาะสม หรือถูกทารุณกรรม (เด็กเปราะบาง) ให้ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการและได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
|
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เป็นสถาบันที่รวบรวมและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเด็กและครอบครัว เพื่อขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และมีศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย เปิดให้บริการการดูแลเด็กปฐมวัยตั้งแต่อายุ 1 ปี 3 เดือน ถึง 6 ปี ได้พัฒนารูปแบบการจัดบริการการพัฒนาเด็กปฐมวัยเพื่อเด็กทั้งมวล (Inclusive child care) ศูนย์สมานใจปฐมวัยสาธิต สำหรับเด็กที่ถูกเลี้ยงดูไม่เหมาะสม หรือถูกทารุณกรรม (เด็กเปราะบาง) โดยเด็กจะได้เข้าเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ส่งเสริมพัฒนาการกลุ่มเด็กที่มีความเปราะบางทางสังคมด้วยระบบ Inclusive Care ให้ได้รับการดูแลและทำกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการโดยมุ่งเน้นการใช้ธรรมชาติเป็นฐาน (Nature Based) และการเรียนรู้นอกห้องเรียน (Outdoor Learning) สำหรับการฟื้นฟูภาวะความเครียดเป็นพิษ (toxic stress) กลุ่มเด็กเปราะบางและเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม มีการจัดกระบวนการดูแลเด็กภายในศูนย์สมานใจปฐมวัยสาธิต โดยใช้กระบวนการดูแลเด็ก 3 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นที่ 1 การสร้างความรู้สึกปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจให้กับเด็ก ขั้นที่ 2 การทำให้รู้สึกมีตัวตนและรู้จักตัวตนของผู้อื่นที่อยู่รอบข้าง มีความรักความอบอุ่นต่อกันทั้งครูและเพื่อนในห้องเดียวกัน ขั้นที่ 3 การพัฒนาทักษะชีวิตและความรู้ทักษะกระบวนการการหาความรู้ของตัวเด็กเองโดยกระบวนการทั้งหมดอยู่บนความเข้าใจและแนวทางการดูแลเด็กที่มีบาดแผลทางใจ โดยเด็กยังคงอยู่ในกระบวนการคุ้มครอง ทางกฎหมาย เด็กมีบาดแผลทางอารมณ์ และจิตใจ จำเป็นต้องได้รับการเยียวยา ดูแลทางจิตใจอย่างเร่งด่วน ภายใต้รูปแบบการดูแล จัดประสบการณ์ของศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย ปรับลดสภาวะความเครียดของเด็ก ช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในชีวิตของเด็ก เด็กได้รับโอกาสในการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย และเด็กปกติจากศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยจะได้รับประสบการณ์ จากกลุ่มเพื่อนที่มีต้นทุนชีวิตและภาวะวิกฤตที่แตกต่างกัน ในช่วงวัยแห่งโอกาสที่จะพัฒนาทักษะที่จำเป็น ความมั่นคงปลอดภัยทางจิตใจ การควบคุมตนเอง ความยืดหยุ่นทางความคิด ความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตนเอง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานชีวิตที่สำคัญในอนาคต เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสังคมที่เคารพความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล ภายใต้ความเอื้ออาทรและ การดูแลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG4 เป้าประสงค์ย่อย : 4.a , 4.7 , 4.5 , 4.2
|
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง โปรดป้อนเลือกกลุ่ม, ชื่อและคำบรรยาย เพื่อใช้ในการแสดงผลเนื้อหาในหน้ารวมข้อมูลทั้งหมดของเมนูนี้บนเว็บไซต์ของคุณ |
||||||
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง :- |
Key Message | ||||||
การจัดการชั้นเรียนร่วมของเด็กกลุ่มที่มีภาวะวิกฤติภายในครอบครัวและกลุ่มเด็กเปราะบาง พัฒนาสู่ชุมชนที่เคารพความแตกต่างและสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล ภายใต้ความเอื้ออาทรและการดูแลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน |
Links ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดแนบลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (อย่างน้อย 1 link) |
||||||
URL: |
https://cf.mahidol.ac.th/th/
|