หลักสูตรการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์

ชื่อMU-SDGs Case Study:
หลักสูตรการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
ผู้ดำเนินการหลัก:
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผู้ดำเนินการร่วม:
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรมกิจการเด็กและเยาวชน สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร
คำอธิบาย:
ดำเนินการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในหลักสูตร “การพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์” โดยเข้าร่วมอบรมผ่านระบบ moodle e – learning ทั้งหมด 16 บทเรียน และมีการพบปะผ่านระบบออนไลน์ zoom application เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กในชุมชนและหน่วยบริการเด็กปฐมวัยทุกรูปแบบ ครูและผู้ดูแลเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและนอกระบบการศึกษา ผู้ให้บริการสุขภาพในสถานพยาบาล และผู้ทำหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและคุ้มครองเด็กทุกระดับ เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และ ผู้บริหารหน่วยงาน ได้เข้ามาเรียนรู้และนำความรู้ได้รับไปใช้การดำเนินงานต่อไป

หลักการและเหตุผล

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการโครงการการขยายผลและพัฒนาความช่วยเหลือกลุ่มเด็กปฐมวัยยากจนในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และ เด็กปฐมวัยนอกระบบ ในกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาและส่งเสริม สนับสนุน และยกระดับศักยภาพของศูนย์เด็กเล็กของกรุงเทพมหานคร ให้มีขีดความสามารถในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการให้แก่เด็กปฐมวัยที่มีความเปราะบางให้ได้รับการพัฒนาต่อไป การแก้ปัญหาเด็กในครอบครัวยากจน โดยเฉพาะครอบครัวมีภาวะวิกฤตร่วมด้วย ต้องเสริมด้วยพลังการดูแลในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยในชุมชนเป็นพลังเสริมที่นับได้ว่าเป็นทุนที่สำคัญของชุมชน ในการดูแลเด็กกลุ่มเปราะบางนี้ โดยมีความรู้ เกี่ยวกับการความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย ต่อการพัฒนาตลอดช่วงวัย และ ผลกระทบของการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม และ ประสบการณ์เลวร้ายในวัยเด็ก ต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย มีความสามารถในการประเมินพัฒนาการเด็ก ทั้งทางด้านสุขภาพ พฤติกรรม อารมณ์ สังคม ความรู้คิด และ EF การประเมินเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต มีความรู้และความสามารถในการฟื้นฟูเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตทั้งทางด้านสุขภาพ พฤติกรรม อารมณ์ สังคม สภาพจิตใจ พฤติกรรมของเด็ก ความรู้คิด และEF มีความสามารถในการวางแผน และพัฒนาระบบบริการของตนเองเพื่อให้เป็นบริการที่มีความไวต่อการค้นหา และฟื้นฟูเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตและมีบาดแผลทางใจ เห็นความสำคัญในการค้นหา แก้ไข ฟื้นฟู และป้องกันปัญหาเด็กปฐมวัยที่ได้รับการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม และได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ดำเนินการเปิดอบรมหลักสูตรการพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ มีเนื้อหาบทเรียน 16 บท เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กในชุมชนและหน่วยบริการเด็กปฐมวัยทุกรูปแบบ ครูและผู้ดูแลเด็กวัยเรียนในโรงเรียนและนอกระบบการศึกษา ผู้ให้บริการสุขภาพในสถานพยาบาล และผู้ทำหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและคุ้มครองเด็กทุกระดับ เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน และ ผู้บริหารหน่วยงาน ได้เข้ามาเรียนรู้และนำความรู้ได้รับไปใช้การดำเนินงานต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาแนวทาง-หลักสูตรและถ่ายทอดกระบวนการจัดการเรียนการสอนและเครื่องมือที่พัฒนาครู/อาสาสมัครดูแลเด็ก ในเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์
  2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ เกี่ยวกับการความสำคัญของการพัฒนาเด็กปฐมวัย ต่อการพัฒนาตลอดช่วงวัย และ ผลกระทบของการเลี้ยงดูไม่เหมาะสม และ เด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์
  3. เพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้และดูแลเด็กปฐมวัยที่ความเจ็บปวดทางใจจากประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต เครือข่ายที่เกี่ยวข้องระดับท้องถิ่น จังหวัด และส่วนกลาและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

กิจกรรมหลักของโครงการ/งานวิจัย

ดำเนินการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในหลักสูตร “การพัฒนาและคุ้มครองเด็กที่ได้รับประสบการณ์ที่ไม่พึงประสงค์” โดยเข้าร่วมอบรมผ่านระบบ  moodle e – learning ทั้งหมด 16 บทเรียน และมีการพบปะผ่านระบบออนไลน์ zoom application
บทที่ 1 เด็กในภาวะยากลำบาก เด็ก ยากจน และประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตของเด็ก
บทที่ 2 เด็กที่ได้รับการเลี้ยงดูแบบไม่เหมาะสม  การละเลย และการทารุณกรรมทางอารมณ์ กาย และทางเพศ
บทที่ 3 การประเมินพัฒนาการเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตตามแบบ DSPM
บทที่ 4 การประเมิน EF ในเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต
บทที่ 5 การประเมินผลกระทบต่อสภาพจิต พฤติกรรม และอารมณ์ในเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต
บทที่ 6 กระบวนการดูแลเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิตร่วมกับเด็กปกติ
บทที่ 7 วิธีการฟื้นฟูความผิดปกติทางจิตใจในเด็กที่ได้รับประสบการณ์เลวร้ายในชีวิต
บทที่ 8 การส่งเสริมพฤติกรรมและอารมณ์เชิงบวก
บทที่ 9  การบำบัดเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ด้วยกิจกรรมการเล่น
บทที่ 10  การบำบัดเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ด้วยกิจกรรมดนตรี
บทที่ 11  การบำบัดเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ด้วยการพัฒนาสติ
บทที่ 12  การบำบัดเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ด้วย ศาสตร์พลังงานชีวิต
บทที่ 13   การบำบัดเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ด้วยกิจกรรมการเล่านิทาน
บทที่ 14  การบำบัดเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ด้วยกิจกรรมกลางแจ้ง
บทที่ 15 การดูแลเด็กที่ได้รับประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์
บทที่ 16 การเยี่ยมบ้าน การทำงานกับครอบครัว และชุมชนเพื่อบูรณาการระบบคุ้มครองเด็กท้องถิ่น

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม :
SDG4  เป้าประสงค์ย่อย :   4.a , 4.7