ชื่อMU-SDGs Case Study: |
โครงการนำร่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ EF (Executive Functions) ในระดับปฐมวัยและเด็กที่มีความจำเป็นพิเศษ
|
|||||
ส่วนงานหลัก: |
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
|
|||||
ส่วนงานร่วม: |
–
|
|||||
ผู้ดำเนินการหลัก | ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศณษฐกร | |||||
ผู้ดำเนินการร่วม: |
1.สมาคมอนุบาลศึกษาแห่งประเทศไทยฯ 2.โรงพยาบาลพญาเม็งราย 3.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลพญาเม็งราย 4.โรงเรียนบ้านสันสะลีกวิทยา
|
|||||
คำอธิบาย: |
ถอดบทเรียนแนวทางการพัฒนาครูปฐมวัยจัด ทำคู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอน จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็กในระดับปฐมวัยและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ
|
การพัฒนาทักษะสมอง EF ให้กับเด็กปฐมวัยจะประสบความสำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องมีกลไกสำคัญ คือ ครูปฐมวัย ซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็กรองจากผู้ปกครองและมีโอกาสที่จะปลูกฝังเด็กอย่างรอบด้านผ่านกิจกรรมการจัดการเรียนการสอน ดังนั้น สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล จึงทำงานร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาในการจัดทำโครงการนำร่องการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ EF ในระดับปฐมวัย และเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนแนวทางการพัฒนาครูปฐมวัยให้สามารถสร้างทักษะ EF ให้กับผู้เรียน จัดทำคู่มือแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อฝึกทักษะ EF ให้กับเด็กในระดับปฐมวัยและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็กในระดับปฐมวัยและเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในศตวรรษที่ 21 และเติบโตเป็นทรัพยากรที่มีค่าของชาติต่อไป
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม : |
SDG4 เป้าประสงค์ย่อย : 4.2
|
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง : |
SDG17 เป้าประสงค์ย่อย : 17.14
|