การเฝ้าระวังภาวะประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยและการแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูสุขภาวะเด็กและครอบครัวในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด COVID-19 และหลังวิกฤต

ชื่อMU-SDGs Case Study:
การเฝ้าระวังภาวะประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยและการแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูสุขภาวะเด็กและครอบครัวในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด COVID-19 และหลังวิกฤต
ส่วนงานหลัก:
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว
ส่วนงานร่วม:
– คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
– โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ
ผู้ดำเนินการหลัก:
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ผู้ดำเนินการร่วม:
มูลนิธิสร้างเสริมความปลอดภัยในเด็ก
คำอธิบาย:
ระบบเฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาวะและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยจากภาวะประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ (adverse childhood experience: ACE) และระบบการแทรกแซงการดูแลเด็กในครอบครัว ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยหรือโรงเรียนในพื้นที่ ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด COVID-19 และภาวะปกติ

ในการแพร่ระบาดของ COVID-19 อาจทำให้ปัญหา ACE ขยายตัวได้ ACE อาจถูกทำให้รุนแรงขึ้นจากการแยกจากสังคม การตกงาน การปิดโรงเรียน และความเครียดอื่นๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตปกติของเด็กและครอบครัวจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 เด็กอาจได้รับผลโดยตรงจากความไม่มั่นคงด้านอาหาร ที่อยู่อาศัย การดูแลสุขลักษณะ สวัสดิการ ความปลอดภัย การป้องกันและรักษาโรค  รวมทั้งได้รับผลทางอ้อมจากความเครียดของผู้ดูแลเด็กหรือของเด็กเองที่รับรู้ต่อความยากลำบากในการจัดหาความมั่นคงทางกายภาพดังกล่าว ความเครียดที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกต่อเด็กโดยที่ผู้ดูแลเด็กไม่สามารถตอบสนองเชิงบวกหรือตอบสนองเชิงลบมากขึ้นจากความเครียดของผู้ดูแลเด็กเองที่เพิ่มมากชึ้นเช่นกัน จากวิฤตเศรษฐกิจนี้ จะส่งผลให้เด็กได้รับความเครียดที่เป็นพิษมากขึ้น (toxic stress) ความยากจนขาดแคลนทางกายภาพที่เพิ่มขึ้นในช่วงวิกฤตอาจมีผลกระทบต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กในช่วงปีแรกๆหลังเหตุการณ์ แต่ผลกระทบทางอ้อมที่ก่อให้เกิดความเครียดครอบครัวและความเครียดเป็นพิษต่อเด็ก อาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็กยาวนานหลายปี ดังนั้นจึงมีความจำเป็นทั้งในระดับครัวเรือน ชุมชน และในระดับนโยบายสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายในการกำกับผู้ให้บริการด้านการแพทย์สาธารณสุข การศึกษา การพัฒนาและคุ้มครองเด็ก ที่จะต้องทำความเข้าใจ ยอมรับและมีการดำเนินการในการเฝ้าระวังภาวะประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยและการแทรกแซงเพื่อฟื้นฟูสุขภาวะครอบครัวในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด COVID–19

การยกระดับการดูแลกันไม่ทิ้งกันภายในชุมชน (caring society และ social inclusiveness) เริ่มต้นจากการพัฒนาทีมบูรณาการชุมชน ด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และการคุ้มครองเด็ก (ทีม สรค)  พัฒนาเครื่องมือกระบวนการพัฒนาระบบเฝ้าระวัง คัดกรองระดับความเสี่ยง ที่ทีม สรค จะนำไปใชในการชี้เป้า ประเมิน และเข้าแทรกแซงเพื่อลดผลกระทบเชิงลบ  ต่อสุขภาวะและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยจากภาวะประสบการณ์ชีวิตไม่พึงประสงค์ (adverse childhood experience: ACE) ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจากโรคระบาด COVID-19 และภาวะปกตินั้น

การแทรกแซงครอบครัวและชุมชนจะเป็นกลไกในการสร้างการดูแลและความสัมพันธ์ที่ดีหรือเชิงบวกทั้งทางกายภาพและทางอารมณ์ของผู้ดูแลและเด็ก (Positive parent-child relationship ) ความยืดหยุ่นของผู้ปกครอง (parental resilience) การเชื่อมต่อกับชุมชน (social connection) ความสามารถในการเชื่อมต่อสู่การช่วยเหลือรูปแบบต่างๆที่มีอยู่ในสถานการณ์นั้น (concrete support in times of need) และการยกระดับชุมชนดูแลกันไม่ทิ้งกันในยามวิกฤตและภาวะปกติ (caring society และ social inclusiveness) ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อสุขภาวะและพัฒนาการของเด็กปฐมวัยและครอบครัว

ขั้นตอนการพัฒนากลไกดังกล่าวประกอบด้วย

ขั้นตอนที่ 1      พัฒนาทีมบูรณาการชุมชน ด้านสุขภาพ การเรียนรู้ และการคุ้มครองเด็ก พัฒนาเครื่องมือ

ขั้นตอนที่ 2      พัฒนา ระบบเฝ้าระวัง ภาวะความยากจนขาดแคลน ภาวะครอบครัวบกพร่องและการสำรวจระดับความเหมาะสมในการเลี้ยงดูเด็ก และระบบคัดกรอง จัดระดับความเสี่ยง

ขั้นตอนที่ 3      พัฒนากระบวนการแทรกแซงการดูแลเด็กกลุ่มเสี่ยงสูงในครอบครัว และ กระบวนการ

แทรกแซงชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัย และโรงเรียน เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาวะและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย

ขั้นตอนที่ 4      ขยายผลสู่การปฏิบัติร่วมกันในจังหวัดขยายผล 25 จังหวัด

ขั้นตอนที่ 5      การประเมินผลลัพธ์ด้านสุขภาวะ ความปลอดภัย พัฒนาการ และ การเรียนรู้ ตัวชี้วัดชีวภาพ

ขั้นตอนที่ 6      ขับเคลื่อนนโยบาย รูปแบบจำลอง การสนับสนุนกระบวนการตามข้อ 1 -3 ทั้งด้านการลงทุน

เพื่อสนับสนุนการจัดบริการ และด้านการลงทุนให้ผู้รับบริการมีความประสงค์เข้าหาผู้

จัดบริการ

ขั้นตอนที่ 7      การขยายผลวงกว้าง สู่การรับรู้สาธารณะ

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรม :
SDG3     เป้าประสงค์ย่อย :   3.c
SDGs อื่นๆที่สอดคล้อง :
SDG17     เป้าประสงค์ย่อย :   17.14